ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี 17 ธาตุ คือ
คาร์บอน (C)
ไฮโดรเจน (H)
ออกซิเจน (O)
ไนโตรเจน (N)
ฟอสฟอรัส (P)
โพแทสเซียม (K)
ุแคลเซียม (Ca)
แมกนีเซียม (Mg)
กำมะถัน (S)
เหล็ก (Fe)
แมงกานีส (Mn)
ทองแดง (Cu)
สังกะสี (Zn)
ไมลิมดีนัม (Mo)
โบรอน (B)
คลอรีน (Cl)
และนิเกิล (Ni)
นอกจากธาตุ C H และ O ซึ่งพืชได้รับจากอากาศและน้ำในรูป CO2 O2 และ H2O
แล้วธาตุที่เหลือจำเป็นต้องมีอยู่ในสารละลายในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์
คลอรีน (Cl) มักได้จากการใช้ปุ๋ยธาตุอื่นในรูปของเกลือคลอไรด์ ส่วน Ni พืชต้องการน้อยมาก ปริมาณที่เจือปนอยู่ในน้ำเพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงมักไม่จำเป็นต้องเติมเกลือนิเกิลลงในสารละลายอีก อย่างไรก็ตาม Jones (1997) แนะนำว่า สารละลายธาตุอาหารสำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ควรมีความเข้มข้นของนิเกิลอย่างน้อย 0.057 mg/L สารละลายธาตุอาหารสำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันพบว่า ส่วนใหญ่เน้นไปที่มหธาตุ 6 ธาตุ คือ N P K Ca Mg และ S และจุลธาตุอีก 6 ธาตุ คือ Fe Mn Cu Zn B และ Mo ซึ่งโดยทั่วไปพบว่า พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีจนถึงระยะให้ผลผลิต
ธาตุบางธาตุถึงแม้ไม่จัดเป็นธาตุอาหารจำเป็นในปัจจุบัน แต่มีรายงานว่าช่วยให้การเจริญเติบโต หรือพัฒนาการบางอย่างของพืชดีขึ้น ธาตุเหล่านั้นจึงจัดเป็นธาตุที่มีประโยชน์ (beneficial element) ได้แก่
:โคบอลต์ไม่ได้เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง แต่จำเป็นต่อจุลินทรีย์ Rhizobium ซึ่งช่วยตรึง N2 ในพืชตระกูลถั่ว (Jones, 1997; ยงยุทธ โอสถสภา, 2543) :ซิลิคอนเป็นธาตุที่พบว่าจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวและธํญพืชหลายชนิด หากพืชกลุ่มนี้ได้รับ Si ไม่เพียงพอจะทำให้ลำต้นไม่แข็งแรง และไม่สามารถตั้งตรงได้ ส่งผลให้ผลผลิตลดลง นอกจากนี้ยังมีรายงานในมะเขือเทศและแตงกวาว่า หากพืชได้รับไม่เพียงพอ จะทำให้พืชไม่สมบูรณ์เต็มที่และอ่อนแอต่อเชื้อรา พืชทั้งสองชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี เมื่อในสารละลายธาตุอาหารมี Si ประมาณ 75-100 mg-Si(OH)4/L (Jones, 1997; Mengel and Kirkby, 1987) :ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า V เป็นประโยชน์ต่อพืชโดยตรง แต่มีข้อมูลที่ระบุว่าพืชอาจสามารถใช้ V ทดแทน Mo ได้ และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ (Jones, 1997) :Na เป็นธาตุที่มีมากบนผิวโลก จึงมักเจือปนอยู่ในน้ำและสารเคมีต่างๆ ที่ใช้เตรียมสารละลาย Na เป็นธาตุจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชทนเค็ม (halophyte) พืชบางชนิดใช้ Na แทน K ได้ เช่น ผักกาดหวาน กะหล่ำ ผักกาดหัว ปวยเหล็ง มะเขือเทศ ข้าว และ มันฝรั่ง เป็นต้น (Mengel and Kirkby, 1987; ยงยุทธ โอสถสภา, 2543)
คาร์บอน (C)
ไฮโดรเจน (H)
ออกซิเจน (O)
ไนโตรเจน (N)
ฟอสฟอรัส (P)
โพแทสเซียม (K)
ุแคลเซียม (Ca)
แมกนีเซียม (Mg)
กำมะถัน (S)
เหล็ก (Fe)
แมงกานีส (Mn)
ทองแดง (Cu)
สังกะสี (Zn)
ไมลิมดีนัม (Mo)
โบรอน (B)
คลอรีน (Cl)
และนิเกิล (Ni)
นอกจากธาตุ C H และ O ซึ่งพืชได้รับจากอากาศและน้ำในรูป CO2 O2 และ H2O
แล้วธาตุที่เหลือจำเป็นต้องมีอยู่ในสารละลายในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์
คลอรีน (Cl) มักได้จากการใช้ปุ๋ยธาตุอื่นในรูปของเกลือคลอไรด์ ส่วน Ni พืชต้องการน้อยมาก ปริมาณที่เจือปนอยู่ในน้ำเพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงมักไม่จำเป็นต้องเติมเกลือนิเกิลลงในสารละลายอีก อย่างไรก็ตาม Jones (1997) แนะนำว่า สารละลายธาตุอาหารสำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ควรมีความเข้มข้นของนิเกิลอย่างน้อย 0.057 mg/L สารละลายธาตุอาหารสำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันพบว่า ส่วนใหญ่เน้นไปที่มหธาตุ 6 ธาตุ คือ N P K Ca Mg และ S และจุลธาตุอีก 6 ธาตุ คือ Fe Mn Cu Zn B และ Mo ซึ่งโดยทั่วไปพบว่า พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีจนถึงระยะให้ผลผลิต
ธาตุบางธาตุถึงแม้ไม่จัดเป็นธาตุอาหารจำเป็นในปัจจุบัน แต่มีรายงานว่าช่วยให้การเจริญเติบโต หรือพัฒนาการบางอย่างของพืชดีขึ้น ธาตุเหล่านั้นจึงจัดเป็นธาตุที่มีประโยชน์ (beneficial element) ได้แก่
:โคบอลต์ไม่ได้เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง แต่จำเป็นต่อจุลินทรีย์ Rhizobium ซึ่งช่วยตรึง N2 ในพืชตระกูลถั่ว (Jones, 1997; ยงยุทธ โอสถสภา, 2543) :ซิลิคอนเป็นธาตุที่พบว่าจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวและธํญพืชหลายชนิด หากพืชกลุ่มนี้ได้รับ Si ไม่เพียงพอจะทำให้ลำต้นไม่แข็งแรง และไม่สามารถตั้งตรงได้ ส่งผลให้ผลผลิตลดลง นอกจากนี้ยังมีรายงานในมะเขือเทศและแตงกวาว่า หากพืชได้รับไม่เพียงพอ จะทำให้พืชไม่สมบูรณ์เต็มที่และอ่อนแอต่อเชื้อรา พืชทั้งสองชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี เมื่อในสารละลายธาตุอาหารมี Si ประมาณ 75-100 mg-Si(OH)4/L (Jones, 1997; Mengel and Kirkby, 1987) :ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า V เป็นประโยชน์ต่อพืชโดยตรง แต่มีข้อมูลที่ระบุว่าพืชอาจสามารถใช้ V ทดแทน Mo ได้ และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ (Jones, 1997) :Na เป็นธาตุที่มีมากบนผิวโลก จึงมักเจือปนอยู่ในน้ำและสารเคมีต่างๆ ที่ใช้เตรียมสารละลาย Na เป็นธาตุจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชทนเค็ม (halophyte) พืชบางชนิดใช้ Na แทน K ได้ เช่น ผักกาดหวาน กะหล่ำ ผักกาดหัว ปวยเหล็ง มะเขือเทศ ข้าว และ มันฝรั่ง เป็นต้น (Mengel and Kirkby, 1987; ยงยุทธ โอสถสภา, 2543)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น