วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561

อาการพืชขาด เหล็ก แมงกานิส สังกะสี ทองแดง

อาการพืชขาด เหล็ก แมงกานิส สังกะสี ทองแดง

 Zn, Mn, Fe, Cu และ B

.
จะแสดงอาการที่ใบอ่อน
จะมีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ
.
อาการขาดสังกะสี
ใบจะเล็กและแข็งกระด้าง
.
พึงระลึกไว้สเมอว่า ถ้า ค่าพีเอชต่ำ
เหล็ก แมงกานิส สังกะสี ทองแดง ละลายมาก
จนอาจจะเป็นพิษกับพืช
.
พื้นที่ที่น่าจะขาดคือสวนที่ใช้ปุ๋ย 8-24-24 เป็นประจำ
เพราะค่า ฟอสฟอรัส มันสูงมาก มันตกตะกอน
.........
สังกะสี
  • เป็นธาตที่ขาดมากที่สุด ในสวนผลไม้ เพราะในดินไม่ได้มีธาตุชนิดนี้มากนัก
  • มีความจำเป็นต่อการขยายขนาดและการยึดตัวของพืช ถ้าไม่มีใบจึงเล็กและข้อจะชิดๆ
  • มีบทบาทต่อการสร้างคลอโรฟิลล์และออร์โมน
  • ไม่เคลื่อนที่ในพืช ถ้าขาดจะแสดงที่ใบอ่อนก่อน
  • สังกะสีละลายได้ดีในดินกรด
  • ดินที่มีฟอสฟอรัสสูง สังกะสีจะละลายได้ไม่ดี(นี่คือตัวประสำหรับสวนที่ใช้ 8-24-24) ที่การแก้ใขมันยากยิ่งกว่าเข็นภูเขาขึ้นครก เพราะ ฟอสฟอรัสมันอยู่ในดิน ใส่สังกะสีเข้าไป มันก็ไม่เป็นผล มันจึงจำเป็นต้องใช้วิธีฉีด บ่อยๆ ฉีดเยอะๆ นั่นคือทางแก้ปัญหา
อาการขาดสังกะสี ที่พอจะสังเกตุได้
  • แคระแกน ใบเล็ก ไม่ออกดอก ติดผลลดลง
  • พื้นที่ระหว่างเส้นใบ มีสีเหลือง
  • ข้อสั้นทำให้ใบรวมกันเป็นกระจุก
  • ใบหนา แข็งกระด้าง
การแก้ใข อาการขาดสังกะสี
  • ฉีดพ่นทางใบ โดยใช้ความเข้มข้นสูงกว่าฉลาก 3 เท่า ใบไหม้ช่างมันเดี๋ยวมันก็หาย
  • ใส่ทางดิน แต่จะไม่ค่อยได้ผล ในสวนที่มีฟอสฟอรัสตกค้างสูง
  • ถ้าดินเป็นด่าง ให้ลดค่าด่างลงมา แต่ทำได้ยาก กำมะถันผงมันแพง 55
อาการขาดเหล็กและแมงกานิส
  • มีสีแหลืองระหว่างเส้นใบ
  • ขนาดใบปกติ
  • บางครั้งแยกไม่ออก อาการจะคล้ายกัน
  • ต้องใช้ค่าวิเคราะห์พืชช่วย
แมงกานิส
  • เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของเอ็มไซด์
  • มีบทบาทในกระบวกการสร้างครอโรฟิลล์
  • ไม่เคลื่อนที่ในพิช ถ้าขาดต้องดูที่ใบอ่อนก่อน
  • เกี่ยวข้องในกระบวนการออกซิเดชั่น-รีดักชั่น
ดังนั้นถ้า พิเอชของดินลดลง แมงกานิสจะละลายออกมาได้ดีกว่าเหล็กและสังกะสีจนอาจเป็นพิษได้
ดังนั้นจึงลองดูว่า สภาพที่ดินแฉะๆ แมงกานิสจึงละลายออกมาแยะ จนเป็นพิษได้
.
จะสังเกตุว่า ข้าวจะไม่ค่อยขาดสังกะสี เพราะสภาพการปลูกมันส่งเสริมให้สังกะสีละลาย
ทีนี้มาดูการขาดแมงกานิส ใบอ่อนของพืช จะมีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ
ถ้ามันรุนแรงก็จะเกิดแห้งตายเป็นจุดหรือเป็นแถบ
..
ถ้าเกิดอาการแมงกานิสเป็นพิษ จะทำไห้ขาดเหล็ก
......
เหล็ก เป็นส่วนสำคัญในการสร้างดลอโรฟิลล์ เป็นสารสำคัญในกระบวกการถ่ายทอดอิเล็กตรอนของพืช

อาการขาดธาตุเหล็ก
  • จะพบในดินที่เป็นด่าง
  • ในดินที่มีฟอสฟอรัสสูง
  • ใบอ่อนมีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ แต่เส้นใบยังเขียวอยู่
  • ถ้าขาดรุนแรง ใบจะมีสีเหลืองซีดทั้งใบ ดูต้นยูคาเป็นตัวอย่าง ตายเรียบ
....................
ทองแดง (Cu)


  • สร้างคลอโรฟิลล์ การสังเคราะห์แสง และการหายใจของพิช
  • การทำงานของเอมไซด์ที่เกี่ยวของกับการสังเคราะห์ลิกนิน ซึ่งเพิ่มความแข็งแรงของพืช
  • เสริมสร้างการสร้างเมล็ดของพืช ถ้าขาดทองแดงเมล็ดจะลีบ  ดินพรุ จึงปลูกอะไร ไม่มีเมล็ด เพราะมันขาดทองแดง


@ลิกนิน คือองค์ประกอบของเนื้อไม้ คือทำไห้แข็ง

อาการขาดทองแดง
  • ปรากฏที่ใบอ่อนก่อน
  • ใบอ่อนมีสีเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ใบแห้งโดยเริ่มจากปลายใบ ทำให้ใบบิดงอ
  • พืชที่ขาดทองแดง ใบจะเหี่ยวง่าย
  • ถ้ารุนแรง จะแห้งตายจากยอดลงมา
............
การจะบอกว่า พืช ขาดหรือไม่่ขาด จุลธาตุ ต้องดูที่ ใบ อย่างเดียว
ไม่สามารถดูที่ดินได้ เพราะว่า เราไม่รู้ว่าในดิน มีธาตุอะไรมาก หรือน้อยเท่าไร
ถ้าตัวใดตัวนึงมีมาก มันจะไปกด อีกตัวให้น้อยลง จึงต้องวิเคราะห์จาก ใบเท่านั้น
.......
การจัดการ เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสีคือ
  • ปรับค่าพีเอช ของดิขให้เหมาะสม
  • ลดการใช้ฟอสฟอรัส (ลดปุ๋ยสูตร8-24-24)เพราะมันจะไปกด ธาตุอื่นลง
  • ฉีดพ่นทางใบช้วย เมื่อตอนใบยังไม่แก่ ในปริมาณที่เข้มข้นกว่าฉลาก และฉีดบ่อย
สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นได้
  • สังกะสี...สังกะสีซัลเฟต
  • แมงกานิส...แมงกานิสซัลเฟต
  • เหล็ก...ควรอยู่ในรูปของคีเลต
  • ทองแดง...ทองแดงซัลเฟต
..
โรอน (B)
  • จำเป็นสำหรับส่วนที่กำลังเรจิญเติบโต เช่นการแตกใบอ่อน รากและผล
  • เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์
  • จำเป็นต่อการผสมเกษรเกี่ยวข้องกับการทำงานของ ฮอร์โมน
โบร่อน
โบร้อน ไม่เครื่อนที่ในพืช
ผลและดอกมักจะขาดโบร่อนมากกว่าใบ
ช่วงห่างระหว่างขาด กับเป็นพิษ จะแคบ
การฉีดพ่น ได้ผลดีมากกว่า ควรฉีดพ่นทุกปี เพราะมันไม่ตกค้าง มันเป็นประจุ ลบ ฝนตกมามันก็หายไป
.
สิ่งที่ควรจำ พืชที่มีน้ำมัน มียาง ต้องการโบร่อนสูง

ทำไม มะพร้าวต้องใส่เกลือ

มะพร้าว เป็นพืชชนืดเดียวที่ต้องการ คลอลีนในปริมาณที่สูงมมาก
.
ถ้าขาดคลอลีน จะทำไห้เนื้อมะพร้าวบาง
เวลาไปทำมะพร้าวแห้ง เนื้อมันจะฟรุ๊บ
แล้วมันจะเน่า เป็นรา มันจะไม่เป็นถ้วย
.
นั่นคือมะพร้วนถึงปลูกได้ดีที่ริมทะเล

วัสดุรองก้นหลุมสำเร็จรูป

วัสดุรองก้นหลุมสำเร็จรูป
..........เขาบอกว่าให้ใส่ปุ๋คอก ที่หมักค้างปี...จะไปหาตรงไหนว่่ะ แล้วเเชื่อได้ไงว่ามันค้างปี เสี่ยงเกิดโรค มีใข่ของหนอนติดมี เมล็ดหญ้าติดมา เชื้อรามากมาย
...........เขาบอกว่าใส่ปูนเท่านั้น เท่านี้ เฮ้อ...ใครมันจะมานั่งชั่งนั่งแบ่ง แบกไปแต่ละที่ หนัก ชิป....
...........ต้องใส่ โน่น นี่ นั่น อีกสารพัด แล้วมันถูกต้องหรือเปล่าก็ไม่รู้ ไอ้เขาที่ว่า ก็ไปจำๆกันมาทั้งนั้น
.แค่วิ่งไปซื้อมาก็หอบแดก ยังต้องมานั่งเคล้า ให้เข้ากันอีก..กุเลิกทำสวนละ
.
.
จบทุกปัญหาด้วยวัสดุรองก้นหลุมสำเร็จรูป
.
  • ประกอบไปด้วย สารอินทรีย์ ทีใช้แทนปุ๋ยคอก หมดปัญหาเรื่อง เชื้อรา หนอน แล้วความร้อนที่อาจเกิดจากการย่อยสลาย ของปุ๋ยคอก 
  • ช่วยในการปรับสภาพดิน และ ดูดซับ ธาตุอาหารได้ทั้ง ประจุบวกและ ลบ
  • มีแคลเซียม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการเจริญเติบโตที่แข็งแรง 
  • เวลาออกผลช่วยให้เนื้อแน่น ผลไม่บิดเบี้ยว 
  • ช่วยแก้ปัญหาก้นเน่า ผิว ผลไม่แตก 
  • ยึดอายุการเก็บผลผลิต ไม่เน่าเสียง่าย
  • มีแม๊กนี้เซียม
  • ช่วยในการปรับพีเอช ในดิน
  • ช่วยให้ดินร่วยซุย 




วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561

อาการที่ต้นไม้ขาดแคลเซียมและแนวทางการแก้ใข

 จากกฏที่ว่า แคลเซี่ยม เคลื่อนที่เองไม่ได้ในพืช ต้องไปกับน้ำไปกับ ท่อส่งน้ำของพืช(ไม่ใช่ท่ออาหาร)
.
แคลเซียมคือเป็นตัวควบคุมคุณภาพ ผลผลิตเก็บได้ทน เก็บได้นาน ยืดอายุการเก็บรักษา ไม่เน่าเสีย เนื้อไม่เละ
.
อาการที่ต้นไม้ขาดแคลเซียม
  • ดินเป็นกรด ดินเนื้อหยาบเช่นทรายมันไม่เก็บธาตุอาหาร
  • อากาศร้อน ลมแรง ทำให้พืชคายน้ำไม่ทัน
  • ใส่ปุ๋ย โพแทสเซียมมากเกินไป ฃใบอ่อนบิดเบี้ยว ม้วนงอ
  • ใบไม่สามารถคลี่ได้เต็มที่
  • แห้งตามขอบใบ
  • คุณภาพผลไม่ดี
  • ก้นเน่า ในผลไม้
  • ผลแตก ผลบิดเบี้ยว

  1. การตรวจวิเคราะห์จากดินไม่สามรถบอกได้ว่าพอหรือไม่ บอกได้แต่เพียงว่า ในดินมีแคลเซียมมากหรือน้อยเท่านั้น
  2. การวิเคราะห์จากพืช ก็บอกได้แต่เพียงว่า ใบมีแคลเซียม พอหรือไม่ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า ผมมีแคลเซียมพอหรือไม่
  3. ฉนั้นการดูจากใบว่าขาดแคลเซี่ยมหรือไม่จึงเป็นเรื่องที่ยากมาก

แนวทางในการแก้ปัญหาการขาดแคลเซียม
  • การให้แคลเซี่ยมอย่างเพียงพอ ทางดินจะประหยัดที่สุด
  • กระตุ้นให้พืชเกิดการคายน้ำมากที่สุด เพราะแคลเซี่ยมเคลื่อนที่เองไม่ได้ในพืช มันจึงไปสุดทางตรงที่พืชคายน้ำคือปากใบและผลจึงต้องเปิดพื้นที่ให้แสงแดดส่องถึงให้มากที่สุด
  • อยา่ให้พืชขาดน้ำ โดยเฉพาะช่วงผลเล็กๆเพราะอยู่ในช่วงของการพัฒนาการ
  • ดินเป็รกรด ให้ปรับ PH ก่อน
  • ใส่ยิปซั่ม (CASO4) เพื่อเติมแคลเซี่ยมโดยตรง ซึ่งยิปซั่มจะซึมลงดินได้ดีกว่าปูนเพราะยิปซั่มเป็นแคลเซี่ยมซัลเฟต จะได้ซัลเฟอร์ ซึ่งเป็นกำมะถัน ช่วยให้ดินฟู ในดินเค็มมันแน่นทึบ ต้องใส่ยิปวั่มเพื่อไล่โซเดี้ยม
  • ฉีดพ่นแคลเซี่ยมโดยตรง  ซึ่งต้องใช้แคลเซี่ยมครอไรด์(CaCl2)เกรดอาหาร ที่เขาเอามาแช่มะม่วงดองให้มันกรอบ ต้องใช้ที่ความเข้มข้นสูงถึง 4%  ฉีด ทุกอาทิตย์ 5-6 ครั้ง(ย้ำต้องเกรดอาหารเท่านั้น เกรดปุ๋ยไม่ได้เด็ดขาด)แต่ทางที่ดีคือใส่ทางดิน เท่านั้น ดีที่สุด





หลักการพิจารณา การใช้ปูน ปรับสภาพดิน ก็มีประมาณนี้














คุยกันเรื่องปูน ที่ใช้ปรับสภาพดิน
1.ปูนขาว ใช้ในการปรับสภาพพีเอชดินก่อนปลูก ตามจำนวนที่วัดค่าพีเอชที่ระดับ 50 ซมได้ ไถเลย ไถให้ลึดที่สุด เอาปูนขาวหว่านให้ทั่ว ไร่ละ 500 โล ก็น่าจะยังได้ ถ้าไถลึก 50 ซม ป่นเคล้ากันให้ทั่ว นี่คือ สิ่งที่ดีที่สุด...คือยังไม่มีพืชอะไร เพราะปูนขาวมันร้อน ยิ่งละเอียดยิ่งดี ใช้เพื่อการปรับ พีเอช อย่างเดียว ปรับได้ไวที่สุดแล้ว
.
2.ปูนมาร์ล....เปอร์เซนต์ปูน จะน้อย ปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป ในสวนผลไม้ ยืนต้น ที่โตแล้ว ต้องใช้ตัวนี้ เท่านั้น ปลอดภัยที่สุด..ทั้งต้นไม้ และใส้เดือน ถือว่าดีที่สุด ปลอดภัยต่อต้นไม้
.
3.ปูนโดโลไมท์...การใช้ปูนโดโลไมท์ มันจะมีแคลเซียม และแมกนิเซียม....ฉนั้นการใช้ในสวน ต้องคำนึงถึงว่า ต้องรู้ อย่างชัดเจนว่า ในสวนนั้นๆ ในดินขาดแมกนีเซียม อย่างแท้จริง....เพราะประเด็นมันอยู่ตรงที่ ถ้าแมกนีเซียมในดินตรงนั้น มันมีมากเกินไป มันจะไปตกตะกอน ธาตุโพรแทสเซี่ยม ทำให้ดูดโพรแทสเซียมไม่ได้........................การใช้ธาตุใดธาตุนึง ย่อมส่งผลกระทบ กับธาตุตัวอื่นๆ แน่นอนพึงระมังให้มาก
.
4.แร่ยิปซั่ม.....ถ้าพิสูจน์แล้ว สังเกตุแล้ว ว่า ดินขาดแคลเซียมแน่นอน แต่วัด PH ได้ 5.5-6.5 ที่ความลึก 20.-50 ซมแล้ว....การจะใช้โดโลไมท์ เพื่อหวังเพิ่มแคลเซี่ยม จึงไม่มีทางเป็นไปได้..เพราะจะทำให้ ค่าพีเอช สูงเกินไปมากและธาตุแมกนิเซียม ก็จะสูงเกินที่พืชจะใช้ได้............สิ่งเดียวที่จะทำได้คือ ต้องเติมแร่ยิปซั่ม ลงไปเท่านั้น ไม่มีทางที่จะเติมตัวอื่นลงไปในดินได้
...............................
หลักการพิจารณา การใช้ปูน ปรับสภาพดิน ก็มีประมาณนี้
.
ส่วนการจะดูว่าขาดแคลเซียมยังไง ว่างๆ จะมามั่วไห้ฟังกันแบบชาวบ้านต่อไป
บางทีพิมพ์ มันก็ยากกว่าพูด ไม่รู้จะอธิบายยังไง ให้มันเห็นภาพ
แต่มันเกิดจากการ ทดลองของเราเองนี่ละ...แบบนักวิชาเกิน 555

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

คุยกันเรื่องค่า PH มีผลต่อปุ๋ย ต่อพืช อย่างไร

















ทำไม ถึงถือว่าค่า 5.5-6.5(ที่ความลึก 20-50ซม) ดีที่สุด
(ค่าหน้าดินที่ควรวัดได้ คือ 6.5-7.5 เหมือนทุกครั้งที่วัดให้ดู คือการชดเชยเรื่องความลึกของดิน)
.
เพราะการลงภาคสนามจริงๆ ชาวสวนจริงๆ ไม่เคยได้แบกจอบไปแล้วขุดลึก 30-50 ซม แล้ววัดหรอก
80-90% จิ้มวัดที่หน้าดินทั้งนั้น นั่นคือสภาพความเป็นจริง จึงต้องมีการ ชดเชยค่าที่ได้ไว้ -1 เสมอ
............
เรายึดค่า ที่ P เป็นหลัก ที่5.5-6.5 รี่คือค่าที่ ฟอสฟอรัส ละลายดีที่สุด เป็นประโยชน์มากที่สุดเป็นเกณฑ์
.
ถ้าดินมีค่า PH ต่ำ(4-3-2-1) มันจะทำปฏิกิริยากับเหล็กและอลูมินั่ม ทันที อลูมินั่มไม่เป็นประโยชน์ มันจะตกตะกอน ฟอสฟอรัส ทำให้ฟอสฟอรัสไม่เป็นประโยชน์กับพืช มันเป็นพิษ 
.
ถ้าค่า PH สูง (8-9)
เราลองไปดูสวนที่ใช้ โดโลไมท์ เป็นปริมาณมาก เพราะคิดว่า มันมีแคลเซียมกับ แมกนีเซียมเยอะ อันนี้คือความเข้าใจผิด มันจะส่งผลร้ายกับผลผลิตที่ได้ เพราะ มันจะตกตะกอน ฟอสฟอรัส ทำให้ฟอสฟอรัสไม่เป็นประโยชน์กับพืช  .......(แม้ว่าบางครั้งจะวัด PHได้ 6.5 เหมือนกันก็ตาม)
.
ที่นี้พอเราใช้ เคื่องวัด ค่าFertility ที่อ่านได้ มันเลยสูง ใสสวนที่ให้เคมี เพราะเครื่องวัด มันไม่สามารถแยกได้ว่า ค่าที่อ่านได้นั้น มันคือสารอาหารตัวไหน กรดเกลือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ที่ตกค้าง หรือ อื่นๆ
.
ที่นี้เมื่อแมกนีเซียม มันเยอะ..ห้ามใช้โดโลไมท์ ให้ใช้ปูนมาร์ลแทน เพราะแมกนีเซียมเยอะ ทำให้ดูดโพรแทสเซียมไม่ได้ 
.
จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของสวน ต้องรู้ดีว่าเราใส่ อะไรเข้าไป ในปริมาณที่มากหรือเปล่า สวนใครสวนมัน
.
8-24-24 โจากสูตร ปุ๋ย เราจะเห็นว่า ชาวสวนชอบเอาไปใส่มาก เพราะคาดหวังว่า P  จะช่วยให้ติดดอก เยอะ ติดผลเยอะ แต่ยิ่งใส่ มันยิ่งได้น้อยลง เพราะ ความไม่เข้าใจ เรื่องปุ๋ย
.
ในดินสวน ที่ใส่ปุ๋ยสูตรนี้กันมาหลายสิบปี ฟอสฟอรัส มันมี ตกค้าง จนมากมายเกินความจำเป็น..จนส่งผลไปถึงการขาดธาตุอาหารชนิดอื่นๆ...ลองนึกถึง ตาชั่งที่มันเอียงไปเพราะขาดสมดุลย์ ทันเลยกลายเป็นผลเสียไป
.
ประเด็น ของบทความนี้คือ
PH หน้าดิน 7 โดยประมาณ หรือที่ความลึก 20-50 ซม ต้อง5.5-6.5 คือดีที่สุดสำหรับพืช

ค่าอาหารที่วัดได้ แค่ละสวน จะมีความแตกต่างกัน เพราะ การใส่การดูแล ไม่เหมือนกัน ระวังเรื่อง ปุ๋ยที่มีค่า ตัวกลางสูงๆ เพราะความจริงพวกนี้ตกค้างในดินมากมาย ที่ไม่ได้นำเอามาใช้ และเรื่องการใช้โดโลไมท์ ที่มากและต่อเนื่อง อยู่ตลอดเวลา ค่าแมกนีเซียม จะตกค้างเยอะ จนเป็นโทษ

อินทรีย์วัตถุฟรีมีในโลก0809898770



อินทรีย์วัตถุนี่ละสำคัญ ไม่ว่าคุณจะใช้เคมีหรือไม่ใช้
ธาตุที่เป็นประจุลบ อย่างพวก ไนเตรท ซัลเฟท ครอไรด์ โบร่อน เป็นประจุลบ เครื่อนที่ได้ จึงมีโอกาศสูญเสียเยอะ
 ธาตุที่เป็น เป็นประจุบวก ใส่่ลงไปปุ๋บ กลายเป็นประจุลบ เพราะจุลินทรีย์ธาตุที่เป็นประจุบวกจะถูกธาตุที่เป็ประจุลบดึงไว้ ทำไห้หายไปยากกว่าธาตุที่เป็นประจุลบ

.
แต่อินทรย์วัตุ สามารถ ดูดซับได้ทั้งประจุบวกและ ลบ นั่นคือคุณสมบัติที่ดีของอินทรีย์วัตถุ

.
ฉนั้น ทำไว้ใส่สวนเยอะๆ คุณภาพของดินดี ก็ส่งผลให้ไม้โตเร็ว ผลผลิตดีวันดีคืน

เลือกซื้อพีเอชมิเตอร์ตัวไหนดี เปรียบเทียบกัน


 เนื่องจากค่าพิเอช มันสำคัญมาก ถึงมากที่สุด เพราะมันมีผลไปถึง ธาตุอาหารทั้งหมดในดิน ที่สส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช


















ก็ทดสอบมาเป็น 10 รุ่น ระบบดิจิตอล ในราคาพอๆกัน เสียง่ายกว่าอีก
ไหนจะถ่าน หมด เลย แนะนำว่า เท่าที่เห็น สามตัวนี่ละเข้าท่า ที่สุด
ค่าเท่ากันกับวัดด้วย ดินละลายน้ำ
..
การวัดค่า จริงๆ ต้องวัดที่ระดับราก ลึก 20-50 ซม เพื่อหาค่าเฉลี่ย 10 จุด ทั้งแปลง
นั่นคือระดับวิชาการ ที่เก็บตัวอย่างดิน เอามาเคล้ารวมกันแล้ววัด .. ด้วยเครื่องราคาแพงๆจากภาษีประชาชน แต่เราก็ต้องนอนรอค่าที่ได้นานหน่อย อยากเร็ว ก็ไปจ้างเขาวิเคราะห์ดิน 1200 บาท ถ้าหาธาตุเฉพาะบางตัวก็เพิ่มอีก 500 บาท ยังไม่รวมค่าเดินทางไปมา
.
ในระดับชาวสวน ก็คงต้องใช้แบบนี้ละวัดเอาเอง บวกกับประสบการณ์ทำงานจริง กับสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวัน เราเลยเหมือนจะเก่งกว่า เพราะ ทำงานได้ท่ามกลางความขาดแคลนเครื่องมือ
.
แน่นอน ว่าส่วนมากเราวัดที่หน้าดิน เพราะบางทีไม่ได้ขุดลึกลงไป เราก็ใช้วิธีการ ชดเชยความลึกของดินเอา แต่มันก็อยู่ว่า ท่านปลูกอะไร
.
ปลูกผัก รากไม่ลึก 20ซม ก็พอ อ่านค่าที่หน้าดินได้ 7 นั่นอาจจะประมาณว่า ที่ลึกลงไปในดิน คือ6.5 นั่นมันก็คือค่าที่ เหมาะสมแล้ว
.
ไม้ผลยืนต้น มะม่วง เงาะ มังคุด เราต้องชดเชย เยอะหน่อย อาจจะที่ระดับ ความลีก 50 ซม
เราอ่านค่าหน้าดินได้ 7 นั่นแสดงความ ค่าPH ของดินที่ระดับความลึก 50ซม น่าจะเหลือแค่ 6 เท่านั้น
หรือใครจะ ขยันขุดแล้ววัด ก็แล้วแต่สะดวก มันไม่ผิด...มันแล้วแต่วิธีคิด แค่หลักๆคือ ลึกจากหน้าดินลงไป ต้องชดเชยค่าที่อ่านได้สุก -1(ลดลงไป 1 จากมิเตอร์ก็น่าจะพอ เท่าที่เคยขุดวัด ความต่างมันประมาณนี้)
.
เพราะฉนั้น ถ้าค่าที่หน้าดิน อ่านได้ 5 นั่นแสดงว่า ที่ความลึก 50 ซม ลงไป ดินอาจเป็นกรด ในระดับ อันตราย ยังไง ก็ควรลงมือขุด แล้ววัดอีกรอบ เพื่อความแน่ใจ
.
จำไว้ว่า การปรับค่าพีเอช มันต้องใช้เวลานาน บางที เป็นปี กว่าจะปรับ จาก 5.5 มาเป็น 6 ได้ เพราะจุดประสงเรา ไม่ได้ปรับแค่หน้าดิน เราต้องปรับเพื่อให้เกิดการเปลี้ยนแปลงที่ระดับ ความลึก 50 ซม
.
แต่มันเป็น ต้นไม้ เราไม่สามารถ เปลี่ยนได้แบบรวดเร็ว ไม่เหมือนพืชไร่ ซึ่งเดียวเราก็ไถ พรวดลงไปได้ แต่พืชสวน มันทำไม่ได้ มันมีข้อจำกัด เรื่องระบบราก...เราจึงต้องใส่บ่อยๆ ทีละน้อย แล้วเลือกใช้ปูน ให้ถูกประเภท ในการปรับพีเอช
.
พึงระลึกไว้เสมอว่า ค่าพีเอช ในดิน..มีผลต่อธาตุอาหาร ทั้ง 13+3 ชนิดในดิน ที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโต ของพืชทุกระดับอายุ โดยเฉพาะ P หรือ ฟอสฟอรัสที่ละลายได้ดีที่สุด ตรง ที่ 5.5-6.5 เท่านั้น แล้วก็เป็นธาตุที่ ไม่เคลื่อนที่เสียด้วย จึงต้อง เอาใจใส่ธาตุนี้ มากเป็นพิเศษ นะ ออเจ้า






PH meter พีเอชมิเตอร์ 2in 1(วัดพีเอชและปุ๋ยในดิน)

เครื่องวัดค่าพีเอชและคลอลีนของน้ำ

PHmeter4in1วัดซะ-ดินความชื้นปุ๋ยแสงสว่างความสำคัญในการเติบโตของพืช























ตัวนี้จำเป็นต้องข้ามทวิป มาจากอเมริกา ถึงแม้จะผลิตในจีนก็ตาม
เรียกได้วาตัวเดียว เอาอยู่ทั้งสวน
.
เพราะวัดได้ทั้งค่าพีเอชหรือกรดด่าง ในดิน
วัดได้ทั้งค่าปุ๋ยในดิน
วัดความชื้นในดิน
วัดแสงสว่าง
เรียกว่าครบทุกปัจจัย สำหรับการปลูกพืชกันเลยที่เดียว
................
ค้าพีเอช  ในดินถ้าจะเหมารวมๆทุกพืช ควรจะวัดได้ระหว่าง 5.5-7 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
แต่ถ้าจะเจาะจงลงไปเลย ก็ต้องถามว่าคุณปลูก อะไร เพราะพืชแต่ละชนิด ชอบสภาพดินไม่เหมือนกันแต่ไกล้เคียงกันมากเท่านั้นเอง ถ้าวัดแล้วดินเป็นกรด แก้ด้วยการเติมปูนขาวลงไป ถ้าวัดแล้วดินเป็นด่าง ก็เติมซากพืชเศษหญ้าลงไปเยอะๆ เพื่อช่วยในการดูดซับด้วยระบบทางนิเวทวิทยา
.
ค่าอาหาร ค่าความสมบูรณ์ของดิน ก็เช่นกัน ถ้าวัดได้น้อย ก็เอาปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมด ซากพืช ฮิวมัส(ตัวนี้ช่วยได้เยอะ) ใส่เติมลงไปที่ทรงพุ่มของต้นไม้ ควรจะต้องวัดได้ที่ระดับกลางๆ ของเสกล..แต่ถ้าขี้นไปสุดเกย์..ให้สัญนิฐานว่า ตรงนั้นมีปัญหาเรื่องดินเค็ม สังเกตุว่าต้นไม้แถวนั้น หญ้ายังไม่ค่อยขึ้น พืชใบเหลืองๆ ไม่โต แคระแกรน หรือปลูกอะไรก็ตาย  แก้ใขด้วยการเติม อินทรีย์วัตุเยอะๆ สูบน้ำท่วมแปลง ทิ้งไว้นานๆ ทำสำคัญคือต้องแก้ด้วยการปลูกหญ้าที่มีรากลึกๆ หรือถมด้วยหญ้า ในปริมาณที่มากและพลิกดินในระดับที่ลึกมากๆ เพื่อเอาหญ้าลงใปในดินให้ลึกที่สุด
.
ความชื้นในดิน ค่าที่วัดได้ โดยรวมควรไม่ต่ำกว่า 25%...แต่จะสูงเท่าไร ต้องดูที่พืชที่ปลูก ว่าเป็นพืชชนิดใด้.....อย่างมะเขือ พริก นี่ วัดได้ที่ระดับ 1-2 ก็พอ เพราะเป็นพืชที่ไม่ชอบแฉะ กล้วย อาจจะ2-3 เพราะเป็นต้นไม้ ที่ต้องการความชื้นระดับสูง หรือพืชผัก อวบน้ำ อาจต้องวัดใด้ถึง 3-4 อะไรประมาณนี้....เพราะฉนั้น จึงไม่มีค่ามาตรฐาย ตายตัว ว่าควรจะวัดได้เท่าไร อยู่ที่ว่าคุณปลูกพืชอะไร เขาชอบแบบไหน แล้วเราจึงให้น้ำ ตามปริมาณที่เขาต้องการ...........ถ้าไว่วัน เราปลูกมาเขีอ แล้วให้น้ำระดับ 3-4 มันก็โคนเน่า ตายหมด...นั่นคือความจำเป็นว่าทำไม ต้องวัดความชื้น สำหรับการปลูกพืช
.
การวัดแสงสว่างก็เช่นกัน มันไม่มีค่าตายตัว ว่าควรวัดได้เท่าไร ปัจจัยคือ คุณปลูกอะไร เขาต้องการเท่าไร ในแต่ละวัน วันละกี่ชั่วโมง นั่นคือต้องหาข้อมูลของพืชชนิดนั้นเสียก่อน..ผลไม้บางชนิด จึงไม่ออกลูกสักที ถ้าเอาไปปลูกที่รำไร ก็ได้แต่ใบ ไม่ได้ผล นั่นเพราะปริมาณแสงส่วาง มันไม่เพียงพอนั่นเอง
.
ก็คงพอเข้าใจ ถึงความจะเป็น ในการวัดค่าต่างๆของดิน น้ำ อากาศกันบ้าง ที่นีก็ต้องเหลียวกลับมามองดินของเราแล้วว่า สาเหตุที่ต้นไม้เราไม่งาน ผลผลิตไม่ดกเหมือนคนอื่น เพราะ ดินเราขาดอะไรไป น้ำเราเป็นยังไง ให้มากไป น้อยไป ยังไง เราก็แต่ปรับปรุงไปตามที่พืชนั้นๆ ต้องการให้มันถูกต้อง เท่านั้นเอง
.
แค่รู้จักดินของเรา ทำตามรู้จักต้นไม้ของเรา เท่านั้นเอง ก็จะประสบความสำเร็จ ในการทำเกษตรกับเขาบ้างแล้ว..เอ้า..ลงมือซะ

.
.ราคา 1200 บาทรวมส่งเก็บเงินปลายทาง
แค่แจ้งชื่อที่อยู่เบอร์โทร ได้ทุกช่องทางการสื่อสาร
มาที่ โทร+ไลน์ 0809898770
เฟส..แจ่ม อารมณ์ดี

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

อ่านเถอะ ถ้ารักจะทำเกษตร(ไม่โต ไม่ใหญ่ เป็นโรคทำไง)

 · 
อ่านเถอะ ถ้ารักจะทำเกษตร
คำถามก็มีเข้ามาเกือบทุกวัน
คำตอบ มันก็วนซ้ำมาซ้ำไปเช่นเดิม
.
กล้วยไม่โต กล้วยไม่ใหญ่ ..ทำไง
กล้วยเป็นโรค..แก้ยังไง
.
แต่ก็ไม่มีข้อมูลประกอบคำถาม พอถามกลับไปก็ไม่รู้อะไรสักอย่าง
.
กล้วยปลูกมา 5-6เดือนยังไม่โตไปไหน มันต้องดูแค่ 3 อย่าง
.
พิเอชก่อน...อินทรีย์วัตถุ..และความชื้นในดิน..ปัจจัยมันมีแค่ 3 ตัวเท่านี้
.
กล้วยและพืชทุกชนิด จะเจริญเติบโตได้ดี พีเอช ต้องอยู๋ระหว่าง 5.5-7.ไม่มีหลุดไปจากนี้ แต่ถ้าจะให้ระบุต้องไปดูว่าเป็นพืช อะไร แต่ค่านี้ รากพืชสามารถดูดซับ สารอาหารในดินส่งไปยังลำต้น ดอก ใบได้ อันนี้ภาาชาวบ้านที่พอเข้าใจได้
.
ถ้าค่าพีเอชที่วัดได้ ต่ำมากกว่านี้ นั่นแสดงว่าดินเป็นกรด รากพืชเอง ก็ไม่สามารถที่จะดูดซับสารอาหารได้ แม้ว่าจะใส่ปุ๋ยเข้าไป มันก็ไม่มีประโยชน์ เพราะสภาพมันไม่เหมาะสม
.
ในทางตรงกันข้าม ดินเป็นกรด กลับปลดปล่อยธาตุโลหะบางชนิดออกมา ถ้ามีปริมาณมาก กลับทำให้พืช ใบเหลือง และตายได้
.
นี่คือสาเหตุที่ดินเป็นกรดพืชไม่โต ใบเหลือง
และ. ในสภาพที่ดินเป็นกรด นั่นคือสภาพที่เหมาะสมที่สุดที่เชื้อรา เชื้อแบตทีเรีย สามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุด..นั่นคือที่มาของโรคพืชต่างๆ มากมาย ไปซื้อยามาฉีด ก็แก้ไปอาทิตย์เดียวก็กลับมาเป็นใหม่ เพราะเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ส่วนต้นเหตุคือดินเป็นกรด ยังไม่ได้รับการแก้ใข นั่นเอง
.
อย่างที่สองคือ อินทรีย์วัตถุในดินหรือความอุดมสมบูรณ์ของดิน หรืออาหารในดิน..ที่จะต้องวัด คนเรากินน้ำเปล่าแล้วโตเองไดเ้หรือไม่..พืชก็เช่นกัน เอาแต่รดน้ำ แต่ไม่มีอาหารให้ ยังไงมันก็ไม่โต..พืชกินอาหารผ่านทางรากที่อยู่ในดิน
.
ฉนั้น ในดินต้องมีอาหารสำหรับพืชอย่างเพียงพอตลอดระยะเวลาของการดำรงชีวิตอยู่ของพิช..นั่นคือในดินต้องมีอินทรีย์วัตถุ มีฮิวมัสมีอาหาร ที่มากพอสำหรับพืช...นั่นคือค่าที่สองที่เราต้องวัด ต้องดูแล ในเรื่องของดินที่เราทำการเพาะปลูกพืชทุกชนิด
.
ดินมีปริมาณสารอาหารเพียงพอ เหมาะสม
ค่าสารอาหารในดินโดยเฉลี่ย
ค่าไนโตรเจน (N) 50 - 200 ppm
ค่าฟอสฟอรัส (P) 4 - 14 ppm
ค่าโพแทสเซียม (K) 50 - 200 ppm
รวมถึงธาตอาหารรองและจุลธาตุที่หาได้จากฮิวมัส- อมิโน-และอินทรีย์วัตถุต่างๆ
.
อย่างที่3 คือน้ำ หรือความชื้นในดิน เพราะน้ำคือสื่อ
.
สื่อที่จะเป็นตัวนำพา อาหารต่างๆ ที่รากหาได้เพื่อลำเลียงไปยัง ลำต้น ใบ ดอกและผล ไม่มีน้ำ (ความชื้น)ก็ไม่มีชีวิต
.
ใส่อาหารเข้าไป แต่ไม่ใส่น้ำ ไม่มีน้ำก็ไร้ค่า สูญเปล่า
.
ฉนั้น ความชื้นในดิน ต้องมีอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้กระบวนการส่งอาหาร ขึ้นไปสังเคราะห์แสงเป็นไปอย่างสมบูรณ์...นั่นคือสิ่งที่จะต้องวัด เป็นลำดับที่ 3 สำหรับการปลูกพืช
.
แสงสว่าง คือ ลำดับที่ 4 สำหรับการปลูกพืช โดยเฉพาะ การปลูกแบบผสมผสาน ทำไม่ปลูกมาตั้งนาน ไม่ออกลูก ออกผลสักที
.
คำถามนี้ ต้องดูด้วยว่า มันอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่หรือปล่าว
ปริมาณแสงต่อวันได้รับ อย่างเพียงพอหรือไม่ ถ้าคือว่า ดินดี อาหารพร้อม น้ำเพียบ...ก็อย่ที่ปริมาณแสงต่อวันแล้ว ต้องกลับไปหาข้อมูลว่า พืชหรือต้นไม่้นั้นๆ ต้องการแสงขนาดไหน เท่าไร ต่อวัน ถ้ามันได้น้อยกว่าที่ต้องการ มันก็คงไม่ติดดอก ออกผล ก็จะได้แต่ใบของพืชนั้นๆ แทน
.
ส่วนเรื่องโรค ถ้าพืชแข็งแรงเพราะเราดูแลดี เขาจะมีภูมิคุ้นกันในระดับหนึ่ง แต่ก็ให้เน้นไปที่การป้องกัน ซึ่งถือว่า ราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับการซื้อยามานั่งรักษา
.
คุมเชื้อราให้อยู่(ไตรโคเดอมา่)ฆ่าใข่ฆ่าหนอนในดิน(บิวเวอร์เรียและเมทาไรเซี่ยม) ยังมีพวก BT อีก ก็หามาใส่ๆ ฉีดพ่น ในสวนเป็นประจำ อย่าให้ขาด เรียกว่าทำต่าวรางกันล่วงหน่าไว้เลย
.
ถ้าทำได้ครบขนาดนี้ (เรื่องมันง่ายๆนะ) ยังไงมันก็โต เพราะมันครอบคลุม ปัจจัยทั้งหมดแล้ว
.
โปรแทสเซื่ยมฮิวเมส..ตือตัวปลดปล่อยธาตอาหารในดิน ตรงนี้คือเหตุผลหลักในการนำมาใช้กัีบพืชผล ทุกชนิด แต่ยังมีคุณสมบัติอีกนับร้อย ที่สำคุณทางการเกษตร

...............................





วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

ฮิวมัส (humus) คือ (สั้นๆ เอามันมาใช้ปรับปรุงดินนั้ละ)

ฮิวมัส (humus) คือ อินทรียวัตถุที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนโดยสลายตัวปะปนอยู่ในดินทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เกิดจากการย่อยสลายของซากพืช ซากสัตว์ โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ซึ่งสังเคราะห์ได้สารประกอบอินทรีย์จำพวก กรดอะมิโน โปรตีน และอโรมาติก และจะเกิดการรวมตัวของสารประกอบอินทรีย์หลังจากที่จุลินทรีย์ตายลงและทับถมกันเป็นเวลานานกลายเป็นฮิวมัสในดิน
 
เนื้อหา  
1 ส่วนประกอบของฮิวมัส
1.1 ส่วนที่ไม่เป็นสารฮิวมิก
1.2 ส่วนที่เป็นสารฮิวมิก
2 องค์ประกอบทางเคมีและหมู่ฟังก์ชันนัลในสารฮิวมิก
3 ลักษณะที่สำคัญ
4 โครงสร้างโมเลกุลของสารฮิวมิก
5 สารเชิงซ้อนระหว่างโลหะหนัก-ฮิวมัส
6 อ้างอิง

ส่วนประกอบของฮิวมัส
ประกอบด้วยสารผลิตภัณฑ์ (Products) หลายประเภทโดยขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรียวัตถุต้นกำเนิดตามธรรมชาติ เกิดจากการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิตในดิน รวมทั้งการแปรสภาพของสารผลิตภัณฑ์และการสังเคราะห์สารขึ้นมาใหม่ ซึ่งสามารถแบ่งสารอินทรีย์ต่างๆออกเป็นสองส่วน คือ
ส่วนที่ไม่เป็นสารฮิวมิก
ประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไป เช่น สารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน ลิพิด ลิกนิน แทนนิน และกรดอินทรีย์ต่างๆ เป็นต้น ลักษณะที่สำคัญของสารอินทรีย์เหล่านี้ คือ
มีมวลโมเลกุลค่อนข้างต่ำ
มีโครงสร้างโมเลกุลไม่สลับซับซ้อน
ง่ายต่อการย่อยสลาย
เป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในดิน
ส่วนที่เป็นสารฮิวมิก
เกิดจากการแปรสภาพของสารอินทรีย์และสังเคราะห์รวมตัวขึ้นมาใหม่ของสารที่ไม่ใช่ฮิวมิก ประกอบด้วยกลุ่มของสารอินทรีย์ประเภทที่มีลักษณะดังนี้
มีมวลโมเลกุลค่อนข้างสูง
โครงสร้างโมเลกุลมีรูปร่างทีไม่แน่นอน
แสดงสมบัติเป็นสารคอลลอยด์
คงทนต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ดิน
สารฮิวมิกละลายน้ำได้น้อยมาก แต่สามารถละลายได้ในสารละลายที่เป็นกรดและด่างในบางส่วนของสารฮิวมิก สารฮิวมิกสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนใหญ่ๆ คือ
กรดฮิวมิก (humic acid) : ส่วนที่ละลายได้ในด่าง แล้วตกตะกอนเป็นกรดฮิวมิกเมื่อปรับสารละลายให้เป็นกรด
กรดฟุลวิก (fulvic acid) : ส่วนที่ละลายได้ในด่าง แต่ไม่ตกตะกอนเมื่อปรับสารละลายให้เป็นกรด
ฮิวมิน (humin) : ส่วนที่ไม่ละลายในด่าง[1]
องค์ประกอบทางเคมีและหมู่ฟังก์ชันนัลในสารฮิวมิก
ส่วนใหญ่ประกอบด้วยกรดฮิวมิก (รวมกับฮิวมิน) และกรดฟุลวิกมีธาตุคาร์บอนและออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 90% โดยน้ำหนัก อีก 10% เป็นไฮโดรเจน ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ และธาตุอื่นๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะพบคาร์บอนมากกว่าออกซิเจน เมื่อไม่รวมซัลเฟอร์ สามารถเขียนสูตรเอมพิริคัล (empirical formula) ของกรดฮิวมิกและฟุลวิกเขียนได้เป็น C10H12O5N และ C12H12O9N ตามลำดับ โดยอัตราส่วนของ C:N อยู่ในช่วง 10-12:1
.
สารเชิงซ้อนระหว่างโลหะหนัก-ฮิวมัส
ฮิวมัสที่เป็นทั้งสารฮิวมิกและไม่ได้เป็นสารฮิวมิก จะมีหมู่ฟังก์ชันนัลที่ว่องไวต่อปฏิกิริยา ซึ่งอยู่อย่างไม่อิสระเมื่ออยู่ในดินที่เป็นดินแร่ธาตุ (mineral soil) โดยจะทำปฏิกิริยาในรูปของสารเชิงซ้อนกับแร่ธาตุและสารประกอบต่างๆในดิน ตัวอย่างเช่น การทำปฏิกิริยาคีเลตกับโลหะแคทไอออน การดูดซับของฮิวมัสบนผิวอนุภาคของแร่ดินเหนียวและสารกำจัดศัตรูพืชต่างๆ ปฏิกิริยาเชิงซ้อนและการเกิดคีเลตระหว่างฮิวมัสกับโลหะต่างๆในดิน มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการสลายตัวผุพังของดิน รวมทั้งมีอิทธิพลต่อสมบัติทางเคมีและความอุดมสมบูรณ์ ดังนี้
ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส (P) จะสูงขี้น เนื่องจากการทำปฏิกิริยาเชิงซ้อนระหว่างฮิวมัสกับโลหะแคทไอออน Al3+ และ Fe3+ ในดินที่เป็นกรด และกับ Ca2+ และ Mg2+ ในดินที่เป็นด่าง ทำให้โอกาสที่แคทไอออนในดินจะทำปฏิกิริยาตกตะกอนกับ P สารละลายได้น้อย
เกิดการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างซิลิเกต ในระหว่างการสลายตัวผุพังของแร่ต้นกำเนิด
เป็นการเพิ่มประโยชน์ของจุลธาตุ (trace elements) ในดินชั้นบน เนื่องจากการดูดใช้จุลธาตุจากดินชั้นล่างโดยรากพืช เมื่อรากพืชเกิดการย่อยสลายจุลธาตุแล้วก็จะส่งผลประโยชน์ต่อพืชได้ดีขึ้นจากปฏิกิริยาคีเลต
โลหะจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างฮิวมัสและอนุภาคดินเหนียว จากการเกิดสารเชิงซ้อนระหว่างฮิวมัสกับดิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเกิดและเสถียรภาพของเม็ดดิน
ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมหรือต่อต้านความเข้มข้นที่สูงขึ้นหรือสูงเกินไปของโลหะแคทไอออนบางชนิด เช่น Al3+, Cd2+ และ Pb2+ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อพืชได้
มีบทบาทต่อเคลื่อนย้ายของโลหะบางชนิด เช่น Al3+ และ Fe3+ ลงสู่ชั้นล่างของดิน[4]
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%AA

การปรับสภาพดินมีผลอย่างไรกับเชื้อรา

เราหมักเหล้าเบียร์ของดอง จะมีราขาวบ้างดำบ้างนั่นขึ้นอยู่กับความสะอาดของเรา..แต่ที่แน่ๆ เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี ในสภาพที่เป็นกรด....โรคที่เกิดกับคนและพืช เกิดจากเชื้อราเกือบทั้งหมด มีไวรัสบ้าง มีแบททีเรียบ้าง แต่ทั้งหมดที่เราเจอ เกิดจากเชื้อรา แต่จะตะกูลไหนเท่านั้นเอง.....สังเกตุ ยาฆ่าเชื้อราในโลกนี้ทั้งหมด มีสภาพเป็นด่างทั้งหมด...ด่างทับทิม คอปเปอร์ ปูนขาว แม้กระทั่ง ขี้เถ้าเตาไฟ ก็เป็นด่าง ผู้เฒ่า สมัยโบราณ ถึงเอาน้ำด่างหรือน้ำขี้เถ้าไปราดรดต้นไม้ที่เป็นโรค.....ดังนั้นจึ่งต้องมีการปรับสภาพดิน ให้เป็นกล่างหรือด่างเล็กน้อย...แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูด้วยว่า ปลูกพืช อะไร ชอบดินแบบไหน..แต่เกือบทั้งหมดคือ ดินที่มีสภาพที่ 5.5-7 ไม่น่าจะต่างไปจากนี้โดยรวม

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561

อยากปลูกกล้วยน้ำว้าแบบหมดปัญหาเรื่องตลาดคลิ๊กเลย

สวนราชินี จ.กำแพงเพชร 0809898770 โทร+ไลน์
เรื่องกล้วยต้องยกให้เรา เพราะเราดูแลเรื่องนี้ มาอย่างยาวนาน
ทำครบวงจร ตั้งแต่ปลูก ดูแล ถึงรับซื้อผลผลิต
.
วันนี้กล้วยยังราคาปิ๊กอัพละ หมื่นบาท บวกลบ นิดหน่อย ตามคุณภาพ
เดือนนึง ตัด3-5 คันต่อสวนต่อเดือน ก็มีรายได้ 30000-50000 บาท(อยู่ที่จำนวนไร่)
(ข้อมูลนะวันที่ 21-4-2561 กล้วยไซด์ใหญ่ 10หวีขึ้นไป)
.
  • ถ้าคุณเป็นคนที่ทุ่มเท ทำจริงและพร้อบรับฟังการทำงานแบบเรา
  • มี่ที่ดินเริ่มต้นที่ 5 ไร่ เพื่อทดลองทำ
  • มีน้ำตลอดปี ที่พร้อมจะดูแลรดน้ำทุก  5-7 วัน ตามสภาพอากาศ
  • มีแรงงานที่ต้องพร้อม ทำงานดูแล อย่างทุ่มเท
  • อยู่ในพื้นที่ภาคกลางหรือไกล้เคยง
  • อยากปลูกกล้วยน้ำว้า โทรหาเรา 0809898770 ลูกสาว
  • เราจัดส่งกล้วยไปทั่วประเทศวันละเกือบ 10000 โล













.
เรามีรถ ขนกล้วย 4 คันที่พร้อมเข้าไปตัดกล้วย ราคาว่ากันตามตลาดนะเวลานั้นๆ
เราต้องการกล้วยไซด์ใหญ่ ส่งตลาด ไม่ใช่กล้วยเหมา เข้าโรงงาน
ฉนั้นต้องมั่นใจว่า แรงงานและการดูแลต้องถึงจริงๆ(ในส่วนนี้สอบถามได้ตลอดเวลา)






ฝัน มันต้องค่อยๆสร้าง ค่อยๆ ต่อเติมทีละนิด
บางคนก็ละทิ้งฝัน ปล่อยมือจากฝันของตัวเอง เร็วเกินไป
.
กว่าจะก้าวเดินได้แต่ละก้าว บางที ใช้เวลาเป็นปี
หลายคนปลูกกล้วย หรือทำสวนอื่นๆ ปีเดียวก็ท้อ แล้วก็ถอยไป
.
อุปสรรค นิดเดียว ก็คิดว่ามันใหญ่โต ไม่ยอมก้าวข้ามมันไปให้ได้
.
ทั้งที่ความจริง ถ้าวันนั้น คุณก้าวข้ามมันไปได้ คุณอาจจะพบกับสิ่งที่คุณฝัน ในทันทีก็ได้
.
วันนี้ กล้วยหน้าสวน 1คันปิ๊พอัพ ก็ประมาณ 1 หมื่นบาท บวกลบ แล้วแต่คุณภาพ(คนอื่นยังไงไม่รู้ ลูกสวนลุงได้ประมาณนี้)
.
เดือนนึง บางสวน ไปตัด 3-5 คันรถ...แค่รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งเท่านั้น..คนกลุ่มนี้เขาอยู่กันเงียบๆ ทำไปเรื่อยๆ ราคาขึ้นตามขึ้น ลงตามลง ยังไงก็ได้ตัง มากน้อย ตามสภาวะตลาด
.
ลุงเองก็ปลูกไปเรื่อยๆ ได้สักปีละ 3-5 ไร่ ก็เอา เพราะเวลาส่วนใหญ่ ต้องไปดูแลลูกไร่ ของตัวเองทำมากไม่ได้
.
เห็นหลายๆคน ปลูกแล้วโค่น ไปทำอย่างอื่น ตามกระแส แล้วเมื่อไร จะขยายสวนได้เล่า มันก็ต้องไปเริ่มก้าวแรกใหม่ทุกปี
.
มันเป็นโรค มันไม่โต มันโน่นนี่นั่น ก็เพราะจริงๆคุณไม่ดูแลนั่นละ...มันผิดที่คุณ ไม่ได้ผิดที่กล้วย...ใจร้อน ด่วนได้ ไม่ทำไม่ดูแลถึงที่สุดแบบคนอื่นๆ..แต่ยังคิดว่า นี่กูดูแลดีแล้ว
.
ลองมองสวนอื่นๆ เทียบกับของตัวเอง
.
ความลำบาก ปีเดียว มันทนไม่ได้เชียวเรอะ ที่จะทุ่มเท รดน้ำ ตัดหญ้า จากข้างทางมาถมสวน ไปตัดทุกวัน เหมือนท่านกินข้าว กินเหล้ากันนั่นแหละ.
.
หฯ้าในสวนไม่ต้องตัด ไปตัดหญ้าข้างนอก มาทับหญ้าในสวน
.
รดน้ำบ่อยๆ เท่านี้กล้วยก็งามแล้ว
.
ถ้าคุณปล่อยมือจากฝันของตัวเองเร็วเกินไป..วันต่อไป อาจไม่มีฝันสำหรับคุณ เพราะนั่นอาจเป็นฝันครั้งสุดท้ายของคุณ









เห็ดกระถินพิมานรักษามะเร็ง

พ่นควันไล่ผึ้ง

รักษาเก๊าท์

โกฏจุฬาลัมพาแห้ง