วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เรื่องของ สปีดทอนาโด

สปีดทอร์นาโด

หลายๆคนสงสัย......หลอกขายหรือเปล่า
คำถามมากมาย....มันใช้ได้ผลหรือเปล่า
มีสารพิษ ที่เป็นอันตรายไหม
ที่สำคัญ....มันจะสู้ที่เขาโฆษณา กันโครมๆ ได้หรือเปล่า

จากหัวใจคนลุง ที่มีแตให้ ทำประโยชน์กับสังคมมาก็เยอะ

สร้างเด็กและเยาวชนนมากมาย  สร้างวัด กุฏิ ยันเมรุเผาผี

ถ้าจะขายกันแบบเป็นธุรกิจ เหมือนตอนแรกที่คิดจะทำ ลุงต้องลอความเข้มข้นลงมา ครึ่งนึง ขาย 350บาท ออกแบบกล่องติดฉลาก หรือไม่ก็ยกราคาไปที่ ขวดละ600-1200บาทแล้วจัดโปรงามๆ เพราะเกษตรกรบ้านเรายังเอาราคามาเป็นตัววันสินค้าอยู่มาก

แต่สุดท้าย เพราะลุงคือเกษตรกร เข้าใจความทุกข์ยาก ความลำบาก กว่าจะได้ผลผลิตแต่ละครั้ง บางทีลีม เพลี้ย หนอนกินจนหมด

เลยตัดสินใจยุบโครงการทำเป็นธุรกิจ แต่ทำแบบประหยัดต้นทุนที่ไม่จำเป็น
ขวดตัองใช้ใหม่แน่ๆเพราะใช้องมือสองไม่ได้
ฉลาก ขอไม่ทำ เพราะราคาแพงขึ้นไป
กล่องใส่ไม่ทำ เพื่อลดราคาลง
ฟิมล์หด รัดขวด ถึงไม่กี่ตัง ก็ไม่ทำ
ไม่มีโฆษณา เพราะมันจะถูกบวกเข้าไปสี่ห้าเท่าของราคาสินค้า

เน้นให้ถูกที่สุด เพราะเราขายกันแบบเพื่อนๆ
บางท่านผ่านมา เอาถังมาใส่เอา ลุงยังคิดแบบพิเศษ จนน่าตกใจ
แต่อย่าถามว่าเท่าไร ต้องพิสูจน์กับตัวเองเท่านั้น

เพราะมันคือราคา เพื่อนขายให้เพื่อน
ไม่ต้องคิดเลียนแบบหรอก มันเกิดขึ้น มันมาจากการผ่านร้อนผ่านหนาว มันเกิดขึ้นตามกาลเวลาอันยาวนาน จากการสะสมประสบการณ์

มันไม่มีในอินเตอเน็ต ที่ก็อปๆ กันมาโพส อันนั้น ยังห่างไกลกับที่ลุงทดลอง  ไม่ได้เทพหรอก แต่มุ่งมั่น ที่จะใช้ในสวนเอง อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จนทุกวันนี้สามารถปลดพันธนาการตรงนั้นได้100% แถมได้ผลดียิ่งกว่า

เพราะลุงเชื่อมั่นในธรรมชาติ จะไม่ทำร้ายธรรมชาติด้วยกันเองมาตลอด

ตอบคำถามแบบชักๆ
ไม่มีสารเคีที่เป็นอันตรายทั้งคน สัตว์ และแผ่นดิน ยิ่งใช้ดินจะยิ่งอุดมสมบูรณ์ขึ้นทุกวัน
ใช้ได้ผลกับพืชทุกชนิด เพียงปรับเปลี่ยนอัตราการใช้ให้เหมาะสม ระหว่าง 5-30cc ต่อน้ำ 25ลิตร
ใช้ได้ทั้ง ฉีด รดน้ำ ทางใบ ทางดิน โดยไม่มีอันตรายใดๆทั้งสิ้น
มีคุณสมบัติ ในการป้องกัน แมลง อ่อนๆ แต่ถ้าระบาดหนักก็ไม่ไหว เพราะไม่ใช่ งานหลักของตัวนี้
กล้าที่จะรับรองได้ว่า ทำให้พืชเจริญเติบโต อย่างแข็งแรงได้แน่นอน ถ้าใช้เป็นประจำ ต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มปลูก
(บางท่านซื้อขวดเดียวใช้ทั้งสวน มันไม่แสดงผลชัดเจนหรอก แต่ลุงไม่รู้จะบอกยังไง เพราะกว่าต้นไม้จะฟื้นตัว มันต้องใช้เวลา)

ราคาที่ลุงบอก มันราคาคนกัันเอง
ถ้าจะลอง ลุงอยากแนะนำ

สปีดทอนาโด 2 ขวด  เขียวระเบิด 1 ขวด ขอแค่ 600 บาท รวมส่งให้แล้วครับ
แต่ถ้าเอาถังมา แล้ววิ่งมารับเอง ลุงยืนยันว่าคุ้มครับ ยิ่งกว่า แฟลตปลาทองเขาให้อีก

ถ้าทำผัก ผล แล้วมันยัง ไม่งามดังใจ อยากให้ลอง แต่ต้องลองระยะยาวสักหน่อย ผลมันจะออกชัดเจนมากครับ


วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มะเร็ง-วิธีตรวจหาแบบบ้านๆ

สยาม แผ่นดินไทย

สาระก่อนนอน..ราตรีสวัสดิ์.....

‪#‎เพื่อสุขภาพ‬
นำใบอังกาบ (เลือกใบแก่ๆ) ประมาณ 2-3ใบ นำมาล้างน้ำให้สะอาด
เคี้ยวใบอังกาบให้ละเอียดไว้ภายในปากประมาณ 30วินาที กลืนใบอังกาบ
หลังจากนั้นประมาณ 1นาที
กรณี มีเชื้อมะเร็ง ลิ้นจะเป็นสีม่วง ดำ ติดลิ้น ไปประมาณ 3-4วัน
กรณี .ในรายปกติ ลิ้นจะมีสีเขียวของใบไม้ และจะจางหายไป ไม่อยู่ติด3-4วัน
****เป็นเพียงการตรวจหาเชื้อมะเร็งเบื้องต้นด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านเท่านั้น เพื่อความมั่นใจควรไปตรวจจากโรงพยาบาลเพื่อยืนยังผลอีกครั้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria cristata Linn.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่นๆ : ก้านชั่ง ลืมเฒ่าใหญ่ อังกาบกานพลู อังกาบเมือง ทองระอา คันชั่ง
ลักษณะ :
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร กิ่งก้านและใบมีขนสีเหลืองอ่อน ใบออกตรงข้ามเป็นคู่ๆ ใบรูปไข่แกมรี กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4.5-8 ซม. มีขนทั้งสองด้าน โดยเฉพาะตามเส้นใบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 0.3-1.3 ซม. ดอกออกเป็นช่อ ค่อนข้างแน่นที่ปลายยอด หรือบริเวณใกล้ปลายยอด สีฟ้าอมม่วงหรือแกมชมพู ที่โคนช่อดอกมีใบประดับรูปขอบขนานยาว ขอบใบเว้า ปลายเป็นหนามแหลมยาว ดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-4 ซม. ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบล่างจะใหญ่กว่า 4 กลีบบน ยาวประมาณ 1 ซม. ด้านนอกมีขน เกสรผู้ 4 อัน สั้น 2 ยาว 2 ผลเป็นฝักรูปยาวรี ปลายและโคนแหลม ส่วนปลายกว้างกว่าส่วนโคน เมล็ดมี 4 เมล็ด
สรรพคุณ :
ใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพรช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟ
รากหรือใบ ใช้เป็นยาลดไข้ (ราก,ใบ)ช่วยแก้หวัด ด้วยการนำใบมาคั้นกิน
ใบอังกาบหนู ใช่เคี้ยวแก้อาการปวดฟัน ใบป้องกันและแก้อาการท้องผูก มีคนเคยใช้อังกาบเพื่อเยียวยารักษาโรคมะเร็ง เนื้องอกในสมอง และเบาหวาน แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลไหนที่ยืนยันว่ามันสามารถช่วยหรือมีส่วนรักษาได้จริง สารสกัดจากรากอังกาบหนู มีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยมีการทดลองในหนูเพศผู้นานติดต่อกัน 60 วัน พบว่าสามารถคุมกำเนิดได้ 100% เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลง โดยสารสกัดจากอังกาบหนูนั้นส่งผลต่อการสร้างสเปิร์ม ทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของสเปิร์มผิดปกติไป
(โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)
เป็นความรู้จากหมอชาวบ้านที่บอกต่อสืบทอดกันมา


วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

น้ำหมัก-ถ้าหนอนอยู่ไม่ได้

หลายๆที่ อาจไม่ได้เน้นตรงนี้
สังเกตุน้ำหมักของท่านซิ
มีหนอนเกิดหรือไม่..ผมเชื่อว่าไม่มี

หลังจากหมักจนได้ที่แล้ว โดยทั่วไป จะเป็นกรดรุนแรง
เอาไปใช้ก็ใบไหม้

หลังจากหมักจนได้ที่ กรองเอาแต่น้ำออกมาเก็บไว้แล้ว

ถ้าหนอนเกิดไม่ได้ สิ่งมีชีวิตเกิดไม่ได้

ก็ปรับให้มันซะหน่อย เวลาจะนำไปใช้กับพืช มันจะได้ไม่มีอันตราย

วัดph ใ้มันมาที่ 5.7-6.5  ประมาณนี้
เมื่อรวมกับน้ำที่ใช้ ก็จะเปลี่ยนอีกนิดเดียว ใบจะได้ไม่ไหม้
ต้นไม้จะมีความสุข

มโนเองล้วนๆ ไม่มีวิชาการ
ฝากไว้ไปคิด เชื้อรา.....ชอบดินเป็นกรดหรือด่าง..อ่อนๆ(การบ้าน)
^_^

รูปแบบของสารเคมีกำจัดแมลง

กิจชัย ศิริวัฒน์
ฝ่ายพิษวิทยาและชีวเคมี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย



ที่มา : ความรู้เกี่ยวกับสิ่งเป็นพิษ ตอนที่ 4 พ.ศ.2533
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หน้า 1-11.

      ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงอย่างแพร่หลาย ซึ่งผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดแมลงมีมาก อาจตกค้างในพืชที่เป็นอาหารและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ซึ่งไม่เข้าใจถึงพิษและวิธีใช้ดีพอ การศึกษาชนิดและวิธีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงให้เข้าใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ

1. รูปแบบของสารเคมีกำจัดแมลง

      สารเคมีกำจัดแมลงส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปน้ำมันซึ่งไม่ละลายน้ำ บางชนิดก็ละลายได้แต่มีพิษสูงเกินไป จึงมีการผสมสารเคมีกำจัดแมลงในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมและสะดวกในการใช้ ได้ 8 ชนิดดังต่อไปนี้

      1.1 แบบผงผสมน้ำ มีชื่อย่อ WDP หรือ WP ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์และสารพาหะหรือสารที่ทำให้เจือจาง ซึ่งได้แก่ผงดินขาว แป้งฝุ่น หรือสารอื่นที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยให้ใบเปียกง่ายและช่วยในการกระจายตัว

      1.2 แบบน้ำมัน มีชื่อย่อ EC ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์กับตัวทำละลายที่ไม่สามารถเข้ากับน้ำได้ ต่อมามีการเติมสาร emulsifier เพื่อช่วยให้สารออกฤทธิ์ผสมกับน้ำได้และยังช่วยให้เกาะใบพืช หรือติดตัวแมลงได้ดี เวลาใช้นำไปผสมกับน้ำให้ได้ความเข้มข้นตามต้องการ จะได้ส่วนผสมสีขาวขุ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้มีใช้แพร่หลายที่สุด

      1.3 แบบน้ำเข้มข้นหรือน้ำ มีชื่อย่อ SC, WSC, SCW หรือ LC ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์และตัวทำละลายที่ผสมน้ำได้ ไม่มี emulsifier เวลาผสมน้ำแล้วจะไม่มีสีขาวขุ่น

      1.4 แบบน้ำเข้มข้นแขวนลอยหรือน้ำข้น มีชื่อย่อ F หรือ FL ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีจำกัดแมลงแบบนี้ทำได้โดยบดสารออกฤทธิ์กับพาหะ เช่น ผงดินขาวแล้วนำส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ เช่น น้ำมาผสม มีลักษณะคล้ายกับสารเคมีกำจัดแมลงแบบผงผสมน้ำเวลาใช้นำมาใส่น้ำลงไปแล้วคนให้เข้ากัน สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ใช้สะดวกและละลายน้ำได้ดีกว่าแบบผสมน้ำ

      1.5 แบบผงละลายน้ำ มีชื่อย่อ WSP หรื SP ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ ผลิตออกมาในรูปเม็ดหรือเกล็ด สามารถละลายน้ำได้ทันที อาจมีการเติมสารช่วยเกาะพื้นผิว สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ละลายน้ำได้ง่ายและไม่ตกตะกอนแต่เมื่อเก็บไว้นานๆ จะดูดความชื้น มักจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง

      1.6 แบบผงฝุ่น มีชื่อย่อ D ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ ผลิตโดยนำสารออกฤทธิ์มาบดละเอียดแล้วผสมกับผงของสารไม่ออกฤทธิ์ เช่น ผงทัลค์และเบนโธไนท์ ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้จะทำให้เปอร์เซนต์ของสารออกฤทธิ์ลดลง สามารถใช้พ่นด้วยเครื่องพ่นผงได้ทันที มักใช้ในแหล่งที่ขาดน้ำ ข้อเสียเวลาใช้มีการฟุ้ง กระจาย

      1.7 แบบเม็ด มีชื่อย่อ G ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้คล้ายกับแบบผง แต่มีขนาดใหญ่กว่า ส่วนประกอบได้แก่สารออกฤทธิ์และสารพาหะหรือสารที่ทำให้เจือจาง เช่น ทราย สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ ใช้ได้ทันที โดยใช้ทางดินเท่านั้น ซึ่งจะออกฤทธิ์ซึมขึ้นไปทางระบบราก ห้ามนำไปละลายน้ำ เพราะนอกจากละลายยากแล้วยังมีอันตรายสูง

1.8 แบบยู แอล วี มีชื่อย่อ ULV ติดมากับภาชนะที่บรรจุสารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ ผสมกับน้ำมันที่มีความหนืดและอัตราการระเหยต่ำเวลาใช้ต้องใช้กับเครื่องพ่น ยู แอส วี เท่านั้น




วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แนวคิดในการทำน้ำหมักชีวภาพในแบบลุงแจ่ม


มันต้องเริ่มจาก
ธาตุอาหาร 17 ชนิดมันมีอยู่ในอะไรบ้าง
อย่างเช่น เราไม่อยากทำหลายสูตร เราจะทำสูตรรวม กลางๆ ตัวเดียว

ช่วงแรกพืชต้องการ N หรือไนโตรเจน เราต้องวิเคราะห์ หามันให้เจอ ว่า N มีอยู่ที่ไหนในธรรมชาติ หามาเอามาหมักเดี่ยวๆเลย ไม่ต้องรวมกับอะไร ไม่ต้องผสมน้ำ ถ้าไม่จำเป็น

เช่นกัน PและK  ค้นหามันให้เจอ ว่าในธรรมชาติ มันมี อยู่ในอะไร
เอามาหมักเดียวๆ เช่นกัน

ที่เหลือจากนั้นธาตุอาหารอีกสิบกว่าชนิด ลุงขอใช้คำว่าธาตุอาหารรวมนะ
ซึ่งมันจะมีอย่างละเล็กน้อย อยู่ใน ผลไม้ ผักต่าง อยู่แล้ว

นึกไม่ออกก็ ไปหาผัก ผลไม่มาสักยี่สิบสามสิบชนิด หรือ ผัก7 สี เอามาหมักรวมกัน  อีกถังนึง

แบบนี้ละง่ายๆ บ้านๆ ที่ชาวบ้านทั่วไปพอทำได้

ยังไม่ต้องไปถึงการปรับปรุงคุณภาพ แบบต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรอก

ที่นี้เวลาใช้ เราจัดสูตรให้เหมาะสม
เช่น ช่วงแรกเกิด ยังไม่ออกลูก

เราก็เอา N สองจอก P-K อย่างละจอก  ธาตุรวม สักครึ่งจอก เราก็จะได้สูตรเร่งการเจริญเติบโต

พอเริ่มจะติดดอก เราก็ลดNลงมาเหลือจอกเดียว เพิ่มPเป็นสอง K ยังจอกเดียว อาจเพิ่มธาตุรวมเป็นหนึ่งจอก

พอไกล้จะแก่ เราอาจลดN-P เหลืออย่างละครึ่ง แล้วไปเพิ่มK เป็นสองหรือสาม ธาตุรวมเป็นครึ่งหรือหนึ่ง

ถ้าเราทำดีๆ ใส่ใจเรื่องส่วนผสม สักเกตุ การเปลี่ยนแปลง จดบันทึก ว่า ตรงไหนคือจุดลงตัวที่ดีที่สุดของพืช

ต้องค่อยๆปรับ ค่อยๆจูน  เราก็จะได้ปุ๋ย ทุกสูตร ตรงกับความต้องการของพืช แบบประหยัด แต่เหนื่อย และใช้เวลาลองผิดลองถูก เอาหน่อย

ก็คิดว่ามันคงจะเป็นประโยชน์ กันบ้าง เด้อ

พี่น้องชาวเกษตรกรไทย หัวใจนักสู้ ผู้ไม่ยอมก้มหึวให้นายทุน

อยากมีกินตัองขยันทำ และเรียนรู้
^_^



แต่ถ้าจะไห้ดี   " สปีดทอนาโด " ลุงจัดหนักกว่านี้อีกเป็นหลายเท่า

จริงๆ ไม่ได้โม้



วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ปริมาณธาตุอาหารที่ควรใช้

ธาตุอาหาร                ความเข้มข้นmg/L            mmole/L หรือ micromole/L


NO3-N                50 - 200                       4 - 15 mmole/L
NH4-N         0 - 150         0 - 10 mmole/L
P                 15 - 190       0.5 - 6 mmole/L
K                 60 - 350       1.5 - 9 mmole/L
Ca               80 - 200        2 - 5 mmole/L
Mg               24 - 60          1 - 2.5 mmole/L
S                  50 - 220      1.5 - 7 mmole/L
Fe1 - 518 - 90 micrommole/L
Mn0.1 - 1.01.8 - 18.2 micrommole/L
Cu0.02 - 0.80.3 - 12.6 micrommole/L
Zn0.05 - 0.50.8 - 7.6 micrommole/L
Mo0.01 - 0.10.1 - 1.0 micrommole/L
Cl1 - 3528 - 987 micrommole/L
B0.1 - 1.09.2 - 92.5 micrommole/L

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี 17 ธาตุ คือ
 คาร์บอน (C)
ไฮโดรเจน (H)
 ออกซิเจน (O)
ไนโตรเจน (N)
ฟอสฟอรัส (P)
โพแทสเซียม (K)
ุแคลเซียม (Ca)
 แมกนีเซียม (Mg)
กำมะถัน (S)
 เหล็ก (Fe)
แมงกานีส (Mn)
ทองแดง (Cu)
สังกะสี (Zn)
ไมลิมดีนัม (Mo)
 โบรอน (B)
คลอรีน (Cl)
และนิเกิล (Ni)

นอกจากธาตุ C H และ O ซึ่งพืชได้รับจากอากาศและน้ำในรูป CO2 O2 และ H2O

แล้วธาตุที่เหลือจำเป็นต้องมีอยู่ในสารละลายในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์





คลอรีน (Cl) มักได้จากการใช้ปุ๋ยธาตุอื่นในรูปของเกลือคลอไรด์ ส่วน Ni พืชต้องการน้อยมาก ปริมาณที่เจือปนอยู่ในน้ำเพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงมักไม่จำเป็นต้องเติมเกลือนิเกิลลงในสารละลายอีก อย่างไรก็ตาม Jones (1997) แนะนำว่า สารละลายธาตุอาหารสำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ควรมีความเข้มข้นของนิเกิลอย่างน้อย 0.057 mg/L สารละลายธาตุอาหารสำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันพบว่า ส่วนใหญ่เน้นไปที่มหธาตุ 6 ธาตุ คือ N P K Ca Mg และ S และจุลธาตุอีก 6 ธาตุ คือ Fe Mn Cu Zn B และ Mo ซึ่งโดยทั่วไปพบว่า พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีจนถึงระยะให้ผลผลิต

ธาตุบางธาตุถึงแม้ไม่จัดเป็นธาตุอาหารจำเป็นในปัจจุบัน แต่มีรายงานว่าช่วยให้การเจริญเติบโต หรือพัฒนาการบางอย่างของพืชดีขึ้น ธาตุเหล่านั้นจึงจัดเป็นธาตุที่มีประโยชน์ (beneficial element) ได้แก่

 :โคบอลต์ไม่ได้เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง แต่จำเป็นต่อจุลินทรีย์ Rhizobium ซึ่งช่วยตรึง N2 ในพืชตระกูลถั่ว (Jones, 1997; ยงยุทธ โอสถสภา, 2543) :ซิลิคอนเป็นธาตุที่พบว่าจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวและธํญพืชหลายชนิด หากพืชกลุ่มนี้ได้รับ Si ไม่เพียงพอจะทำให้ลำต้นไม่แข็งแรง และไม่สามารถตั้งตรงได้ ส่งผลให้ผลผลิตลดลง นอกจากนี้ยังมีรายงานในมะเขือเทศและแตงกวาว่า หากพืชได้รับไม่เพียงพอ จะทำให้พืชไม่สมบูรณ์เต็มที่และอ่อนแอต่อเชื้อรา พืชทั้งสองชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี เมื่อในสารละลายธาตุอาหารมี Si ประมาณ 75-100 mg-Si(OH)4/L (Jones, 1997; Mengel and Kirkby, 1987) :ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า V เป็นประโยชน์ต่อพืชโดยตรง แต่มีข้อมูลที่ระบุว่าพืชอาจสามารถใช้ V ทดแทน Mo ได้ และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ (Jones, 1997) :Na เป็นธาตุที่มีมากบนผิวโลก จึงมักเจือปนอยู่ในน้ำและสารเคมีต่างๆ ที่ใช้เตรียมสารละลาย Na เป็นธาตุจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชทนเค็ม (halophyte) พืชบางชนิดใช้ Na แทน K ได้ เช่น ผักกาดหวาน กะหล่ำ ผักกาดหัว ปวยเหล็ง มะเขือเทศ ข้าว และ มันฝรั่ง เป็นต้น (Mengel and Kirkby, 1987; ยงยุทธ โอสถสภา, 2543)




อาหารเนื้อเยื่อสภหรับทดลอง

ต้องเตรียมอาหารก่อน
แบบนี้ใช้ได้ปะ
น้ำ 500 มล  น้ำตาล(ทรายมั๊ง ขาวหรือแดง เขาไม่ได้บอก แบบนี้ละที่สอนไม่ละเอียด) 30กรัม
ปุ๋นสูตร 10-10-10 (แบบไหนยังไม่รู้)  2 กรัม
 วิตามิน b คอมเพลก 500มล  ครึ่งเม็ด
  น้ำมะพร้าว(อ่อนแก่เขาไม่บอก)  120 มล
วุ้น  7-10 กรับ (เอาสัก 8.5 ละกัน)


น้ำที่อยู่ในระดับ type ll reagent grede ต้องไม่มี pyrogens แก๊ส และอินทรีสาร
มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่า 1.0 เมกกาโอมเซนติเมตร มีค่า EC ต่ำกว่า 1.0
ไมโครซีเมนต์ต่อเซนติเมตร ครับ (เซอร์ท รายละเอียด อ่านเอาจากกูเกิลนะครับ เพราะถ้าเขียน
เรื่องน้ำเรื่องเดียว เดี๋ยวจะยาว ครับ

น้ำตาลที่ใช้เป็นน้ำตาลทราย ขาวหรือแดงก็ได้ เพื่อให้พลังงานกับเนื้อเยื่อ ครับ

ปุ๋ย อนิทรีย์เคมีทางคอมเมอร์เชียล มันจะมีสารฟิลเลอร์ที่เติมลงไปเพื่อให่ปุ๋ย เติมร้อย
เพื่อการจับเป็นเม็ดบ้าง เพื่อให้ปุ๋ยได้น้ำหนักบ้าง ให้มีสีสรรน่าใช้    พิลเลอร์ จะไม่มีผล
ในระบบรากปกติการดูดซึมของปลายรากรากอ่อน  แต่กับระบบเนื้อเยื่อผนังเซล มีผลครับ

น้ำมะพร้าวอ่อน มีกรดฮอโมนจิบเบอรลารีน ช่วยให้เซลเนื้อเยื่อพืชแข็งแรงขยายตัว ครับ
น้ำมะพร้าวแก่ เป็นตัวทำละลายอย่างหนึ่ง มีน้ำตาลในตัว ถ้าใช้น้ำมะพร้าวแก่เป็นตัวทำละลายแทนน้ำ
ก็ไม่ต้องใส่น้ำตาลไปที่สารอาหาร หรือใส่ก็ใส่เล็กน้อย ครับ แต่ผมไม่นิยมใช้ เพราะควบคุม
ปัจจัยความมากน้อย ไม่ได้ครับ ในงานทดลองใช้ได้   แต่ในงานรับจ้างไม่เสี่ยงดีกว่า ครับ

วุ้น นอกจากเจลไลท์ แล้ว ก็ใช้วุ้นไทยตรานางเงือก ครับ




การแปลงเพศ สัตว์น้ำ

ฮอร์โมน 17a-Methyltestosterone


เรียยว่า mt

จะเป็นผงๆ
เริ่มต้น เราต้องเอามาละลายใน เอทิลแฮลกอฮอร์

ส่วนผสมในอาหาร
ปลาป่นนรีอนๆเอาที่ละเอียดมากๆ

จากนนึ้นเอาmt ที่ผสมแอลกอฮอร์ เคล้าๆลงบนอาหาร

แล้วเอาไปผึ่งลม แตกแดด  จากนั้นจึงเอาไปให็ลูกปลากิน




วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หญ้าดอกขาว-สมุนไพร

หญ้าดอกขาว หญ้าดอกขาว
 ชื่อสามัญ Little ironweed, Ash-coloured fleabane, Ash-coloured ironweed, Purple fleabane, Purple-flowered fleabane.[6] หญ้าดอกขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Vernonia cinerea (Linn.) Less. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Conyza cinerea L.) จัดอยู่ในวงศ์ COMPOSITAE (ASTERACEAE)[1],[7]

สมุนไพรหญ้าดอกขาว ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า หญ้าสามวัน (เชียงใหม่), เสือสามขา (ตราด), ถั่วแฮะดิน ฝรั่งโคก (เลย), ก้านธูป ต้นก้านธูป (จันทบุรี), หนาดหนา (ชัยภูมิ), หญ้าละออง หญ้าดอกขาว หญ้าหมอน้อย หมอน้อย (กรุงเทพฯ), เซียวซัวโห้ว เซียหั่งเช่า (จีนแต้จิ๋ว), เย่เซียงหนิว เซียวซานหู่ เซียวซัวเฮา ซางหางฉ่าว (จีนกลาง), ผ้ำสามวัน, ม่านพระอินทร์, ยาไม่ต้องย่าง เป็นต้น[1],[2],[3],[7] หมายเหตุ : หญ้าดอกขาวเป็นชื่อที่พ้องกับพืชหลายชนิดทั้งที่อยู่คนละวงศ์ เช่น กระดุมเงิน (Eriocaulon henryanum Ruhle), หญ้ายอนหู (Leptochloa chinensis (L.) Nees), หรือใช้เรียกพืชชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน เช่น สาบเสือ (Eupatorium odoratum L.) ดังนั้นการใช้ชื้อ “หญ้าดอกขาว” ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสน โดยต้องระบุชื่อวิทยาศาสตร์กำกับไว้อยู่เสมอ เพราะจากการทบทวนเอกสารข้อมูลการวิจัยส่วนใหญ่จะใช้ชื่อว่า “หญ้าดอกขาว” แทน “หญ้าหมอน้อย” มากกว่า[6]

ลักษณะของหญ้าดอกขาว ต้นหญ้าดอกขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุได้ประมาณ 1-5 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 20-80 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านน้อย กิ่งและก้านเรียว มีลักษณะเป็นร่องและมีขนสีเทาขึ้นปกคลุม มีลายเส้นนูนขึ้นตามข้อ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญเติบโตได้ตลอดทั้งปี พบได้ทั่วไปตามสนามหญ้า ที่รกร้าง และทุ่งนาชายป่า[1],[4],[6]

 หญ้าดอกขาวจัดเป็นพืชในเขตร้อนที่พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[6] ใบหญ้าดอกขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน รูปแถบ หรือรูปใบหอก ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนหรือแหลม ส่วนขอบใบหยักหรือจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5-6.5 เซนติเมตร หลังใบมีเส้นใบชัดเจน มีสีเขียวเข้ม มีขนทั้งสองด้าน ใบที่บริเวณโคนต้นมีขนาดใหญ่กว่าใบที่อยู่ปลายยอด[1],[2],[5]

ดอกหญ้าดอกขาว ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 20 ดอก ดอกออกรวมกันเป็นช่อแยกแขนง รูปคล้ายช่อเชิงหลั่น กว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-35 เซนติเมตร มีใบประดับลักษณะเป็นรูปคล้ายระฆัง 4 ชั้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะของดอกย่อยเป็นหลอดยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกเป็นสีม่วงอ่อนอมสีแดง สีม่วง หรือสีชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่สีดอกจะจางลง พอกดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อดอกร่วงโรยแล้วจะเห็นผลเป็นรูปทรงกระบอก[1],[6]

ผลหญ้าดอกขาว ผลชนิดผลแห้งเมล็ดล่อน มีเมล็ดเดียว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแคบสีน้ำตาลเข้ม เปลือกแข็งและแห้งไม่แตก ยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร และยาน้อยกว่า 0.5 มิลลิเมตร ด้านบนมีขนสีขาวปกคลุม ผลเป็นพู่แตกบาน ช่วยทำให้เมล็ดลอยไปตามลมได้[1],[6

] สรรพคุณของหญ้าดอกขาว ทั้งต้นมีรสขมชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ มีสรรพคุณทำให้เลือดเย็น เป็นยาแก้พิษ (ทั้งต้น)[1] ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษเช่นกัน ด้วยการใช้เมล็ดแห้ง 2-4 กรัม นำมาป่นให้ละเอียด ใช้ชงกับน้ำร้อนกิน (เมล็ด)[6],[7] ตำรายาพื้นบ้านจะใช้ทั้งต้น 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วย ใช้ดื่มต่างน้ำชาเป็นยาบำรุงเลือด แก้ตกเลือด (ทั้งต้น)[2] ช่วยบำรุงกำลัง (ทั้งต้น)[5] เมล็ดป่นใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาบำรุงธาตุ (เมล็ด)[6],[7] หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ให้ใช้ทั้งต้นนำมาตากแห้งไว้ต้มกินเป็นประจำ (ทั้งต้น)[3],[6] ตำรับยาลดความดันโลหิตสูงอีกวิธีให้ใช้ลำต้นแห้งของหญ้าดอกขาว ต้นแห้งของสะพานก๊น และต้นแห้งของส้มดิน อย่างละ 15 กรัม เท่ากัน นำมารวมกันแล้วต้มเอาน้ำกิน[7] ใช้เป็นยาลดไข้ แก้ตัวร้อน แก้ไข้หวัดแดดตัวร้อน แก้ไอ แก้ไอหวัด แก้ไข้ทับระดู ไข้มาลาเรีย (ทั้งต้น)[1],[2],[3],[5],[6] ตำรับยาแก้ไข้หวัด แก้ไอ ให้ใช้คนทีเขมาแห้ง ใบไทรย้อยใบทู่แห้ง และรากบ่อฮ๋วมแห้ง อย่างละ 15 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกิน[7] ใช้เป็นยาล้างปอดได้ดี จึงนำมาใช้แก้อาการไอ เจ็บคอ และหอบ รวมไปถึงการช่วยลดเสมหะและน้ำมูกเวลาเป็นหวัด (ทั้งต้น)[3] เมล็ดนำมาป่นให้ละเอียดใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้ไอ ไอเรื้อรัง (เมล็ด)[4],[6],[7] หรือจะใช้รากนำมานำมาต้มเอาน้ำกินก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอเรื้อรังเช่นกัน ถ้าเป็นรากสดใช้ 30-60 กรัม ถ้าเป็นรากแห้งใช้ 15-30 กรัม (ราก)[6],[7] ใบมีรสเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้หืด แก้หลอดลมอักเสบ (ใบ)[5] ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ[5], ทั้งต้น[1]) ช่วยแก้ประสาทอ่อน แก้นอนไม่หลับ (ทั้งต้น)[1] ใบใช้ตำผสมกับน้ำนมคน แล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้เป็นยาหยอดตาแก้ตาแดง ตาเปียก ตาแฉะ (ใบ)[2],[5],[6] ช่วยแก้เต้านมอักเสบ (ทั้งต้น)[1] ทั้งต้นใช้ตำให้ละเอียดเป็นยาพอกแก้นมคัด (ทั้งต้น)[4],[5],[6] ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ (ทั้งต้น)[2],[5],[6] เมล็ดป่นใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้ท้องอืด (เมล็ด)[6],[7] ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องขึ้น ท้องร่วง โรคกระเพาะ (ทั้งต้น)[2],[3],[4],[5],[6] ใช้เป็นยาแก้บิด (ใบ[5], ทั้งต้น[1]) ใช้เป็นยาขับพยาธิ ด้วยการใช้รากสด 30-60 กรัม (แห้งใช้ 15-30 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำกิน (ราก[6],[7], ทั้งต้น[1]) ใช้เมล็ดแห้งประมาณ 2-4 กรัม นำมาป่นให้ละเอียดใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาขับพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย (เมล็ด)[4],[5],[6],[7] ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด ด้วยการใช้รากสด 30-60 กรัม ถ้าเป็นแห้งให้ใช้ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ราก[6],[7], ใบ[5], ทั้งต้น[3]) เมล็ดป่นใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้ปัสสาวะขัด (เมล็ด)[4],[6],[7] ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ทั้งต้น)[5],[6] ทั้งต้นนำมาคั้นเอาน้ำดื่มช่วยกระตุ้นให้เจ็บท้องคลอด ขับรก ขับระดูของสตรี (ทั้งต้น)[5] รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาช่วงเร่งคลอด และขับรกหลังคลอด (ราก)[6],[7] ใช้เป็นยาแก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบเฉียบพลัน (ทั้งต้น)[1],[2],[5],[6] ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ทั้งต้นและรากหญ้าดอกขาว นำมาตากแห้งบดเป็นผง ใช้เป็นยารักษาแผลสด แผลเรื้อรัง ผิวหนังพุพอง และใช้ห้ามเลือด (ทั้งต้น)[2],[6] ใบสดใช้ตำพอกปิดแผล เป็นยาสมานแผล (ใบ)[2],[5],[6] ช่วยรักษาแผลบวมอักเสบ ดูดฝีหนอง แก้บวม (ทั้งต้น)[4],[5],[6] ใช้แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคัน (ทั้งต้น)[1] ใบใช้ตำพอกแก้กลากเกลื้อน เรื้อนกวาง (ใบ)[2],[5],[6] เมล็ดใช้ตำพอกหรือนำมาป่นชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้โรคผิวหนัง โรคผิวหนังเรื้อรัง ผิวหนังด่างขาว (เมล็ด)[5],[6],[7] ช่วยรักษาแผลเบาหวาน ด้วยการใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้นรวมรากประมาณ 1-2 กำมือ นำมาต้มกับน้ำประมาณ 6-8 แก้ว เมื่อยาเดือด ก็ปล่อยให้เดือดกรุ่นไปสัก 5-10 นาที จนได้น้ำยาสีเหลืองแบบชา หรือจะตากแห้งนำมาต้มหรือใช้ชงกินต่างน้ำชาก็ได้ (ทั้งต้น)[3] ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้พิษงู ฝีหนอง งูสวัด แผลกลาย ผ้ำ (การติดเชื้อมีหนองในเนื้อเยื่อลึกๆ ดูคล้ายฝีแต่ไม่ใช่ฝี) (ทั้งต้น)[1],[3] ตำรับยาแก้ผ้ำหรืออาการติดเชื้อมีหนองในเนื้อเยื่อลึกๆ คล้ายฝีแต่ไม่ใช่ฝี ให้ใช้หญ้าดอกขาวนำมาต้มเอาไอรมแผลบริเวณเป็น เมื่อยาเย็นลงแล้วให้เอาน้ำต้มยามาล้างแผล 1 วัน รม 3 ครั้ง 3 วันก็จะหาย โดยให้ใช้ยาหม้อเดิมทั้ง 3 วัน (ทั้งต้น)[3] ช่วยรักษาโรคเท้าช้าง (ใบ[5], ทั้งต้น[1]) ตำรับยาแก้ฟกช้ำ ให้ใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้น ฝาง บัวบก ยาหัว และเถาไม้กระเบื้องต้น (แก้มขาว) นำมาต้มกับน้ำกินจนหาย (ทั้งต้น)[3] ใช้แก้เหน็บชา แขนขาไม่มีแรง ให้ใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้น และกิ่งก้านของใบทองพันชั่ง นำมาต้มกับน้ำกินแทนน้ำชา (ทั้งต้น)[3] ใช้รักษาอาการปวด ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเข่าด้วยการใช้หญ้าดอกขาวนำมาต้มกินเช่นเดียวกับการรักษาแผลเบาหวาน (ทั้งต้น)[3] ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะรดที่นอน แก้เด็กกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ให้ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาชงกับน้ำร้อนกินเป็นชา (ทั้งต้น)[2],[5],[6],[7] เมล็ดมีเฝื่อน ใช้ตำพอกช่วยกำจัดเหา (เมล็ด)[5] ใช้ลดอาการอยากบุหรี่ ด้วยการใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้นประมาณ 2-3 ต้น ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มเดือด 10 นาที ใช้กินบ่อยๆ หรือจะใช้ในรูปแบบชาชงในขนาด 3 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารก็ได้ (ทั้งต้น)[3] นอกจากนี้การแพทย์โบราณและการแพทย์พื้นบ้านในหลายๆ ประเทศ ก็มีการใช้หญ้าดอกขาวเพื่อบรรเทาโรคและอาการต่างๆ จำนวนมาก เช่น มะเร็ง โรคทางเดินอาหาร โรคตับ โรคหืด ไข้มาลาเรีย ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ เยื่อตาอักเสบ อาการปวด อักเสบ โดยในกัมพูชาจะใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาลดไข้ในผู้ป่วยโรคมาลาเรีย ส่วนอินเดียจะใช้น้ำคั้นจากหญ้าดอกขาวเพื่อบรรเทาอาการปัสสาวะขัดในเด็ก บรรเทาอาการไอ ส่วนเมล็ดใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย เป็นต้น[6] หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม [1] ถ้าใช้ต้นสดให้ใช้ครั้งละ 35-60 กรัม ส่วนต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 20-35 กรัม ถ้าใช้ภายนอกก็ให้กะใช้พอประมาณ[1] ส่วนวิธีการใช้ตาม [6] ถ้าเป็นส่วนของทั้งต้นให้เลือกใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนเมล็ดให้ใช้เมล็ดแห้งประมาณ 2-4 กรัม นำมาป่นให้ละเอียดใช้ชงกับน้ำร้อนกิน ส่วนรากสดให้ใช้ครั้งละ 30-60 กรัม ถ้ารากแห้งให้ใช้ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน[6] advertisements ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าดอกขาว สารที่พบได้แก่ พบสารจำพวก Flavonoid glycoside, Phenols, Amino acids เป็นต้น[1] น้ำต้มจากส่วนที่อยู่เหนือดินมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบของเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการปวดและลดความดันโลหิตในสัตว์ทดลอง[2] ใบหญ้าดอกขาวมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้เล็กน้อย แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อมาลาเรีย[1],[7] สารสกัดจากต้นด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้หนู และเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง[2] เมล็ดและรากหญ้าดอกขาวมีฤทธิ์สามารถฆ่าเชื้อพยาธิได้[1],[7] ในปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ของสมุนไพรชนิดนี้ โดยพบว่ามีฤทธิ์เป็นยาลดไข้ ต้านมาลาเรีย ต้านเบาหวาน ต้านการกระจายตัวของมะเร็ง ต้านไม่ให้รังสีแกมมาทำลายเซลล์ ขับปัสสาวะ ป้องกันไตไม่ให้ถูกทำลาย ต้านแบคทีเรีย ต้านการเกิดแผล แก้ปวด ต้านการอักเสบ ลดการอักเสบ ช่วยคลายกล้ามเนื้อเรียบ เป็นต้น[3],[6] รวมทั้งยังมีฤทธิ์การยับยั้งการกินอาหารของแมลงบางชนิด ส่วนการวิจัยใหม่ๆ จะมุ่งเน้นศึกษาฤทธิ์ต้านการเติมออกซิเจนและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างมาก[6] ต้น ใบ และรากของหญ้าดอกขาวมีสารสำคัญคือ Sodium nitrate ทำให้ลิ้นชา ช่วยลดอาการอยากบุหรี่ได้[5] จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของหญ้าดอกขาวกับยาหลอกในการลดการสูบบุหรี่ พบว่า หญ้าดอกขาวสามารถช่วยลดการสูบบุหรี่ลงได้มากกว่ากลุ่มควบคุม และพบว่าสมุนไพรหญ้าดอกขาวในรูปแบบการนำไปเคี่ยว คือการนำหญ้าดอกขาวแห้ง 20 กรัม ผสมกับน้ำ 3 แก้ว แล้วต้มเคี่ยวจนเหลือเพียง 1 แก้ว แล้วนำมาอมไว้ในปากประมาณ 1-2 นาทีแล้วค่อยกลืน จากนั้นจึงค่อยสูบบุหรี่ จะทำให้รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนทำให้ไม่อยากสูบยุหรี่ในที่สุด และลดจำนวนของมวนบุหรี่ที่ใช้สูบต่อวันได้อย่างรวดเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ไม่ว่าจะสูบเบาหรือสูบหนักมาก่อนก็ตาม และจากการวิจัยพบว่าหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน จะช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ได้ถึง 60% และหากออกกำลังกายร่วมด้วยก็จะช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้ 62% และที่สำคัญยังช่วยทำให้คนเลิกบุหรี่ได้สูงถึง 60-70% หากออกกำลังกายร่วมด้วย[3],[4] จากการศึกษาผู้ติดบุหรี่พบว่าหลังการรักษาด้วยสมุนไพรหญ้าดอกขาวเป็นระยะเวลา 4 เดือน ผู้ติดบุหรี่มีอัตราการเลิกสูบบุหรี่ร้อยละ 69.35 โดยเหตุผลสำคัญของการเลิกสูบบุหรี่ คือ ชาลิ้น กินอาหารไม่อร่อย ไม่รู้สึกอยากบุหรี่ รู้สึกเหม็นกลิ่นบุหรี่ เมื่อสูบแล้วรู้สึกอยากอาเจียน ส่วนผู้ที่ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ให้เหตุผลว่า การดื่มชาสมุนไพรชนิดนี้ก็เหมือนกับการดื่มน้ำธรรมดา โดยไม่มีอาการใดๆ[5] ส่วนการศึกษาด้านความปลอดภัย พบว่าสมุนไพรชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง[3] ซึ่งจากการศึกษาด้านพิษวิทยาพบว่าสารสกัดในเมทานอลไม่เกิดให้เกิดพิษเฉียบพลันในหนูเมื่อให้ทางปาก โดยมีค่า LD50 สูงกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม[6] ประโยชน์ของหญ้าดอกขาว ปัจจุบันมีการใช้หญ้าดอกขาวเป็นยาแก้อาการติดบุหรี่ เพราะกินแล้วจะทำให้เหม็นบุหรี่และไม่อยากสูบบุหรี่อีก ซึ่งทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งนำหญ้าดอกขาวไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2547 ได้มีการจดสิทธิบัตรในอเมริกา โดยนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น ที่ใช้สารสกัดจากหญ้าดอกขาวใส่ลงไปในก้นกรองของบุหรี่เพื่อช่วยลดความอยากสูบบุหรี่[3] นอกเหนือจากจะทำให้เลือกบุหรี่ได้แล้ว ยังช่วยทำให้สมรรถภาพทางกายดีขึ้นอีกด้วย เลือดจะมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่คั่งค้างในปอดลดลงอย่างชัดเจน และที่สำคัญผลข้างเคียงของการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีนี้ก็มีน้อยมาก (เช่น มีอาการกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย สมาธิแปรปรวน)[3] เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง มีสรรพคุณมากมาย กินง่าย มีรสชาติดีเยี่ยม จึงได้มีการพัฒนาเป็นยาในรูปแบบชง แบบชาชง แบบแคปซูล แบบลูกอมเม็ดแข็ง แบบลูกกวาดนุ่ม แบบหมากฝรั่ง แบบแผ่นฟิล์มละลายเร็ว และแบบผลิตภัณฑ์กาแฟผสมหญ้าดอกขาว ที่สามารถหาซื้อได้ง่ายและนำไปใช้ประโยชน์กันได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบันชาหญ้าดอกขาวถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2555 ในส่วนยาพัฒนาจากสมุนไพรสำหรับลดความอยากบุหรี่ในรูปแบบชง ใช้กินครั้งละ 2 กรัม โดยชงกับน้ำร้อนประมาณ 120-200 มิลลิเมตร ใช้กินหลังอาหารวันละ 3-4 ครั้ง ส่วนในรูปแบบชาชง ก็คือการนำหญ้าดอกขาวแห้งมาบดเป็นผงละเอียด แล้วบรรจุลงในถุงชาขนาดเล็ก วิธีรับประทานก็ให้นำถุงชามาจุ่มลงในน้ำร้อนแล้วทิ้งไว้สักครู่ แล้วนำมาอมไว้ในปากประมาณ 1-2 นาทีเช่นเดียวกับแบบชงดื่ม ส่วนในรูปของยาอมแบบอัดเม็ด ก็มาจากการนำหญ้าดอกขาวมาเคี่ยวแล้วทำให้เป็นผงแห้งก่อนการอัดเม็ด รูปแบบนี้ทำให้พกพาง่ายและสะดวก ก่อนจะสูบบุหรี่ทุกครั้งก็ให้นำมาอมไว้ในปากจนละลายหมดแล้วจึงค่อยสูบบุหรี่ ก็จะช่วยทำให้เลิกบุหรี่ได้ครับ (ประสิทธิภาพในรูปแบบอมจะได้ผลเร็วกว่ารูปแบบชงชาและแบบเคี่ยวมาก)[3],[4] แม้สมุนไพรชนิดนี้จะมีประโยชน์อยู่มากก็ตาม แต่ก็มีข้อเสียที่อาจเป็นประโยชน์อยู่ด้วย นั้นก็คือ เมื่อกินยาชนิดแล้วจะทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ทำให้ไม่อยากอาหาร (ควรระวังในการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไตเนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีโพแทสเซียมสูง) ด้วยเหตุนี้หญ้าดอกขาวจึงอาจมปีประโยชน์ในควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย[3] References หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “หญ้าหมอน้อย”.  หน้า 604. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “เสือสามขา”.  หน้า 223. ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.  “หญ้าดอกขาว หมอข้างกาย ทางสบายเลิกบุหรี่”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_herbal/.  [13 ก.ค. 2014]. เดลินิวส์ 5 สิงหาคม พ.ศ.2555.  “หญ้าดอกขาว สมุนไพรช่วยเลิกบุหรี่”. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  “หญ้าดอกขาวกับการลดการอยากบุหรี่”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.cmu.ac.th/dic/newsletter/newpdf/newsletter10_6/smokingherb.pdf.  [14 ก.ค. 2014]. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2553.  (อรลักษณา แพรัตกุล).  “องค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพของหมอน้อย และแนวทางการพัฒนาตำรับเพื่อใช้ช่วยเลิกบุหรี่”. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, พิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “หมอน้อย”.  หน้า 819-820. ภาพประกอบ : www.flickr.com (by 翁明毅, eddy lee, u20202003, Hamid, Dinesh Valke, CANTIQ UNIQUE) เรียบเรียงข้อมูลโดย ฟ ริ น น์ .com



ลดความดันสูง-สมุนไพรไทยลดความดันโลหิตสูง

 สมุนไพรไทยลดความดันโลหิตสูง"
คนไทยที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 22 โรคความดันโลหิตสูงเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และโรคความดันโลหิตสูงยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจอีกด้วย สมุนไพรไทยที่มีผลช่วยลดอาการความดันโลหิตสูง ที่น่าสนใจมีดังนี้

1.กระเจี๊ยบแดง
จากการทดลองในสัตว์และมนุษย์ พบว่า กระเจี๊ยบแดงสามารถลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ขับยูริก รวมทั้งลดการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะภายหลังการผ่าตัดในไตได้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าการดื่มชากระเจี๊ยบวันละ 2-3 ครั้ง สามารถลดความดันโลหิตตัวล่างลงได้ตั้งแต่ร้อยละ 7.2 ถึง 13 เลยทีเดียว ดังนั้น ชากระเจี๊ยบจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

2.ขึ้นฉ่าย
“ขึ้นฉ่าย” ชาวเอเชีย นิยมใช้ขึ้นฉ่ายเป็นยาลดความดันโลหิตมากว่า ๒ พันปีแล้ว ชาวจีน ชาวเวียดนามแนะนำให้กินขึ้นฉ่ายวันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ แพทย์อายุรเวทในอินเดียจะสั่งจ่ายเมล็ดขึ้นฉ่ายเพื่อขับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยที่บวมน้ำ ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า ขึ้นฉ่ายมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ลดบวม คุมกำเนิด ลดจำนวนอสุจิ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก ต้านการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ขับระดู เป็นต้น

3.บัวบก
“บัวบก” เป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากบัวบกทำให้การไหลเวียนของเลือดทั้งในหลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอยมีการไหลเวียนดีขึ้น มีคุณสมบัติขยายหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี จึงสามารถลดความดันโลหิตได้ นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อระบบประสาท ทำให้การเรียนรู้ดีขึ้น มีฤทธิ์คลายความเครียด ซึ่งฤทธิ์คลายความเครียดนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วย

4.คาวตอง หรือพลูคาว
“คาวตอง หรือพลูคาว” หมอยาทั่วไป ทั้งอีสาน ภาคเหนือ หรือไทยใหญ่มีความเชื่อว่าการกินคาวตองสดๆ กับน้ำพริก ลู่ ลาบ หรือใช้รากต้มกับปลาไหล รากตำเป็นน้ำพริกกินจะเป็นยารักษาโรคได้ เช่น ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ริดสีดวงทวาร แผลในกระเพาะอาหาร พลูคาว นับเป็นผักสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยและจดสิทธิบัตรมากตัวหนึ่ง ซึ่งจากการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ต่างพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพลูคาวเช่นเดียวกับการใช้ประโยชน์ของหมอยาพื้นบ้าน

5.มะรุม
“มะรุม” นับเป็นอาหารสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด โดยจากประสบการณ์การใช้ของชาวบ้านทั้งในไทยและต่างประเทศ และการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่า ส่วนของใบและรากของมะรุม มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตได้ รวมทั้งพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดความดันโลหิต เช่น niazinin A, niazinin B, niazimicin และ niaziminin A and B

สำหรับตำรับยาแก้ความดันโลหิตสูง ซึ่งต้องกินอย่างต่อเนื่อง เช่น ตำรับที่ 1 นำรากมาต้มกินเป็นซุป ตำรับที่ 2 นำยอดมาต้มกิน ตำรับที่ 3 นำยอดอุ๊ปใส่เนื้อวัวกิน ซึ่งต้องเป็นเนื้อวัวเท่านั้น ตำรับที่ 4 นำรากมะรุมต้มกับรากย่านางกิน ตำรับที่ 5 ใช้ยอดมะรุมสด โดยจะเป็นยอดอ่อนหรือยอดแก่ก็ได้ นำมาโขลกคั้นเอาน้ำ (ถ้าไม่มีน้ำให้เติมน้ำลงไปพอให้เหลวข้น) ผสมน้ำผึ้งพอหวาน กินวันละ ๒ ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว ยานี้จะช่วยลดความดัน เมื่อหยุดกินยาความดันโลหิตก็เพิ่มขึ้นมาอีก จึงต้องกินอย่างต่อเนื่อง โดยกินมะรุมทำเป็นอาหารเท่านั้น

***หมายเหตุ กรณีมะรุม ห้ามกินมะรุมผงแคปซูล (ทั้งใบมะรุม และเม็ดมะรุม) เพื่อลดความดันโลหิต เพราะเป็นอันตรายต่อตับ

(ข้อมูล : นิตยสารหมอชาวบ้าน เดือนกรกฎาคม 2557)


วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ถ้าคนไทย หรือเกษตร ปลูกปาล์ม คนละหนึ่งไร่หรือห้าไร่เราจะหลุดจากทาสน้ำมัน

ปล.เราหีบเองได้ด้วยเครื่องราคาไม่ถึงหมื่น
ปล.ใช้แทนน้ำมันดีเซล ได้ 100%กับทุกเครื่องยนต์โดยไม่ต้องเติมดีเซล

ปล.ในหลวงของเราถือสิทธิบัตรอยู่ ผลงานวิจัยเพียบ
ปล.อย่าเชื่อคำขู่ กลุ่มพลังงานว่าอคร ่องจะพัง

นี่คือพลีงงานบนดิน ที่เราสร้างได้ไม่ถึง20บาทต่อลิตร
ใช้ในรถ แสงสว่างหุงต้ม การเกษตร ขนส่ง

ทำไม่เราไม่ยอมหลุดพ้นละ

พันอะไรก็ได้ สักสี่ห้าสิบต้นคอมแพ็คกลูกผสม แพงหน่อยสองร้อยกว่าบาท
พันธ์ บ้านๆ ก็ ห้าสิบกว่าบาทเอง

เดี๋ยวมาว่าต่อ
ลุงทำแน่ พลังงานบนดินแบบนี้ เราสร้างเองได้

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การเพาะเห็ดถังเช่าสีทอง

ดร.ธัญญา ทะพิงค์แก ได้พัฒนาวิธีการเพาะเห็ดแบบง่าย โดยที่วัสดุเพาะเห็ดไม่จำเป็นต้องผ่านการฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดัน แต่ใช้น้ำยาล้างแผลไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide; H2O2) ซึ่งหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไปในการควบคุมการปนเปื้อนจากเชื้อแปลกปลอม และใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าในการเตรียมวัสดุเพาะเห็ด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาเชื้อเห็ดน้ำโดยใช้วัสดุขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วแทนไบโอรีแอคเตอร์ซึ่งมีราคาแพงในการผลิต เชื้อเห็ดน้ำสามารถนำมาใช้แทนเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างแบบเดิมที่ใช้กัน วิธีการที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถใช้เพาะเห็ดได้หลายชนิด เช่น เห็ดในตระกูลถังเช่า (ถังเช่าสีทอง, ถังเช่าหิมะ, เห็ดจักจั่น) เห็ดหัวลิง เห็ดหลินจือ เห็ดนางฟ้า นางรม เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดนางรมหลวง เป็นต้น

ซึ่งเมื่อหลายปีก่อน ดร. ธัญญา ทะพิงค์แก คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีผลงานด้านการเพาะเห็ดถังเช่า เพื่อใช้เป็นอาหารและยา โดยใช้เชื้อเห็ดถังเช่าทิเบตมาขยายพันธุ์แบบง่ายๆ พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจจำนวนมาก จนสามารถนำไปประกอบอาชีพเป็นรายได้แก่ครอบครัวในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ สำหรับผลงานใหม่ที่นำเสนอในปีนี้คือ เห็ดถังเช่าสีทอง

ดร. ธัญญา ทะพิงค์แก เล่าให้ฟังว่า เห็ดถังเช่าสีทองนั้นมีการเพาะกันมานานหลายสิบปีแล้ว ที่ประเทศจีน เช่น บริษัท เจียวสู เจียงหนาน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น บริษัท ไบโอเกน แต่ละบริษัทผลิตจำหน่ายเดือนละหลายตัน มีผู้บริโภคเห็ดถังเช่ากันมาก เนื่องจากเห็ดถังเช่ามีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายประการและหายาก ทำให้เห็ดถังเช่ามีราคาแพง ราคากิโลกรัมละ 3 แสนบาทขึ้นไป จนได้สมญาว่า ทองคำแห่งสมุนไพรจีน ทำให้มีเห็ดถังเช่าปลอมหรือมีสิ่งอื่นเจือปน หากทุกคนได้เรียนรู้และปฏิบัติด้วยตนเอง ก็สามารถบริโภคและจำหน่ายได้ในราคาไม่แพงนัก


เห็ดถังเช่าสีทองสามารถเพาะได้ด้วยการใช้แมลงหลายชนิด ตัวหนอนหรือดักแด้ไหม หรือใช้อาหารสังเคราะห์ ชักนำให้ออกเป็นดอกเห็ดในที่อากาศเย็น หากผลิตเป็นอุตสาหกรรมก็สามารถใช้เมล็ดธัญพืชทดแทนแมลงหรือตัวหนอนได้ แต่ในที่นี้ขอแนะนำเกษตรกรผลิตแบบครัวเรือนเพื่อใช้บริโภคคือ ใช้เมล็ดธัญพืชที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ใช้หม้อหุงข้าวแทนหม้อนึ่งความดันที่มีราคาแพง



ภาชนะที่ใช้เพาะเห็ดถังเช่าสีทอง ใช้ได้ตั้งแต่ถุงพลาสติก กล่องพลาสติก ขวดแก้ว วิธีเพาะใช้ข้าวสาร 1 กิโลกรัม ใส่ลงในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า แนะนำว่าให้ใช้ข้าวใหม่ ที่ดูดซับน้ำได้น้อย บดวิตามินบี 1 จำนวน 2 เม็ด ให้ละเอียดผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3 เปอร์เซ็นต์ 50 ซีซี น้ำส้มสายชู 5 เปอร์เซ็นต์ 10 ซีซี ลงในขวดพลาสติก ปิดฝาให้แน่น เขย่าให้ส่วนผสมเข้ากันนาน 10 นาที จากนั้นเติมน้ำลงไปให้ได้ปริมาตร 1 ลิตร เทลงในหม้อหุงข้าว และหุงจนข้าวสุก ตักข้าวใส่ภาชนะที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว เช่น ขวดโหลแก้ว ถ้วยพลาสติกทนความร้อน รอจนข้าวเย็น เขี่ยเชื้อเห็ดถั่งเช่าสีทองลงไป ปิดภาชนะให้สนิท ควรเขี่ยเชื้อในห้องที่ปิดมิดชิด เพื่อป้องกันเชื้อโรค

จากนั้นนำไปบ่มเก็บไว้ในที่มืดในห้องคุมอุณหภูมิ 22-25 องศาเซลเซียส จนกระทั่งเชื้อเห็ดเดินเติมที่ ก็เก็บไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 15-18 องศาเซลเซียส และให้แสงวันละ 12-14 ชั่วโมง ความเย็นจะกระตุ้นให้เกิดดอก  ส่วนแสงนั้นจะทำให้เห็ดเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง  ดังนั้นเกษตรกรต้องมีห้องเย็นสำหรับเพาะเห็ดชนิดนี้ หลังจากเชื้อเห็ดเดินเต็มที่ ใช้เวลาเลี้ยงอีก 1-2 เดือน ก็สามารถเก็บได้



ขอบคุณๆๆๆๆๆ ท่านที่แบ่งปัน ผมก็อบมาล้วนๆ เห็นมีประโยชน์จริงทำได้ง่าย

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การเพาะเห็ดหลินจือ

การเพาะเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือหรือเห็ดหมื่นปี จัดเป็นเห็ดที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งที่มีสรรพคุณทางด้านเภสัชหรือเป็นยารักษารักษาโรค เห็ดชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย แต่ชาวบ้านทั่วไปจะรู้จักในนามของเห็ดจวักงู นอกจากนี้ยังได้มีการวิจัยศึกษาว่าเห็ดนี้สามารถลดครอเรสเตอรอลในเส้นเลือดได้

จากการที่ชาวจีนส่วนใหญ่เชื่อว่าเห็ดชนิดนี้เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ผู้บริโภคมีอายุยืนยาว จึงเรียกชื่อเห็ดพวกนี้ว่าเห็ดหลินจือ ซึ่งคนไทยเรียกว่าเห็ดหมื่นปี เพื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับคุณสมบัติของเห็ด โครงสร้างของเห็ดชนิดนี้ จะมีลักษณะแห้งและแข็งเหมือนเนื้อไม้ ถ้าหากนำดอกเห็ดมาชุบยากันแมลง แล้วอบให้แห้งจะสามารถเก็บเห็ดชนิดนี้ได้นานนับชั่วอายุคน แต่ไม่ใช่หมายความว่าดอกเห็ดหลินจือที่เจริญเติบโตฌติบโตตามธรรมชาติจะมีอายุถึงหมืนปี

ลักษณะธรรมชาติของเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือจัดเป็นเห็ดที่เจริญเติบโตได้ดีในธรรมชาติ โดยเจริญเติบโตตามโคนไม้ ในเขตอบอุ่นและเขตร้อน จากการศึกษาพบว่า เห็ดหลินจือเจริญเติบโตได้ดีบนตอไม้ที่ตายแล้ว โดยเฉพาะ ต้นคูน ก้ามปู หางนกยูงฝรั่ง ยางพารา ฯลฯ แต่ในบางครั้งพบว่าเห็ดชนิดนี้เป็นปรสิตของรากพืช จึงทำให้นักวิชาการหลายท่านเป็นห่วงว่า ถ้าเห็ดพวกนี้แพร่ระบาดออกไป อาจจะทำลายป่าไม้หรือทำลายพืชผลบางชนิดได้ ทั้งนี้เนื่องจากมีรายงานจากประเทศมาเลเซียว่าเห็ดชนิดนี้เป็นเชื้อที่ทำให้ เกิดโรคลำต้นเน่าในต้นปาล์ม และโรครากเน่าในมะพร้าว

ส่วนประกอบของเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือจัดเป็นพวก polypore เห็ดพวกนี้ครีบดอกมีลักษณะเป็นรูอยู่ใต้หมวกดอก ประกอบกับเห็ดหลินจือจัดเป็นเห็ดที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่หลายประเทศ เห็ดหลินจือที่พบในประเทศไทยมีหลายชนิด คนทั่วไปเรียกเห็ดชนิดนี้ว่า เห็ดหิ้ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายเห็ดในสกุล Ganoderma เห็ดหิ้งบางชนิดอาจไม่ใช่เห็ดหลินจือก็ได้ตามปกติเห็ดหลินจือมีรูปร่างส่วนประกอบดังนี้

หมวกดอก (cap) ดอกเห็ดหลินจือ อาจเกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 ดอก ที่มีโคนดอกติดกัน หมวกดอกที่เกิดออกมาใหม่ๆ จะมีลักษณะเป็นแท่งสีเหลือง สีของดอกเห็ดจากยอดลงมาจะมีสีขาว สีเหลืองและสีน้ำตาล ตามลำดับ ต่อมาส่วนบนของหมวกดอกจะแผ่ออกคล้ายใบพัดดอกเห็ดในขณะที่ยังอ่อนอยู่จะมีสีขาวหรือสีเหลือง กลางหมวกดอกมีสีน้ำตาล แต่ถ้าหมวกดอกเจริญเติบโตเต็มที่ ขอบหมวกจะงองุ้มลง สีของหมวกดอกจะเข้มมากขึ้น เนื้อเยื่อภายในดอกเห็ดจะมีเส้นใยสีน้ำตาล ความหนาของผิวหมวกดอกไป จนถึงรูที่อยู่ใต้หมวกดอกจะหนาประมาณ 0.2-1.0 ซม. ผิวของหมวกดอกมีลักษณะเป็นเงามันคล้ายทาด้วยแซลแลค มีสีน้ำตาลแดง หรือสีเซสนัสครีบดอก (gills) ครีบดอกของเห็ดหลินจือ จัดเป็นพวก porypore ได้หมวกดอกมีลักษณะเป็นรูเล็กๆ สีขาวหรือสีเหลืองจำนวนมากมาย ภายในรูเป็นแหล่งกำเนิดสปอร์ เมื่อดอกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะมีการสร้างสปอร์ออกมามากมาย สปอร์บางส่วนจะปลิวตกแต่สปอร์บางส่วนจะลอยขึ้นไปปกคลุมผิวของหมวกดอก มีลักษณะเป็นผงสีน้ำตาลเมื่อนำสปอร์มาชิมดูจะพบว่ามีรสขม สปอร์ของเห็ดหลินจือมีสีน้ำตาลเป็นผง สปอร์มีรูปร่างกลมรีปลายด้านหนึ่งตัด มีผนัง 2 ชั้น ผนังชั้นนอกเรียบ ส่วนผนังชั้นในมีลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมาชนผนังชั้นนอกก้านดอก (stalk) เห็ดหลินจืออาจจะมีก้านดอกหรือไม่ก็โดยเฉพาะเห็ดหลินจือที่ขึ้นตามตอไม้ อาจไม่พบก้านดอกก็ได้ ก้านดอกอาจจะอยู่ถึงกลางหรือค่อนไปทางข้างใดข้างหนึ่งของหมวกดอกก็ได้

คุณสมบัติของเห็ดหลินจือในการรักษาโรค

เห็ดหลินจือเป็นเห็ดสมุนไพร ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ผู้บริโภค มีอายุยืนนานโดยเฉพาะชาวจีนเชื่อกันว่า เห็ดหลินจือมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคมาตั้งแต่สมัยโบราณ นับเป็นพันปีๆ มาแล้ว ประกอบกับเห็ดหลินจือที่ขึ้นตามธรรมชาติมีน้อยมาก จึงทำให้เห็ดหลินจือมีราคาแพงมาก ต่อมาได้มีการศึกษาเกี่ยวกับ สรรพคุณของเห็ดหลินจือในการรักษาโรคต่างๆ อย่างกว้างขวางมีรายละเอียดพอสรุปได้ดังนี้

1. สารและประเภทของสารในเห็ดหลินจือ จากการสกัดสารต่างๆ ที่พบในเห็ดหลินจือและมีสรรพคุณในการรักษาโรคมีหลายชนิด ได้แก่

 Cholestan สารพวกนี้จัดเป็นสารพวก steroidErgosterol จัดเป็นสารพวก steroidGanoderan จัดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรทGanoderic acid จัดเป็นสารประเภทไตรเตอร์ฟีนG. lucidum antibiotic จัดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรทG. lucidum Polysaccharide จัดเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรทLucidenic acid จัดเป็นสารประเภทไตรเตอร์ฟีน

2. คุณค่าทางอาหาร เห็ดหลินจือมีสารอาหารที่พบทั่วไป หลายอย่างโดยเฉพาะแร่ธาตุพวกโพแทสเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ วิตามิน ฯลฯ

3. สรรพคุณต่อต้านเนื้องอก จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า เห็ดหลินจือมีสารที่สามารถต่อต้านเนื้องอก (antitumor) สารดังกล่าวคือ (1-3)-b-D glucan ซึ่งจัดเป็นสารพวก polysaccharide สารพวกนี้ยังพบในพวกเห็ดหอมและเห็ดอื่นๆ ในปริมาณที่แตกต่างกัน

4. สรรพคุณในการรักษาโรคอื่นๆ จากรายงานการวิจัยสารสกัดจากเห็ดหลินจือในการรักษาโรคชนิดต่างๆ พบว่า สารที่มีอยู่ในเห็ดหลินจือสามารถรักษา โรคแพ้ โรคความดัน โรคตับ โรคกระเพาะ ลดน้ำตาลในเลือด และเพิ่มความต้านทานโรค โดยการทดสอบกับหนู และยังมีเอกสาร รายงานว่าเห็ดหลินจือมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคการอุดตันของเส้นเลือด โรคหลอดลมอักเสบ ฯลฯ

การเพาะเห็ดหลินจือ

     เห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวันใช้รับประทานบำรุงสุขภาพ มา ช้านาน เห็ดชนิดนี้ราคาค่อนข้างแพงและมีรสชาดขม การเพาะทำได้ไม่ยากโดยใช้ขี้เลื่อยผสม วัสดุต่าง ๆ ดังวิธีการและขั้นตอนดังต่อไปนี้



สูตรอาหาร

1.ขี้เลื่อยไม้ยางพารา100 กิโลกรัม รำ 1.5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม น้ำ 60 – 65 เปอร์เซ็นต์2.ขี้เลื่อยไม้ฉำฉา100 กิโลกรัม รำละเอียด 5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม ยิบซั่ม 1 กิโลกรัม น้ำ 60 – 65 เปอร์เซ็นต์3.ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ 100

กิโลกรัม

 ปูนขาว 1

กิโลกรัม

 ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต 2

กิโลกรัม

 น้ำ 60 – 65

กิโลกรัม

  อุปกรณ์

 ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7 x 3 นิ้ว หรือ 6 ½ x 12 นิ้วคอพลาสติกสำเร็จรูป ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว สูง 1 นิ้ว พร้อมที่ครอบปิดและมีฝาปิด (ซึ่งรองด้วยกระดาษอีกชั้นหนึ่ง) หรือสำลีหรือฝาปิดแบบประหยัดยางรัด ตะเกียงแอลกอฮอล์หัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่างโรงเรือนพร้อมชั้นสำหรับบ่มก้อนเชื้อ และเปิดดอกแยกกันอุปกรณ์ให้น้ำ เช่น บัวรดน้ำ สายยางพลั่วและหม้อนึ่งไม่อัดความดัน



วิธีการทำ

     1. ผสมขี้เลื่อยและวัสดุอื่น ๆ เข้าด้วยกัน เติมน้ำลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันดี ตรวจสอบให้มีความชื้นประมาณ 60 – 65 เปอร์เซ็นต์ โดยการบีบขี้เลื่อยผสมให้แน่นแล้วคลายมือออก ขี้เลื่อยผสมควรจับตัวกันอยู่ได้ แต่ไม่ชื้นจนมีหยดน้ำไหลออกมาและไม่แห้งจนขี้เลื่อยผสมแตกร่วนเมื่อคลายมือ สำหรับสูตร 1 และ 2

     2. บรรจุขี้เลื่อยผสมในถุงพลาสติกทนร้อนประมาณ 900 กรัม/ถุง แล้วอัดให้แน่นพอประมาณ รวบปากถุงใส่คอขวดพลาสติก ดึงปากถุงพับลงรัดด้วยสายยางวงทำช่องตรงกลางถุงอาหารเจาะด้วยไม้หลุม สวมฝาครอบสำเร็จรูปและฝาปิด (ซึ่งรองด้วยกระดาษ) หรือสำลีและปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาปิดแบบประหยัด

     3. นำถุงอาหารซึ่งเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปเรียงในหม้อนึ่งหรือถังนึ่ง ไม่อัดความดันนึ่ง แล้วนึ่งนานประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด โดยสังเกตุจากไอน้ำที่พุ่งตรงจากรูที่เจาะไว้ที่ฝาแล้วทิ้งไว้ให้เย็น

     4. การหยอดหัวเชื้อเห็ด หัวเชื้อเห็ดนั้นจากต้องมีการเขย่าขวดเป็นระยะและก่อนจะนำมาใช้ 1 คืน ควรจะเขย่าขวดให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายออก ดึงจุกสำลีลนปากขวดหัวเชื้อที่เปลวไฟเทหัวเชื้อลงในถุงอาหารประมาณถุงละ 20 – 30 เมล็ด ปิดที่ครอบคอขวดไว้ตามเดิม การหยอดหัวเชื้อต้องทำในที่สะอาดและไม่มี ลมพัดผ่าน

     5. การบ่มก้อนเชื้อนำถุงที่ใส่หัวเชื้อเห็ดวางบนชั้นในแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ในที่มืดจนเส้นใยเจริญเต็มถุงใช้เวลาประมาณ 1 – 1 ½ เดือน

     6. การปิดออก ดึงฝาครอบคอขวดออกแล้วนำก้อนเชื้อซึ่งเส้นใยเจริญเต็มถุงไปวางในโรงเรือนสำหรับเปิดดอกโดยวางซ้อนกัน ให้น้ำวันละ 1 – 2 ครั้ง โดยรดน้ำไปตามบริเวณพื้นและรอบ ๆ โรงเรือน อย่าให้น้ำถูกดอกเห็ด ในโรงเรือนต้องมีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทได้ดี ดอกเห็ดจะค่อย ๆ เจริญใช้เวลามากกว่า 1 เดือน ขึ้นกับสภาพอากาศจึงจะเจริญเต็มที่ การเก็บดอกให้สังเกตบริเวณขอบของดอกจะเป็นสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน ทั้งดอก แล้วทิ้งไว้ระยะหนึ่งจึงจะเก็บ การเก็บดอกเห็ดหลินจือต้องพยายามดึงดอกเห็ดให้หลุดออกมาทั้งหมด ผลผลิตดอกเห็ดหลินจือสดจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมที่เพาะ โดยเฉลี่ยแล้วจะได้ผลผลิตประมาณ 50 – 100 กรัม ต่อถุงขี้เลื่อยขนาด 900 กรัม

     7. การทำแห้ง ดอกเห็ดหลินจือนิยมเก็บไว้ในสภาพแห้ง เมื่อเก็บดอกเห็ดสดมาแล้วก็ตัดส่วนปลายก้อนทิ้งเล็กน้อยแล้วล้างดอกเห็ดทิ้งให้สะเด็ดน้ำหรือไม่ต้องล้างน้ำหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ เมื่อหันเสร็จต้องรีบนำไปตากหรืออบแห้งทันที ไม่เช่นนั้นจะมีน้ำสีขาว ๆ ออกมาจะทำให้มีสีขาวติดอยู่กับเห็ด ซึ่งทำให้เห็ดเสียราคาได้

     การทำแห้งก็โดยการตากแดดจัด ๆ สัก 3 ครั้ง แล้วอบที่อุณหภูมิ 71 º ซ. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือ ใช้อบที่อุณหภูมิ 60 – 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 – 24 ชั่วโมง นำมาผึ่งให้เย็นแล้วเก็บใส่ถุงให้มิดชิด

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย papa







ชื่ออาชีพอิสระ เพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ

เงินลงทุน ครั้งแรกประมาณ 8,000 บาท ขึ้นไป (ก้อนเชื้อเห็ด ก้อนละ 3-10 บาท โรงเรือนประมาณ 4,000 บาท ขึ้นไป)

รายได้ 8,000 บาท ขึ้นไป/เดือน (อาจมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับปริมาณเห็ดที่เก็บได้ และราคาตลาดของเห็ดแต่ละชนิด)

อุปกรณ์ ก้อนเชื้อเห็ด โรงเรือนเพาะเห็ดคลุมด้วยตาข่าย หรือมุงจากชั้นแขวนก้อน เชื้อเห็ดบัวรดน้ำ เกย์วัดความชื้น

แหล่งจำหน่าย ร้านค้าหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์รวมสวนเห็ดบ้าน อรัญญิก ฟาร์มเพาะเห็ดทั่วไป

วิธีดำเนินการ

ไปซื้อถุงเชื้อเห็ดจากแหล่งจำหน่าย ซึ่งถุงเชื้อเห็ดนั้น โดยทั่วไปเป็นถุงพลาสติกบรรจุเชื้อเห็ดมีรูปทรงคล้ายขวด โดยมีพลาสติกรูปทรงคอขวดใส่ปากถุงไว้เพื่อให้คล้ายคอขวด และมีจุกสำลีอุดปากถุง

เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดยานางิ

ปิดถุงเห็ด โดยดึงจุกสำลีและพลาสติกที่ทำเป็นคอขวดออก ปาดปากถุง ส่วนเห็ดเป๋าฮื้อและยานางิไม่ต้องปาดปากถุง นำไปวางซ้อนกันบนชั้นแขวนในโรงเรือน โดยให้ถุงอยู่ในลักษณะแนวนอน รดน้ำรักษาความชื้น 70-90% วันละ 2 - 6 ครั้ง โดยรดน้ำเป็นฝอยพ่นเหนือถุง อย่ารดน้ำเข้าปากถุง หลังจากนั้นจะเริ่มมีดอกเห็ดโผล่ออกมาทางปากถุง ประมาณ 7-10 วัน ก็เก็บเห็ดรุ่นแรกได้ ระยะห่างของรุ่น10-15 วัน ส่วนเห็ดเป๋าฮื้อและยานางิ ประมาณ 10-15 วัน เก็บเห็ดได้ ระยะห่างของรุ่น 30-40 วัน

เห็ดหูหนู

เปิดถุงเห็ด โดยดึงสำลีและพลาสติกที่ทำเป็นคอขวดออก รัดปากถุงแล้วเอามีดกรีดข้างถุงเป็นแนวเฉียง 4 แนว ๆ ละ 3 บั้ง นำไปวางบนชั้นแขวน รดน้ำรักษาความชื้น 80-90% ประมาณ 10-15 วัน เก็บเห็ดได้ ระยะห่างของรุ่น 15-20 วัน

เห็ดหอม

กรีดถุงเห็ดให้เหลือเฉพาะส่วนก้นถุง 1-2 นิ้ว รดน้ำรักษาความชื้น 70-80% ประมาณ 7-10 วัน จะเก็บผลผลิตรุ่นแรกได้ ระยะห่างของรุ่น 15-20 วัน

ตลาดจำหน่าย ตลาดสด ขายส่งให้พ่อค้าแม่ค้า ซุปเปอร์มาเก็ต โรงงานแช่แข็ง โรงงานบรรจุกระป๋อง

ข้อแนะนำ

1. เงินลงทุนอาจมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ ปริมาณก้อนเชื้อเห็ดและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

2. การเลือกก้อนเชื้อเห็ด ควรเลือกที่มีเส้นใยเต็มถุง ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อรา และเป็นก้อนเชื้อที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป

3. การรดน้ำเห็ดทุกชนิดที่อยู่ในถุงเชื้อเห็ด ควรรดน้ำเหนือถุง อย่ารดน้ำเข้าปากถุงเพราะน้ำจะขังอยู่ในถุง ทำให้เชื้อเสียเร็ว

4. โดยปกติ ก้อนเชื้อเห็ดจะหมดอายุการเก็บผลผลิตเมื่อครบ 3 เดือน

สอบถามเพิ่มเติม อภิรดี 086-080-1234 (จำหน่ายอุปกรณ์เพาะเห็ด)




แนะนำผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ดอกเห็ดสวยงาม คอขวดพลาสติก เหมาะสำหรับการเพาะเห็ดทุกชนิด ในการลำเลียงเลี้ยงเห็ดให้เจริญงอกงาม ติดสอบถามรายละเอียดได้ที่ สุภัสสร 089-482-0415 เป็นโรงงานผลิตเอง ราคาย่อมเยาว์ คอขวดพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว สูง 1 นิ้ว (มีทั้งจุกและคอขวด) การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก มีวิธีทำที่ง่ายและสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูง อีกทั้งยังเป็นที่นิยมนำไปประกอบอาหารรับประทานกันมากขึ้น เพราะให้ประโยชน์ต่อร่างกายและการเพาะเห็ด 1 ครั้ง สามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 4 เดือน สำหรับเห็ดที่นิยมเพาะในถุงพลาสติก ได้แก่ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เป็นต้น ขั้นตอนการเตรียมถุงก้อนเชื้อเห็ด วัตถุดิบ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำละเอียด ปูนขาวหรือยิบซั่ม ดีเกลือและน้ำ วิธีทำ นำขี้เลื่อยแห้ง เลือกเศษไม้ออกให้หมดมาผสมกับรำละเอียด ปูนขาวหรือยิบซั่มคลุกเคล้าให้เข้ากัน ละลายดีเกลือในน้ำ รดลงไปบนอาหารที่ผสมแล้ว อย่าให้แห้งหรือแฉะจนเกินไป ทำแล้วต้องเป็นก้อน กรอกส่วนผสมทั้งหมดลงในถุงร้อนที่ใช้ในการเพาะเห็ดโดยเฉพาะ ถุงหนึ่งประมาณ 1 กิโลกรัม อัดให้แน่นรัด คอขวดใส่สำลีรัดด้วยกระดาษ นำไปนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อในถังนึ่ง 2-3 ชั่วโมง จากนั้นเอาออกจากถังแล้วนำไปใส่เชื้อเห็ด ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 20-45 วัน เห็ดจะเดินเต็มถุงที่เพาะไว้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สุภัสสร 089-482-0415 ,


หารเลี้ยงปลาดุก ในบ่อดินตอนอวสทน-นึกออกจะมาเขียนๆไว้

จอง

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อดินต นที่9-วัสดุอุปกรณ์ ยา ที่ควรมีติดไว้ประจำบ้าน

จอง

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อดินตอนที่8-อาหารปลาดุก ทดแทนอาหารเม็ด

จอง

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อดินตอนที่7-โรคและวิธีรักษา

จอง

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อดินตอนที่6-การดูแลปลาดชีวงหน้าหนาว

จ อง

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อดินตอนที่5-การให้อาหารปลางสองเดือนขึ้นไป

จอง

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อดินตอนที่4-อาการปลาหลังหนึ่งเดือน

ช่วงต่อจากนี้ไปละ
จะเป็นการพิสูจน์ว่า ใครจะได้กำไร ขาดทุน

ปัจจัยคือ  อาหาร

หาสิ่งที่ไกล้ตัวที่สุด
ขี้ทุกขี้....ใช้ได้หมด ควบคุมให้ดีในเรื่องปริมาณ เพราะมีผลต่อคุณภาพน้ำโคยตรง

เพราะขี้ทุกขี้จะมี ไนโตรเจนสูง ซึ่งจะไปบำรุงพืชน้ำ ตรงๆ อาจทำให้น้ำเขียวปั๊ด เพราะแพลงตอน เกิดเยอะเกินไป

กลางคืืนออกซิเจนในน้ำจะไม่พอให้ปลา หายใจ

อีกวิธีหนึ่งคือ เอามากองขอบๆบ่อ ให้เปียกน้ำนิดเดียว แต่รอบๆ แล้วรดน้ำให้เปียก
แมลงวันจะมาวางใข่ เราจะได้หนอนไปเลี้ยงปลา แบบนี้หนอนจะทำหน้าที่สกัดโปรตีนแทนเรา

สามารถตึ้งวงบ่อ ไว้รอบๆสระได้เลย เอาขี้ใส่ เอาน้ำใส่พอเปียกๆ เดี๋ยวก็ได้หนอน ตับอย่างใหญ่

เอาต้นกล้วย สับๆๆๆ เอารำอ่อนๆโรยๆ น้ำหมักราดนิด  เดี๋ยวก็ได้อาหารปลา

เน้นการสร้างโปรตินสูงนิด แต่ต้องมีกากใยนะ ปลาช่วงนี้ยังต้องการโปรตีนสูง

มีกล้วยน้ำว้าก็แขวนๆไว้ เดี๋ยวปลามาตอดกินเอง

เรื่องอาหารถ้าอาหารเม็ด มันจะไม่ค่อยมีกำไร
ต้องหา ต้องปลลุก ต้องเตรียมถ้าคิดจะเลี้ยงปลาดุก

มะเดื่อชุมพร ยังเอามาหมักได้เลย
เลี้ยงๆไป ทุกระยะ สิบห้าวัน ดูระดับน้ำ ควรจะเกินแปดสิบเซน แล้วนะ

ถ้าสังเกตุ ว่าน้ำมีสารแขวนลอยมากนัก ระวัง เพราะแสงแดดจะส่องไม่ถึงก้นบ่อในเวลากลางวัน

อาจหมายถึงเวลาที่ต้องดูดน้ำออกสักครึ่งนึง แล้วเติมน้ำใหม่

 เรื่องปูนขาวก็ต้องละลายน้ำสาดทั่วๆบ่อทุกสิบบห้าวัน แต่ไม่ต้องเยอะ เพื่อประคองphไม่ใ้เปลี่ยนไปเยอะ

ไฟฉายครับ ช่วงนนี้
กลางคืน สามี่ทุ่ม ลองส่องๆดู ปลามันลอยหัวตั้ง หรือเปล่า
ถ้าลอย ขาดออกซิเจนครับ
เปลี่ยนน้ำ หรือ ตีน้ำ เพื่อเติมออกซิเจน ง่ายๆ ไดโว่ เปิดพ่นน้ำ ให้สูงที่สุด

ไปขี้ก่อน 5555




อาชายาดอง

อาชายาดอง

เห็ดกระถินพิมานรักษามะเร็ง

พ่นควันไล่ผึ้ง

รักษาเก๊าท์

โกฏจุฬาลัมพาแห้ง

ยาดองล้มช้าง

ยาดองล้มช้าง