วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

วิธีการฆ่าเชื้อชาสมุนไพร ต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง

วิธีการฆ่าเชื้อชาสมุนไพร ต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง  

ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาดและการปลอดเชื้อเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทร์ย์

สำหรับวิธีการฆ่าเชื้อในชาสมุนไพรนั้น “วิธีการต้ม” น่าจะเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเชื้อที่พบในชานั้นเป็นประเภทใด ซึ่งจะทนต่อความร้อนในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน

การใช้ความร้อนทำได้ 3 วิธี คือ

  • 1.ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือด เรียกว่า “การพาสเจอร์ไรส์” ( pasteurization) ใช้ความร้อนอุณหภูมิระหว่าง 60-80 องศาเซลเซียส วิธีนี้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่ทำให้เกิดโรคในอาหาร แต่ฆ่าไม่ได้ทั้งหมด ดังนั้นอาหารที่ฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้จะเก็บไว้ได้ไม่นาน
  • 1.1 วิธีใช้ความร้อนต่ำ-เวลานาน (LTLT : Low Temperature - Long Time) ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 62.8-65.6 องศาเซลซียส เป็นเวลา 30 นาที เมื่อผ่านความร้อนโดยใช้เวลาตามที่กำหนดแล้ว ต้องเก็บอาหารไว้ในที่เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 7.2 องศาเซลเซียส
  • 1.2 วิธีใช้ความร้อนสูง-เวลาสั้น (HTST : Hight Temperature – Short Time) ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 71.1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที นำไปเก็บไว้ในที่เย็นที่อุณหภูมิ 7.2 องศาเซลเซียส


2.ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิน้ำเดือด วิธีนี้คือ “การต้ม” นั่นเอง

3.ใช้ความร้อนที่สูงกว่าอุณหภูมิน้ำเดือด โดยใช้ไอน้ำเดือดภายใต้ความดันช่วย เรียกว่า “การสเตอริไลซ์” ( Sterilization ) วิธีการนี้สามารถฆ่าเชื้อจุสินทรีย์ที่ทนความร้อนได้ทุกชนิด เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ Autoclave,Pressure cooker และ Sterilizer สำหรับอุณหภูมิที่ใช้ 121 องศาเซลเวียส, ความด้น 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลา 15-20 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสิ่งที่จะนำมาฆ่าเชื้อ

                นอกจากนี้ยังมีวิธีการฆ่าเชื้อโดยการฉายรังสีแกมมาจาก Cobalt-60 หรือ Cerium-137 ซึ่งเป็นวิธีการทำให้ปราศจากเชื้ออีกวิธีหนึ่ง รังสีมีอำนาจทะลุทะลวงสูงสามารถเข้าได้ถึงทุกซอกทุกมุม ทำให้หยุดการแบ่งเซลล์ของเชื้อบักเตรี, เชื้อรา, ยีสต์, พยาธิ และแมลงไม่ให้สามารถแพร่พันธุ์ได้

ด้านความปลอดภัยของอาหารฉายรังสี องค์การอนามัยโลก, องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและทบวงการพลังงานปรณูระหว่างประเทศอนุญาตให้อาหารผ่านการฉายรังสีเฉลี่ยไม่เกิน 10 กิโลเกรย์ ใช้บริโภคได้โดยไม่ต้องทดสอบความปลอดภัยและอนุญาตให้ใช้รังสีปริมาณไม่เกิน 10 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในสมุนไพรได้

                วิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในสมุนไพรด้วยความร้อนหรือฉายรังสีนั้นอาจมีผลต่อประสิทธิภาพของสมุนไพรลดลง ทั้งนี้ต้องศึกษาคุณสมบัติของสารที่อยู่ในสมุนไพรแต่ละชนิดก่อน เพื่อเลือกใช้วิธีการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม


           



กล้วยหอมกับกล้วยน้ำว้าอย่างไหนมีวิตามินมากกว่ากัน


กล้วยหอมกับกล้วยน้ำว้าอย่างไหนมีวิตามินมากกว่ากัน



ข้อมูลจากหนังสือคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย ของกองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข แสดงปริมาณของวิตามินที่พบในกล้วยทั้ง 2 ดังนี้

กล้วยหอมมีปริมาณ β-carotene (99 μg), วิตามิน A (17 μg), วิตามิน B2 (0.07 mg) และวิตามิน C (27 mg) สูงกว่า

กล้วยน้ำว้า (β-carotene= 54 μg; วิตามิน A = 9 μg; วิตามิน B2 = 0.02 mg; วิตามิน C = 11 mg)


  • แต่มีปริมาณของ niacin (1 mg) ต่ำกว่ากล้วยน้ำว้า (1.4 mg)
  •  และมีปริมาณของวิตามิน B1 เท่ากัน (0.04 mg)

ขมิ้นชัน สำหรับคนที่ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีเเล้ว ทานขมิ้นชันได้ไหม

 ขมิ้นชัน สำหรับคนที่ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีเเล้ว ทานขมิ้นชันได้ไหม

 ถึงแม้ว่าในตอนนี้จะยังไม่มีข้อห้ามสำหรับการใช้ขมิ้นชันในผู้ป่วยที่ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีออกเเล้ว


  • แต่ก็ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และเฝ้าสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น


 และห้ามเด็ดขาดในการใช้ขมิ้นชันในผู้ที่มีภาวะนิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีอุดตัน หรือถุงน้ำดีอักเสบ

เพราะขมิ้นชันมีฤทธิ์กระตุ้นหลั่งน้ำดี

  • การรับประทานขมิ้นจะทำให้เกิดการอักเสบหรือการอุดตันมากขึ้น


วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เรามาดูความแตกต่างระหว่าง ต้นครอบจักวาล กับ ครอบฟันสี

เรามาดูความแตกต่างระหว่าง ต้นครอบจักวาล กับ ครอบฟันสี ที่หลายๆคนเข้าใจผิดว่ามันเป้นพืชขนิดเดียวกัน

ต้นครอบจักรวาล (Abutilon hirtum  (Lam.) Sweet) เป็นพืชคนละชนิดกันกับครอบฟันสี (Abutilon indium  (L.) Sweet subsp. indicum  )





พืชทั้ง 2 ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกันต่างกันเล็กน้อยในลักษณะของดอกและใบ

ครอบจักรวาลขอบใบจักคล้ายซี่ฟันหยาบๆ ก้านใบสั้นกว่าดอกสีเหลืองหรือส้ม มีจุดสีม่วงที่ฐาน

ส่วนครอบฟันสีก้านใบจะยาว ฐานใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ดอกสีเหลืองแต่ไม่มีจุดสีม่วง

ผลวิจัยอาจจะมีน้อยแต่ก็พอมีให้ได้ศึกษาบ้าง แต่ภุมิปัญญาของชาวบ้าน มีเยอะในเรื่องการรักษาแผลเรื้อรัง สะเก็ดเงิน แผลจากเบาหวาน

ครอบฟันสี (Abutilon indicum Sweet   )
สรรพคุณ ตามตำรายาไทย
-ใบ นำมาต้มกับน้ำ ใช้อมบ้วนปาก แก้ปวดฟันและแก้เหงือกอักเสบ นอกจากนี้ยังใช้รับประทานเป็นยาหล่อลื่น ขับปัสสววะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยเจริญอาหาร
-ดอก เมล็ด เปลือกและราก ใช้รับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ
มีการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง โดยป้อนสารสกัดด้วยน้ำจากส่วนซองใบให้หนูขาวกิน พบว่าขนาดที่ทำให้หนูขาวตาย 50% มีขนาดมากกว่า 4 กรัม/กก. นอกจากนี้ยังมีการทดสอบ โดยการกรอกสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50% จากทั้งต้นครอบฟันสี ขนาด 10 กรัม/กก. หรือฉีดสารสกัดเข้าใต้ผิวหนังขนาด 10 กรัม/กก. ในหนูถีบจักร ไม่พบความเป็นพิษ

ครอบจักรวาล (Abutilon graveoleus   Weight & Arn.) สรรพคุณ ตามตำรายาไทย
-ใบ ใช้บ่มหนองฝีให้แตกเร็ว
-ต้น ใช้บำรุงโลหิตและขับลม
-ราก ใช้แก้เป็นลม, แก้ระดูขาวในสตรี เป็นต้น
สำหรับข้อมูลความเป็นพิษ ยังไม่มีการทดสอบความเป็นพิษหรือรายงานความเป็นพิษ




วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ถ้าดื่มชากระเจี๊ยบทุกวัน วันละประมาณ 1-2 แก้ว ดื่มติดต่อกันระยะเวลายาวนาน จะมีผลข้างเคียงต่อร่างกายไหม

ชากระเจี๊ยบและโรคความดันโลหิตสูง

ชาชงกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง และคอเลสตอรอล ถ้าดื่มชากระเจี๊ยบทุกวัน วันละประมาณ 1-2 แก้ว ดื่มติดต่อกันระยะเวลายาวนาน จะมีผลข้างเคียงต่อร่างกายไหม  และมีผลการวิจัยรองรับไหม ว่ากระเจี๊ยบช่วยลดความดันโลหิตสูงได้

- มีสมุนไพรชนิดอื่นอีกไหม ที่ผลิตในรูปชา ที่สามารถลดความดันโลหิตสูงได้และปลอดภัยต่อการบริโภค 

 มีรายงานการวิจัยระบุว่ากระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต และลดไขมันในเลือดได้ 
 มีการศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงขั้นที่ 1 (ค่าความดัน 140 - 159/90 - 99 มม.ปรอท) ถึงขั้นที่ 2 (ค่าความดัน 160 - 179/100 - 109 มม.ปรอท) อายุ 30 - 80 ปี ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันก่อนเข้าร่วมการทดลองอย่างน้อย 1 เดือน

เมื่อให้ดื่มชาจากผงดอกกระเจี๊ยบแดง 10 ก. ชงในน้ำเดือด 500 มล. และแช่ไว้นาน 10 นาที ดื่มวันละ 1 ครั้ง ช่วงก่อนรับประทานอาหารเช้าทุกวัน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตลดลง และมีผลเทียบเท่ากับผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน

แต่ ไม่แน่ใจว่าชาชงที่คุณใช้มีขนาดบรรจุเท่าใด ซึ่งคุณอาจลองเปรียบเทียบขนาดหรือลองใช้ในขนาดตามที่ระบุในฉลาก แล้วสังเกตอาการของผู้ป่วย

หากใช้แล้วไม่เกิดความผิดปกติ ก็สามารถใช้ในขนาดดังกล่าวได้ 

สำหรับความปลอดภัยในการใช้ ชาชงกระเจี๊ยบแดงเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง 

โดยสมุนไพรดังกล่าวสามารถลดความดันด้วยกลไกของการขับปัสสาวะ แต่ถ้ามีการใช้ร่วมกับยาลดความดันแผนปัจจุบัน อาจทำให้ความดันลดลงมากเกินไป จึงควรระมัดระวังไม่ใช้ในเวลาเดียวกัน หรือเฝ้าติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

               - สมุนไพรอื่นๆ ในรูปแบบชาชง ที่มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต เช่น ชาชงจากส่วนต้นและใบขลู่ และชาชงจากราก ใบ หรือทั้งต้นของหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีความปลอดภัยและข้อควรระวังเช่นเดียวกับชาชงกระเจี๊ยบแดง

นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยว่า การรับประทานคื่นฉ่ายแห้งในแคปซูลขนาด 50 - 200 มก. วันละ 4 ครั้ง หรือการรับประทานกระเทียมสด ประมาณ 8 - 10 กลีบ ขนาดกลาง (หรือประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ) หรือกระเทียมในรูปผงแห้งใช้วันละ 600 - 900 มก. ก็สามารถบรรเทาอาการของความดันโลหิตสูงระดับที่ไม่รุนแรงได้

แต่มีข้อควรระวังสำหรับการรับประทานกระเทียมคือ ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานหลายเดือน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกแล้วหยุดยาก เช่น หลังการผ่าตัด ถอนฟัน เป็นต้น


               อย่างไรก็ตามการควบคุมความดันโลหิต สิ่งสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติตัว ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก และอาหารที่รับประทาน ซึ่งหากไม่ควบคุมสิ่งเหล่านี้ จะทำให้การใช้ยาหรือแม้แต่การใช้สมุนไพรไม่ได้ผล




เมล็ดลูกยอหมัก ในเมล็ดนั้นมีสารสำคัญ หรือองค์ประกอปอะไรบ้าง

สารสำคัญที่พบในเมล็ดลูกยอ (Morinda citrifolia) ได้แก่ Ursolic acid, Americanin A และ Quercetin



  • ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี 
  • นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ elastase และ tyrosinase 
  • ซึ่งช่วยในเรื่องของการลบเลือนริ้วรอยและจุดด่างดำของผิวหนังได้ 
  • นอกจากนี้ในเมล็ดลูกยอยังมีไขมันและกรดไขมัน เช่น linoleic acid ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางด้วย



นิ่วในไตที่มีสาเหตุมาจากโรคเกาท์

 นิ่วในไตที่มีสาเหตุมาจากโรคเกาท์ 
เกิดจากการเผาผลาญผิดปกติ ซึ่งเป็นผลให้มีการสร้างกรดยูริกมากเกินไป



  • จากการสืบค้นงานวิจัยสมุนไพรที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งการสะสมกรดยูริก ได้แก่ สารสกัดจากอบเชยจีน สารสกัดจากใบของลูกใต้ใบ และสารสกัดจากผลทับทิม 


แต่การวิจัยดังกล่าวเป็นเพียงการทดสอบในสัตว์ทดลอง และไม่ได้ทดสอบในการรักษานิ่วจากกรดยูริก

เนื่องจากเกาท์มีสาเหตุมาจาก การสะสมกรดยูริก ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ ปลาซาร์ดีน นม เนยแข็ง ไข่แดงและผลิตภัณฑ์อาหารสกัดที่มีโปรตีนสูง

หลีกเลี่ยงการดื่มอัลกอฮอล์ และอาหารที่มีรสเค็มจัด งดเว้นอาหารที่ให้พลังงานสูงเช่น ขนมหวานจัด อาหารที่มีไขมันมาก

เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะชะลอการขับกรดยูริคออกจากร่างกาย ควรเลี่ยงไปรับประทานอาหารที่มีใยอาหาร และควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อเพิ่มการขับกรดยูริคออกจากร่างกาย ในขณะเดียวกันจะช่วยป้องกันการเกิดก้อนนิ่วที่มีสาเหตุมาจากกรดยูริกที่ไตได้

               การดื่มน้ำมะพร้าวแกว่งกับสารส้มยังไม่มีงานวิจัยที่รับรองว่าสามารถรักษาโรคนิ่วในไตที่มีสาเหตุมาจากโรคเกาท์ได้ แต่มีรายงานวิจัยบางส่วนที่ระบุว่าการดื่มน้ำมะพร้าวสามารถป้องกันการเกิดโรคนิ่วในไตที่มีสาเหตุจากการสะสมผลึกแคลเซียมในไตได้






วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การน้ำใบหมี่มาสกัดเพื่อทำแชมพูสระผม

ช่วงนี้เห็นใบหมี่ ออกเยอะ

ไม่มีรูปใบหมี่เอารูปคนหล่อไปแทนละกัน55



การน้ำใบหมี่มาสกัดเพื่อทำแชมพูสระผม สามารถใช้ตัวทำลายลายได้ทั้ง  น้ำ เอธิลแอลกอฮอล์ Proplylene หรือ Glycerin


  • การสกัดสารจากใบหมี่สามารถใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง 
  • โดยการสกัดใบสดมักใช้วิธีสกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือใช้น้ำคั้นจากใบ
  • ส่วนการสกัดใบแห้งหรือผงแห้งจะใช้วิธีการสกัดด้วยน้ำร้อนหรือแอลกอฮอล์ 
  • แต่โดยทั่วไปจะนิยมใช้ใบสดมาใช้ในการสกัดเนื่องจากจะได้ปริมาณสารสำคัญและมีองค์ประกอบรวมของสารมากกว่า


การสกัดสารสะเดาด้วยแอลกอฮอล์ตัวแอลกอฮอล์จะไม่มีผลต่อพืชที่ไปฉีดพ่นหรือแล้วถ้ามีผลหรือไม่ผลเพราะอะไร

 สารสกัดสะเดา


การสกัดสารสะเดาด้วยแอลกอฮอล์ตัวแอลกอฮอล์จะไม่มีผลต่อพืชที่ไปฉีดพ่นหรือแล้วถ้ามีผลหรือไม่ผลเพราะอะไร

  •   การฉีดสารสกัดแอลกอฮอล์ใบสะเดาไม่ส่งผลเสียต่อพืชแต่อย่างใด เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นสารระเหยง่าย เมื่อฉีดพ่นลงบนพืชส่วนที่เป็นแอลกอฮอล์จะระเหยไปอย่างรวดเร็ว


การสกัดสารสะเดาด้วยน้ำกับแอลกอฮอล์เมื่อนำไปใช้งานจริงอันไหนได้ผลดีกว่ากันเพราะอะไร แล้วการสกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ต่างกันยังไง


  •  การสกัดสารสำคัญจากสะเดา สามารถใช้ตัวทำละลายบทั้งน้ำและแอลกอฮอล์ แต่การสกัดด้วยแอลกอฮอล์จะเข้มข้นสูงกว่าการสกัดด้วยน้ำ สารสกัดด้วยน้ำควรใช้ทันที เก็บเอาไว้นานไม่ได้ ส่วนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์สามารถเก็บ ไว้ใช้ได้นาน 1-2 ปี



ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่ใส่ลงไปในสารสกัดสะเดาจะต้องมีปริมาณเท่าไหร่เพราะอะไร

  •  การสกัดสะเดามักใช้แอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้น 40-70% เนื่องจาก ความเข้มข้นดังกล่าวเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ทั่วไป นอกจากนี้ การใช้สารสกัดที่มีทั้งส่วนน้ำและแอลกอฮอล์จะทำให้ละลายสารสำคัญออกมาได้ครอบคลุมกว่าการใช้น้ำหรือแอลกอฮอล์เพียงอย่างเดียว


Date : 10/5/2562 12:39:00


เอกสารอ้างอิง : การผลิตและการใช้สารสกัดสะเดาในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช http://www.ird.rmutt.ac.th/?wpfb_dl=517


วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

4 โรคนี้หยุดได้ด้วยมะเขือพวง

มะเขือพวง   ทางอีสาน หมากแข้ง ภาคเหนือเรียก มะแคว้งกุลา  ใต้เรียก มะแว้งช้าง


ราคามะเขื้อพวงแห้งบด 0809898770(โทร+ไลน์)
1ขีด 250 บาท 
ชาซองพร้อมชงกับน้ำร้อน 50ซอง 350 บาท 

ลูกมะเขือพวง ใช้ แก้ไอ ขับเสมหะ เหมือนมะแว้งต้นและมะแว้งเครือ

งานวิจัยในปัจจุบันบอกว่า มะเขือพวง ช่วยในการย่อยอาหาร  ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
มีการนำไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมากขึ้น สารต่าง ๆ ที่พบในมะเขือพวง ได้แก่


  • สารทอร์โวไซด์ เอ, เอช  เป็นสเตียรอยด์ไกลไซด์ พบในลูกมะเขือ ต้านเชื้อไวรัสเริม และเชื้อ HIV
  • สารทอร์โวนิน บี  เป็นซาโปนินชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่าทำให้มะเขือพวงมีฤทธิ์ขับเสมหะ
  • สารโซลานีน เป็นอัลคาลอยด์จากพืชตระกูลมะเขือ โซลานีนเป็นสารที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกาย ผู้ที่ไวต่อโซลานีนอาจมีอาการท้องเสีย ปวดหัว หรืออาเจียน ถ้าทำให้สุกด้วยความร้อนแล้วโอกาสที่จะป่วยด้วยสารดังกล่าวนี้ก็จะลดลง
สารโซลาโซนีน และโซลามาจีน  เป็นไกลโคซิเลตอัลคาลอยด์ที่พบในพืชตระกูลมะเขือ ในมะเขือพวงบางสายพันธุ์ (มักพบแถบแคริบเบียน) มีปริมาณสารเหล่านี้มาก

ผู้ที่ไวต่อสารดังกล่าวถ้ารับประทานมะเขือพวงดิบอาจเกิดอาการของระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาทได้

โซลาโซดีน (solasodine) เป็นสารที่มีสรรพคุณต้านโรคมะเร็ง จากการศึกษาวิจัยพบว่า สารโซลาโซดีนมีประสิทธิภาพยับยั้งการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์อันเป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็ง

 4 โรคนี้หยุดได้ด้วยมะเขือพวง

1. โรคเบาหวาน ผู้ป่วยจำนวนมากต้องถูกตัดขา เพราะน้ำตาลในเส้นเลือดสูงมากเกินไป  เริ่มหามากินตั้งแต่วันนี้ก่อนจะสายเกินไป
การศึกษาวิจัยพบว่า เครื่องดื่มน้ำมะเขือพวงสามารถลดระดับอนุมูลอิสระในเลือดของหนูที่เป็นโรคเบาหวานได้ ทำให้ไขมันไม่ดี และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ดังนั้น การให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทานมะเขือพวงระหว่างการรักษาควบคู่ไปกับทานยาแผนปัจจุบันจะยิ่งช่วยได้มากกว่าเดิม

2. โรคความดันโลหิตสูงและปัญหาเกล็ดเลือด งานวิจัยในแคเมอรูนพบว่า เมื่อนำมะเขือพวงสกัดผสมแอลกอฮอล์มาทดลองกับหนู ปรากฎว่าอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตลดลง พร้อมทั้งยังสามารถหยุดการรวมตัวของเกล็ดเลือดได้ด้วย

3. มะเขือพวกยังมากด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ 
 ปีพ.ศ. 2551 มีงานวิจัยนำมะเขือ 11 ชนิดในประเทศไทยมาสกัดหาสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่า มะเขือพวงมีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดในบรรดามะเขือทุกชนิด 

4. แผลในกระเพาะอาหาร 
ในปี 2551 กลุ่มนักวิจัยในประเทศแคเมอรูน พบว่า มะเขือพวงสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ เพราะในมะเขือพวงมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์และไทรเทอร์พีน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากแอลกอฮอล์หรือความเครียดได้

อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

สารเพกตินในมะเขือพวง ช่วยในการดูดซับไขมันส่วนเกินออกจากอาหารได้
แกงหรืออาหารที่ใส่มะเขือพวง เป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจได้

คำเตือน คณะผู้วิจัยก็ยังบอกว่า ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะมีสาร “อัลคาลอยด์” ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และมีผลต่ออวัยวะอื่น ๆ (กินแต่พอดีนั่นละ)

จีน ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไอและบำรุงเลือด ทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ผลแห้งย่างกินแกล้มอาหารบำรุงสายตาและรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย

อินเดีย กินผลเพื่อบำรุงตับ ช่วยบรรเทาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยย่อย และช่วยให้ผ่อนคลายง่วงนอน บำรุงตับ

ใช้น้ำสกัดจากต้นมะเขือพวงแก้พิษแมลงกัดต่อย ทางตอนใต้ของประเทศอินเดียใช้ผลอ่อนบำรุงกำลังให้ร่างกาย ผลแห้งหุงน้ำมันเล็กน้อย บดเป็นผงกินครั้งละ 1 ช้อนชา ลดอาการไอและเสมหะ

แคเมอรูน ใช้ผลมะเขือพวงรักษาโรคความดันโลหิตสูง

คุณค่าทางโภชนาการ
มะเขือพวงมีสารอาหารหลายชนิด เช่น มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเส้นใยอาหารสูง
เส้นใยอาหารที่พบคือกลุ่มแพกติน ซึ่งเป็นเส้นใยละลายน้ำ ช่วยเคลือบผนังลำไส้ ดูดซับไขมันส่วนเกินจากอาหาร ลดการดูดซึมสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ดึงน้ำไว้จึงช่วยให้อุจจาระนุ่ม ขับถ่ายได้ง่าย จึงป้องกันโรคท้องผูกและริดสีดวงทวารได้ กระตุ้นให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างปกติ

การลดเบาหวาน ค้นพบว่าช่วยลดน้ำตาลในเลือด โดยการทำเป็นผลแห้ง แล้วนำมาชงดื่ม ช่วยลดไขมันได้ด้วย การทำแห้งจะช่วยฆ่าฤทธิ์ของอัลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และมีอันตรายต่อร่างกายในระยะยาวถ้าใช้ติดต่อเป็นเวลานาน








อาชายาดอง

อาชายาดอง

เห็ดกระถินพิมานรักษามะเร็ง

พ่นควันไล่ผึ้ง

รักษาเก๊าท์

โกฏจุฬาลัมพาแห้ง

ยาดองล้มช้าง

ยาดองล้มช้าง