ทำไม ถึงถือว่าค่า 5.5-6.5(ที่ความลึก 20-50ซม) ดีที่สุด
(ค่าหน้าดินที่ควรวัดได้ คือ 6.5-7.5 เหมือนทุกครั้งที่วัดให้ดู คือการชดเชยเรื่องความลึกของดิน)
.
เพราะการลงภาคสนามจริงๆ ชาวสวนจริงๆ ไม่เคยได้แบกจอบไปแล้วขุดลึก 30-50 ซม แล้ววัดหรอก
80-90% จิ้มวัดที่หน้าดินทั้งนั้น นั่นคือสภาพความเป็นจริง จึงต้องมีการ ชดเชยค่าที่ได้ไว้ -1 เสมอ
............
เรายึดค่า ที่ P เป็นหลัก ที่5.5-6.5 รี่คือค่าที่ ฟอสฟอรัส ละลายดีที่สุด เป็นประโยชน์มากที่สุดเป็นเกณฑ์
.
ถ้าดินมีค่า PH ต่ำ(4-3-2-1) มันจะทำปฏิกิริยากับเหล็กและอลูมินั่ม ทันที อลูมินั่มไม่เป็นประโยชน์ มันจะตกตะกอน ฟอสฟอรัส ทำให้ฟอสฟอรัสไม่เป็นประโยชน์กับพืช มันเป็นพิษ
.
ถ้าค่า PH สูง (8-9)
เราลองไปดูสวนที่ใช้ โดโลไมท์ เป็นปริมาณมาก เพราะคิดว่า มันมีแคลเซียมกับ แมกนีเซียมเยอะ อันนี้คือความเข้าใจผิด มันจะส่งผลร้ายกับผลผลิตที่ได้ เพราะ มันจะตกตะกอน ฟอสฟอรัส ทำให้ฟอสฟอรัสไม่เป็นประโยชน์กับพืช .......(แม้ว่าบางครั้งจะวัด PHได้ 6.5 เหมือนกันก็ตาม)
.
ที่นี้พอเราใช้ เคื่องวัด ค่าFertility ที่อ่านได้ มันเลยสูง ใสสวนที่ให้เคมี เพราะเครื่องวัด มันไม่สามารถแยกได้ว่า ค่าที่อ่านได้นั้น มันคือสารอาหารตัวไหน กรดเกลือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ที่ตกค้าง หรือ อื่นๆ
.
ที่นี้เมื่อแมกนีเซียม มันเยอะ..ห้ามใช้โดโลไมท์ ให้ใช้ปูนมาร์ลแทน เพราะแมกนีเซียมเยอะ ทำให้ดูดโพรแทสเซียมไม่ได้
.
จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของสวน ต้องรู้ดีว่าเราใส่ อะไรเข้าไป ในปริมาณที่มากหรือเปล่า สวนใครสวนมัน
.
8-24-24 โจากสูตร ปุ๋ย เราจะเห็นว่า ชาวสวนชอบเอาไปใส่มาก เพราะคาดหวังว่า P จะช่วยให้ติดดอก เยอะ ติดผลเยอะ แต่ยิ่งใส่ มันยิ่งได้น้อยลง เพราะ ความไม่เข้าใจ เรื่องปุ๋ย
.
ในดินสวน ที่ใส่ปุ๋ยสูตรนี้กันมาหลายสิบปี ฟอสฟอรัส มันมี ตกค้าง จนมากมายเกินความจำเป็น..จนส่งผลไปถึงการขาดธาตุอาหารชนิดอื่นๆ...ลองนึกถึง ตาชั่งที่มันเอียงไปเพราะขาดสมดุลย์ ทันเลยกลายเป็นผลเสียไป
.
ประเด็น ของบทความนี้คือ
PH หน้าดิน 7 โดยประมาณ หรือที่ความลึก 20-50 ซม ต้อง5.5-6.5 คือดีที่สุดสำหรับพืช
ค่าอาหารที่วัดได้ แค่ละสวน จะมีความแตกต่างกัน เพราะ การใส่การดูแล ไม่เหมือนกัน ระวังเรื่อง ปุ๋ยที่มีค่า ตัวกลางสูงๆ เพราะความจริงพวกนี้ตกค้างในดินมากมาย ที่ไม่ได้นำเอามาใช้ และเรื่องการใช้โดโลไมท์ ที่มากและต่อเนื่อง อยู่ตลอดเวลา ค่าแมกนีเซียม จะตกค้างเยอะ จนเป็นโทษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น