จากกฏที่ว่า แคลเซี่ยม เคลื่อนที่เองไม่ได้ในพืช ต้องไปกับน้ำไปกับ ท่อส่งน้ำของพืช(ไม่ใช่ท่ออาหาร)
.
แคลเซียมคือเป็นตัวควบคุมคุณภาพ ผลผลิตเก็บได้ทน เก็บได้นาน ยืดอายุการเก็บรักษา ไม่เน่าเสีย เนื้อไม่เละ
.
อาการที่ต้นไม้ขาดแคลเซียม
.
แคลเซียมคือเป็นตัวควบคุมคุณภาพ ผลผลิตเก็บได้ทน เก็บได้นาน ยืดอายุการเก็บรักษา ไม่เน่าเสีย เนื้อไม่เละ
.
อาการที่ต้นไม้ขาดแคลเซียม
- ดินเป็นกรด ดินเนื้อหยาบเช่นทรายมันไม่เก็บธาตุอาหาร
- อากาศร้อน ลมแรง ทำให้พืชคายน้ำไม่ทัน
- ใส่ปุ๋ย โพแทสเซียมมากเกินไป ฃใบอ่อนบิดเบี้ยว ม้วนงอ
- ใบไม่สามารถคลี่ได้เต็มที่
- แห้งตามขอบใบ
- คุณภาพผลไม่ดี
- ก้นเน่า ในผลไม้
- ผลแตก ผลบิดเบี้ยว
- การตรวจวิเคราะห์จากดินไม่สามรถบอกได้ว่าพอหรือไม่ บอกได้แต่เพียงว่า ในดินมีแคลเซียมมากหรือน้อยเท่านั้น
- การวิเคราะห์จากพืช ก็บอกได้แต่เพียงว่า ใบมีแคลเซียม พอหรือไม่ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า ผมมีแคลเซียมพอหรือไม่
- ฉนั้นการดูจากใบว่าขาดแคลเซี่ยมหรือไม่จึงเป็นเรื่องที่ยากมาก
แนวทางในการแก้ปัญหาการขาดแคลเซียม
- การให้แคลเซี่ยมอย่างเพียงพอ ทางดินจะประหยัดที่สุด
- กระตุ้นให้พืชเกิดการคายน้ำมากที่สุด เพราะแคลเซี่ยมเคลื่อนที่เองไม่ได้ในพืช มันจึงไปสุดทางตรงที่พืชคายน้ำคือปากใบและผลจึงต้องเปิดพื้นที่ให้แสงแดดส่องถึงให้มากที่สุด
- อยา่ให้พืชขาดน้ำ โดยเฉพาะช่วงผลเล็กๆเพราะอยู่ในช่วงของการพัฒนาการ
- ดินเป็รกรด ให้ปรับ PH ก่อน
- ใส่ยิปซั่ม (CASO4) เพื่อเติมแคลเซี่ยมโดยตรง ซึ่งยิปซั่มจะซึมลงดินได้ดีกว่าปูนเพราะยิปซั่มเป็นแคลเซี่ยมซัลเฟต จะได้ซัลเฟอร์ ซึ่งเป็นกำมะถัน ช่วยให้ดินฟู ในดินเค็มมันแน่นทึบ ต้องใส่ยิปวั่มเพื่อไล่โซเดี้ยม
- ฉีดพ่นแคลเซี่ยมโดยตรง ซึ่งต้องใช้แคลเซี่ยมครอไรด์(CaCl2)เกรดอาหาร ที่เขาเอามาแช่มะม่วงดองให้มันกรอบ ต้องใช้ที่ความเข้มข้นสูงถึง 4% ฉีด ทุกอาทิตย์ 5-6 ครั้ง(ย้ำต้องเกรดอาหารเท่านั้น เกรดปุ๋ยไม่ได้เด็ดขาด)แต่ทางที่ดีคือใส่ทางดิน เท่านั้น ดีที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น