หญ้าดอกขาว หญ้าดอกขาว
ชื่อสามัญ Little ironweed, Ash-coloured fleabane, Ash-coloured ironweed, Purple fleabane, Purple-flowered fleabane.[6] หญ้าดอกขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Vernonia cinerea (Linn.) Less. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Conyza cinerea L.) จัดอยู่ในวงศ์ COMPOSITAE (ASTERACEAE)[1],[7]
สมุนไพรหญ้าดอกขาว ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า หญ้าสามวัน (เชียงใหม่), เสือสามขา (ตราด), ถั่วแฮะดิน ฝรั่งโคก (เลย), ก้านธูป ต้นก้านธูป (จันทบุรี), หนาดหนา (ชัยภูมิ), หญ้าละออง หญ้าดอกขาว หญ้าหมอน้อย หมอน้อย (กรุงเทพฯ), เซียวซัวโห้ว เซียหั่งเช่า (จีนแต้จิ๋ว), เย่เซียงหนิว เซียวซานหู่ เซียวซัวเฮา ซางหางฉ่าว (จีนกลาง), ผ้ำสามวัน, ม่านพระอินทร์, ยาไม่ต้องย่าง เป็นต้น[1],[2],[3],[7] หมายเหตุ : หญ้าดอกขาวเป็นชื่อที่พ้องกับพืชหลายชนิดทั้งที่อยู่คนละวงศ์ เช่น กระดุมเงิน (Eriocaulon henryanum Ruhle), หญ้ายอนหู (Leptochloa chinensis (L.) Nees), หรือใช้เรียกพืชชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน เช่น สาบเสือ (Eupatorium odoratum L.) ดังนั้นการใช้ชื้อ “หญ้าดอกขาว” ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสน โดยต้องระบุชื่อวิทยาศาสตร์กำกับไว้อยู่เสมอ เพราะจากการทบทวนเอกสารข้อมูลการวิจัยส่วนใหญ่จะใช้ชื่อว่า “หญ้าดอกขาว” แทน “หญ้าหมอน้อย” มากกว่า[6]
ลักษณะของหญ้าดอกขาว ต้นหญ้าดอกขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุได้ประมาณ 1-5 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 20-80 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านน้อย กิ่งและก้านเรียว มีลักษณะเป็นร่องและมีขนสีเทาขึ้นปกคลุม มีลายเส้นนูนขึ้นตามข้อ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญเติบโตได้ตลอดทั้งปี พบได้ทั่วไปตามสนามหญ้า ที่รกร้าง และทุ่งนาชายป่า[1],[4],[6]
หญ้าดอกขาวจัดเป็นพืชในเขตร้อนที่พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[6] ใบหญ้าดอกขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน รูปแถบ หรือรูปใบหอก ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนหรือแหลม ส่วนขอบใบหยักหรือจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5-6.5 เซนติเมตร หลังใบมีเส้นใบชัดเจน มีสีเขียวเข้ม มีขนทั้งสองด้าน ใบที่บริเวณโคนต้นมีขนาดใหญ่กว่าใบที่อยู่ปลายยอด[1],[2],[5]
ดอกหญ้าดอกขาว ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 20 ดอก ดอกออกรวมกันเป็นช่อแยกแขนง รูปคล้ายช่อเชิงหลั่น กว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-35 เซนติเมตร มีใบประดับลักษณะเป็นรูปคล้ายระฆัง 4 ชั้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะของดอกย่อยเป็นหลอดยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกเป็นสีม่วงอ่อนอมสีแดง สีม่วง หรือสีชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่สีดอกจะจางลง พอกดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อดอกร่วงโรยแล้วจะเห็นผลเป็นรูปทรงกระบอก[1],[6]
ผลหญ้าดอกขาว ผลชนิดผลแห้งเมล็ดล่อน มีเมล็ดเดียว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแคบสีน้ำตาลเข้ม เปลือกแข็งและแห้งไม่แตก ยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร และยาน้อยกว่า 0.5 มิลลิเมตร ด้านบนมีขนสีขาวปกคลุม ผลเป็นพู่แตกบาน ช่วยทำให้เมล็ดลอยไปตามลมได้[1],[6
] สรรพคุณของหญ้าดอกขาว ทั้งต้นมีรสขมชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ มีสรรพคุณทำให้เลือดเย็น เป็นยาแก้พิษ (ทั้งต้น)[1] ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษเช่นกัน ด้วยการใช้เมล็ดแห้ง 2-4 กรัม นำมาป่นให้ละเอียด ใช้ชงกับน้ำร้อนกิน (เมล็ด)[6],[7] ตำรายาพื้นบ้านจะใช้ทั้งต้น 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วย ใช้ดื่มต่างน้ำชาเป็นยาบำรุงเลือด แก้ตกเลือด (ทั้งต้น)[2] ช่วยบำรุงกำลัง (ทั้งต้น)[5] เมล็ดป่นใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาบำรุงธาตุ (เมล็ด)[6],[7] หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ให้ใช้ทั้งต้นนำมาตากแห้งไว้ต้มกินเป็นประจำ (ทั้งต้น)[3],[6] ตำรับยาลดความดันโลหิตสูงอีกวิธีให้ใช้ลำต้นแห้งของหญ้าดอกขาว ต้นแห้งของสะพานก๊น และต้นแห้งของส้มดิน อย่างละ 15 กรัม เท่ากัน นำมารวมกันแล้วต้มเอาน้ำกิน[7] ใช้เป็นยาลดไข้ แก้ตัวร้อน แก้ไข้หวัดแดดตัวร้อน แก้ไอ แก้ไอหวัด แก้ไข้ทับระดู ไข้มาลาเรีย (ทั้งต้น)[1],[2],[3],[5],[6] ตำรับยาแก้ไข้หวัด แก้ไอ ให้ใช้คนทีเขมาแห้ง ใบไทรย้อยใบทู่แห้ง และรากบ่อฮ๋วมแห้ง อย่างละ 15 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกิน[7] ใช้เป็นยาล้างปอดได้ดี จึงนำมาใช้แก้อาการไอ เจ็บคอ และหอบ รวมไปถึงการช่วยลดเสมหะและน้ำมูกเวลาเป็นหวัด (ทั้งต้น)[3] เมล็ดนำมาป่นให้ละเอียดใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้ไอ ไอเรื้อรัง (เมล็ด)[4],[6],[7] หรือจะใช้รากนำมานำมาต้มเอาน้ำกินก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอเรื้อรังเช่นกัน ถ้าเป็นรากสดใช้ 30-60 กรัม ถ้าเป็นรากแห้งใช้ 15-30 กรัม (ราก)[6],[7] ใบมีรสเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้หืด แก้หลอดลมอักเสบ (ใบ)[5] ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ[5], ทั้งต้น[1]) ช่วยแก้ประสาทอ่อน แก้นอนไม่หลับ (ทั้งต้น)[1] ใบใช้ตำผสมกับน้ำนมคน แล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้เป็นยาหยอดตาแก้ตาแดง ตาเปียก ตาแฉะ (ใบ)[2],[5],[6] ช่วยแก้เต้านมอักเสบ (ทั้งต้น)[1] ทั้งต้นใช้ตำให้ละเอียดเป็นยาพอกแก้นมคัด (ทั้งต้น)[4],[5],[6] ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ (ทั้งต้น)[2],[5],[6] เมล็ดป่นใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้ท้องอืด (เมล็ด)[6],[7] ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องขึ้น ท้องร่วง โรคกระเพาะ (ทั้งต้น)[2],[3],[4],[5],[6] ใช้เป็นยาแก้บิด (ใบ[5], ทั้งต้น[1]) ใช้เป็นยาขับพยาธิ ด้วยการใช้รากสด 30-60 กรัม (แห้งใช้ 15-30 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำกิน (ราก[6],[7], ทั้งต้น[1]) ใช้เมล็ดแห้งประมาณ 2-4 กรัม นำมาป่นให้ละเอียดใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาขับพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย (เมล็ด)[4],[5],[6],[7] ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด ด้วยการใช้รากสด 30-60 กรัม ถ้าเป็นแห้งให้ใช้ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ราก[6],[7], ใบ[5], ทั้งต้น[3]) เมล็ดป่นใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้ปัสสาวะขัด (เมล็ด)[4],[6],[7] ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ทั้งต้น)[5],[6] ทั้งต้นนำมาคั้นเอาน้ำดื่มช่วยกระตุ้นให้เจ็บท้องคลอด ขับรก ขับระดูของสตรี (ทั้งต้น)[5] รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาช่วงเร่งคลอด และขับรกหลังคลอด (ราก)[6],[7] ใช้เป็นยาแก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบเฉียบพลัน (ทั้งต้น)[1],[2],[5],[6] ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ทั้งต้นและรากหญ้าดอกขาว นำมาตากแห้งบดเป็นผง ใช้เป็นยารักษาแผลสด แผลเรื้อรัง ผิวหนังพุพอง และใช้ห้ามเลือด (ทั้งต้น)[2],[6] ใบสดใช้ตำพอกปิดแผล เป็นยาสมานแผล (ใบ)[2],[5],[6] ช่วยรักษาแผลบวมอักเสบ ดูดฝีหนอง แก้บวม (ทั้งต้น)[4],[5],[6] ใช้แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคัน (ทั้งต้น)[1] ใบใช้ตำพอกแก้กลากเกลื้อน เรื้อนกวาง (ใบ)[2],[5],[6] เมล็ดใช้ตำพอกหรือนำมาป่นชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้โรคผิวหนัง โรคผิวหนังเรื้อรัง ผิวหนังด่างขาว (เมล็ด)[5],[6],[7] ช่วยรักษาแผลเบาหวาน ด้วยการใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้นรวมรากประมาณ 1-2 กำมือ นำมาต้มกับน้ำประมาณ 6-8 แก้ว เมื่อยาเดือด ก็ปล่อยให้เดือดกรุ่นไปสัก 5-10 นาที จนได้น้ำยาสีเหลืองแบบชา หรือจะตากแห้งนำมาต้มหรือใช้ชงกินต่างน้ำชาก็ได้ (ทั้งต้น)[3] ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้พิษงู ฝีหนอง งูสวัด แผลกลาย ผ้ำ (การติดเชื้อมีหนองในเนื้อเยื่อลึกๆ ดูคล้ายฝีแต่ไม่ใช่ฝี) (ทั้งต้น)[1],[3] ตำรับยาแก้ผ้ำหรืออาการติดเชื้อมีหนองในเนื้อเยื่อลึกๆ คล้ายฝีแต่ไม่ใช่ฝี ให้ใช้หญ้าดอกขาวนำมาต้มเอาไอรมแผลบริเวณเป็น เมื่อยาเย็นลงแล้วให้เอาน้ำต้มยามาล้างแผล 1 วัน รม 3 ครั้ง 3 วันก็จะหาย โดยให้ใช้ยาหม้อเดิมทั้ง 3 วัน (ทั้งต้น)[3] ช่วยรักษาโรคเท้าช้าง (ใบ[5], ทั้งต้น[1]) ตำรับยาแก้ฟกช้ำ ให้ใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้น ฝาง บัวบก ยาหัว และเถาไม้กระเบื้องต้น (แก้มขาว) นำมาต้มกับน้ำกินจนหาย (ทั้งต้น)[3] ใช้แก้เหน็บชา แขนขาไม่มีแรง ให้ใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้น และกิ่งก้านของใบทองพันชั่ง นำมาต้มกับน้ำกินแทนน้ำชา (ทั้งต้น)[3] ใช้รักษาอาการปวด ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเข่าด้วยการใช้หญ้าดอกขาวนำมาต้มกินเช่นเดียวกับการรักษาแผลเบาหวาน (ทั้งต้น)[3] ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะรดที่นอน แก้เด็กกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ให้ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาชงกับน้ำร้อนกินเป็นชา (ทั้งต้น)[2],[5],[6],[7] เมล็ดมีเฝื่อน ใช้ตำพอกช่วยกำจัดเหา (เมล็ด)[5] ใช้ลดอาการอยากบุหรี่ ด้วยการใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้นประมาณ 2-3 ต้น ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มเดือด 10 นาที ใช้กินบ่อยๆ หรือจะใช้ในรูปแบบชาชงในขนาด 3 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารก็ได้ (ทั้งต้น)[3] นอกจากนี้การแพทย์โบราณและการแพทย์พื้นบ้านในหลายๆ ประเทศ ก็มีการใช้หญ้าดอกขาวเพื่อบรรเทาโรคและอาการต่างๆ จำนวนมาก เช่น มะเร็ง โรคทางเดินอาหาร โรคตับ โรคหืด ไข้มาลาเรีย ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ เยื่อตาอักเสบ อาการปวด อักเสบ โดยในกัมพูชาจะใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาลดไข้ในผู้ป่วยโรคมาลาเรีย ส่วนอินเดียจะใช้น้ำคั้นจากหญ้าดอกขาวเพื่อบรรเทาอาการปัสสาวะขัดในเด็ก บรรเทาอาการไอ ส่วนเมล็ดใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย เป็นต้น[6] หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม [1] ถ้าใช้ต้นสดให้ใช้ครั้งละ 35-60 กรัม ส่วนต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 20-35 กรัม ถ้าใช้ภายนอกก็ให้กะใช้พอประมาณ[1] ส่วนวิธีการใช้ตาม [6] ถ้าเป็นส่วนของทั้งต้นให้เลือกใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนเมล็ดให้ใช้เมล็ดแห้งประมาณ 2-4 กรัม นำมาป่นให้ละเอียดใช้ชงกับน้ำร้อนกิน ส่วนรากสดให้ใช้ครั้งละ 30-60 กรัม ถ้ารากแห้งให้ใช้ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน[6] advertisements ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าดอกขาว สารที่พบได้แก่ พบสารจำพวก Flavonoid glycoside, Phenols, Amino acids เป็นต้น[1] น้ำต้มจากส่วนที่อยู่เหนือดินมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบของเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการปวดและลดความดันโลหิตในสัตว์ทดลอง[2] ใบหญ้าดอกขาวมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้เล็กน้อย แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อมาลาเรีย[1],[7] สารสกัดจากต้นด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้หนู และเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง[2] เมล็ดและรากหญ้าดอกขาวมีฤทธิ์สามารถฆ่าเชื้อพยาธิได้[1],[7] ในปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ของสมุนไพรชนิดนี้ โดยพบว่ามีฤทธิ์เป็นยาลดไข้ ต้านมาลาเรีย ต้านเบาหวาน ต้านการกระจายตัวของมะเร็ง ต้านไม่ให้รังสีแกมมาทำลายเซลล์ ขับปัสสาวะ ป้องกันไตไม่ให้ถูกทำลาย ต้านแบคทีเรีย ต้านการเกิดแผล แก้ปวด ต้านการอักเสบ ลดการอักเสบ ช่วยคลายกล้ามเนื้อเรียบ เป็นต้น[3],[6] รวมทั้งยังมีฤทธิ์การยับยั้งการกินอาหารของแมลงบางชนิด ส่วนการวิจัยใหม่ๆ จะมุ่งเน้นศึกษาฤทธิ์ต้านการเติมออกซิเจนและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างมาก[6] ต้น ใบ และรากของหญ้าดอกขาวมีสารสำคัญคือ Sodium nitrate ทำให้ลิ้นชา ช่วยลดอาการอยากบุหรี่ได้[5] จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของหญ้าดอกขาวกับยาหลอกในการลดการสูบบุหรี่ พบว่า หญ้าดอกขาวสามารถช่วยลดการสูบบุหรี่ลงได้มากกว่ากลุ่มควบคุม และพบว่าสมุนไพรหญ้าดอกขาวในรูปแบบการนำไปเคี่ยว คือการนำหญ้าดอกขาวแห้ง 20 กรัม ผสมกับน้ำ 3 แก้ว แล้วต้มเคี่ยวจนเหลือเพียง 1 แก้ว แล้วนำมาอมไว้ในปากประมาณ 1-2 นาทีแล้วค่อยกลืน จากนั้นจึงค่อยสูบบุหรี่ จะทำให้รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนทำให้ไม่อยากสูบยุหรี่ในที่สุด และลดจำนวนของมวนบุหรี่ที่ใช้สูบต่อวันได้อย่างรวดเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ไม่ว่าจะสูบเบาหรือสูบหนักมาก่อนก็ตาม และจากการวิจัยพบว่าหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน จะช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ได้ถึง 60% และหากออกกำลังกายร่วมด้วยก็จะช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้ 62% และที่สำคัญยังช่วยทำให้คนเลิกบุหรี่ได้สูงถึง 60-70% หากออกกำลังกายร่วมด้วย[3],[4] จากการศึกษาผู้ติดบุหรี่พบว่าหลังการรักษาด้วยสมุนไพรหญ้าดอกขาวเป็นระยะเวลา 4 เดือน ผู้ติดบุหรี่มีอัตราการเลิกสูบบุหรี่ร้อยละ 69.35 โดยเหตุผลสำคัญของการเลิกสูบบุหรี่ คือ ชาลิ้น กินอาหารไม่อร่อย ไม่รู้สึกอยากบุหรี่ รู้สึกเหม็นกลิ่นบุหรี่ เมื่อสูบแล้วรู้สึกอยากอาเจียน ส่วนผู้ที่ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ให้เหตุผลว่า การดื่มชาสมุนไพรชนิดนี้ก็เหมือนกับการดื่มน้ำธรรมดา โดยไม่มีอาการใดๆ[5] ส่วนการศึกษาด้านความปลอดภัย พบว่าสมุนไพรชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง[3] ซึ่งจากการศึกษาด้านพิษวิทยาพบว่าสารสกัดในเมทานอลไม่เกิดให้เกิดพิษเฉียบพลันในหนูเมื่อให้ทางปาก โดยมีค่า LD50 สูงกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม[6] ประโยชน์ของหญ้าดอกขาว ปัจจุบันมีการใช้หญ้าดอกขาวเป็นยาแก้อาการติดบุหรี่ เพราะกินแล้วจะทำให้เหม็นบุหรี่และไม่อยากสูบบุหรี่อีก ซึ่งทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งนำหญ้าดอกขาวไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2547 ได้มีการจดสิทธิบัตรในอเมริกา โดยนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น ที่ใช้สารสกัดจากหญ้าดอกขาวใส่ลงไปในก้นกรองของบุหรี่เพื่อช่วยลดความอยากสูบบุหรี่[3] นอกเหนือจากจะทำให้เลือกบุหรี่ได้แล้ว ยังช่วยทำให้สมรรถภาพทางกายดีขึ้นอีกด้วย เลือดจะมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่คั่งค้างในปอดลดลงอย่างชัดเจน และที่สำคัญผลข้างเคียงของการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีนี้ก็มีน้อยมาก (เช่น มีอาการกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย สมาธิแปรปรวน)[3] เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง มีสรรพคุณมากมาย กินง่าย มีรสชาติดีเยี่ยม จึงได้มีการพัฒนาเป็นยาในรูปแบบชง แบบชาชง แบบแคปซูล แบบลูกอมเม็ดแข็ง แบบลูกกวาดนุ่ม แบบหมากฝรั่ง แบบแผ่นฟิล์มละลายเร็ว และแบบผลิตภัณฑ์กาแฟผสมหญ้าดอกขาว ที่สามารถหาซื้อได้ง่ายและนำไปใช้ประโยชน์กันได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบันชาหญ้าดอกขาวถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2555 ในส่วนยาพัฒนาจากสมุนไพรสำหรับลดความอยากบุหรี่ในรูปแบบชง ใช้กินครั้งละ 2 กรัม โดยชงกับน้ำร้อนประมาณ 120-200 มิลลิเมตร ใช้กินหลังอาหารวันละ 3-4 ครั้ง ส่วนในรูปแบบชาชง ก็คือการนำหญ้าดอกขาวแห้งมาบดเป็นผงละเอียด แล้วบรรจุลงในถุงชาขนาดเล็ก วิธีรับประทานก็ให้นำถุงชามาจุ่มลงในน้ำร้อนแล้วทิ้งไว้สักครู่ แล้วนำมาอมไว้ในปากประมาณ 1-2 นาทีเช่นเดียวกับแบบชงดื่ม ส่วนในรูปของยาอมแบบอัดเม็ด ก็มาจากการนำหญ้าดอกขาวมาเคี่ยวแล้วทำให้เป็นผงแห้งก่อนการอัดเม็ด รูปแบบนี้ทำให้พกพาง่ายและสะดวก ก่อนจะสูบบุหรี่ทุกครั้งก็ให้นำมาอมไว้ในปากจนละลายหมดแล้วจึงค่อยสูบบุหรี่ ก็จะช่วยทำให้เลิกบุหรี่ได้ครับ (ประสิทธิภาพในรูปแบบอมจะได้ผลเร็วกว่ารูปแบบชงชาและแบบเคี่ยวมาก)[3],[4] แม้สมุนไพรชนิดนี้จะมีประโยชน์อยู่มากก็ตาม แต่ก็มีข้อเสียที่อาจเป็นประโยชน์อยู่ด้วย นั้นก็คือ เมื่อกินยาชนิดแล้วจะทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ทำให้ไม่อยากอาหาร (ควรระวังในการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไตเนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีโพแทสเซียมสูง) ด้วยเหตุนี้หญ้าดอกขาวจึงอาจมปีประโยชน์ในควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย[3] References หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หญ้าหมอน้อย”. หน้า 604. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เสือสามขา”. หน้า 223. ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. “หญ้าดอกขาว หมอข้างกาย ทางสบายเลิกบุหรี่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_herbal/. [13 ก.ค. 2014]. เดลินิวส์ 5 สิงหาคม พ.ศ.2555. “หญ้าดอกขาว สมุนไพรช่วยเลิกบุหรี่”. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “หญ้าดอกขาวกับการลดการอยากบุหรี่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.cmu.ac.th/dic/newsletter/newpdf/newsletter10_6/smokingherb.pdf. [14 ก.ค. 2014]. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2553. (อรลักษณา แพรัตกุล). “องค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพของหมอน้อย และแนวทางการพัฒนาตำรับเพื่อใช้ช่วยเลิกบุหรี่”. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, พิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หมอน้อย”. หน้า 819-820. ภาพประกอบ : www.flickr.com (by 翁明毅, eddy lee, u20202003, Hamid, Dinesh Valke, CANTIQ UNIQUE) เรียบเรียงข้อมูลโดย ฟ ริ น น์ .com
ชื่อสามัญ Little ironweed, Ash-coloured fleabane, Ash-coloured ironweed, Purple fleabane, Purple-flowered fleabane.[6] หญ้าดอกขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Vernonia cinerea (Linn.) Less. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Conyza cinerea L.) จัดอยู่ในวงศ์ COMPOSITAE (ASTERACEAE)[1],[7]
สมุนไพรหญ้าดอกขาว ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า หญ้าสามวัน (เชียงใหม่), เสือสามขา (ตราด), ถั่วแฮะดิน ฝรั่งโคก (เลย), ก้านธูป ต้นก้านธูป (จันทบุรี), หนาดหนา (ชัยภูมิ), หญ้าละออง หญ้าดอกขาว หญ้าหมอน้อย หมอน้อย (กรุงเทพฯ), เซียวซัวโห้ว เซียหั่งเช่า (จีนแต้จิ๋ว), เย่เซียงหนิว เซียวซานหู่ เซียวซัวเฮา ซางหางฉ่าว (จีนกลาง), ผ้ำสามวัน, ม่านพระอินทร์, ยาไม่ต้องย่าง เป็นต้น[1],[2],[3],[7] หมายเหตุ : หญ้าดอกขาวเป็นชื่อที่พ้องกับพืชหลายชนิดทั้งที่อยู่คนละวงศ์ เช่น กระดุมเงิน (Eriocaulon henryanum Ruhle), หญ้ายอนหู (Leptochloa chinensis (L.) Nees), หรือใช้เรียกพืชชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน เช่น สาบเสือ (Eupatorium odoratum L.) ดังนั้นการใช้ชื้อ “หญ้าดอกขาว” ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสน โดยต้องระบุชื่อวิทยาศาสตร์กำกับไว้อยู่เสมอ เพราะจากการทบทวนเอกสารข้อมูลการวิจัยส่วนใหญ่จะใช้ชื่อว่า “หญ้าดอกขาว” แทน “หญ้าหมอน้อย” มากกว่า[6]
ลักษณะของหญ้าดอกขาว ต้นหญ้าดอกขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุได้ประมาณ 1-5 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 20-80 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านน้อย กิ่งและก้านเรียว มีลักษณะเป็นร่องและมีขนสีเทาขึ้นปกคลุม มีลายเส้นนูนขึ้นตามข้อ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญเติบโตได้ตลอดทั้งปี พบได้ทั่วไปตามสนามหญ้า ที่รกร้าง และทุ่งนาชายป่า[1],[4],[6]
หญ้าดอกขาวจัดเป็นพืชในเขตร้อนที่พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[6] ใบหญ้าดอกขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน รูปแถบ หรือรูปใบหอก ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนหรือแหลม ส่วนขอบใบหยักหรือจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5-6.5 เซนติเมตร หลังใบมีเส้นใบชัดเจน มีสีเขียวเข้ม มีขนทั้งสองด้าน ใบที่บริเวณโคนต้นมีขนาดใหญ่กว่าใบที่อยู่ปลายยอด[1],[2],[5]
ดอกหญ้าดอกขาว ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 20 ดอก ดอกออกรวมกันเป็นช่อแยกแขนง รูปคล้ายช่อเชิงหลั่น กว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-35 เซนติเมตร มีใบประดับลักษณะเป็นรูปคล้ายระฆัง 4 ชั้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะของดอกย่อยเป็นหลอดยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกเป็นสีม่วงอ่อนอมสีแดง สีม่วง หรือสีชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่สีดอกจะจางลง พอกดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อดอกร่วงโรยแล้วจะเห็นผลเป็นรูปทรงกระบอก[1],[6]
ผลหญ้าดอกขาว ผลชนิดผลแห้งเมล็ดล่อน มีเมล็ดเดียว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแคบสีน้ำตาลเข้ม เปลือกแข็งและแห้งไม่แตก ยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร และยาน้อยกว่า 0.5 มิลลิเมตร ด้านบนมีขนสีขาวปกคลุม ผลเป็นพู่แตกบาน ช่วยทำให้เมล็ดลอยไปตามลมได้[1],[6
] สรรพคุณของหญ้าดอกขาว ทั้งต้นมีรสขมชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ มีสรรพคุณทำให้เลือดเย็น เป็นยาแก้พิษ (ทั้งต้น)[1] ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษเช่นกัน ด้วยการใช้เมล็ดแห้ง 2-4 กรัม นำมาป่นให้ละเอียด ใช้ชงกับน้ำร้อนกิน (เมล็ด)[6],[7] ตำรายาพื้นบ้านจะใช้ทั้งต้น 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วย ใช้ดื่มต่างน้ำชาเป็นยาบำรุงเลือด แก้ตกเลือด (ทั้งต้น)[2] ช่วยบำรุงกำลัง (ทั้งต้น)[5] เมล็ดป่นใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาบำรุงธาตุ (เมล็ด)[6],[7] หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ให้ใช้ทั้งต้นนำมาตากแห้งไว้ต้มกินเป็นประจำ (ทั้งต้น)[3],[6] ตำรับยาลดความดันโลหิตสูงอีกวิธีให้ใช้ลำต้นแห้งของหญ้าดอกขาว ต้นแห้งของสะพานก๊น และต้นแห้งของส้มดิน อย่างละ 15 กรัม เท่ากัน นำมารวมกันแล้วต้มเอาน้ำกิน[7] ใช้เป็นยาลดไข้ แก้ตัวร้อน แก้ไข้หวัดแดดตัวร้อน แก้ไอ แก้ไอหวัด แก้ไข้ทับระดู ไข้มาลาเรีย (ทั้งต้น)[1],[2],[3],[5],[6] ตำรับยาแก้ไข้หวัด แก้ไอ ให้ใช้คนทีเขมาแห้ง ใบไทรย้อยใบทู่แห้ง และรากบ่อฮ๋วมแห้ง อย่างละ 15 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกิน[7] ใช้เป็นยาล้างปอดได้ดี จึงนำมาใช้แก้อาการไอ เจ็บคอ และหอบ รวมไปถึงการช่วยลดเสมหะและน้ำมูกเวลาเป็นหวัด (ทั้งต้น)[3] เมล็ดนำมาป่นให้ละเอียดใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้ไอ ไอเรื้อรัง (เมล็ด)[4],[6],[7] หรือจะใช้รากนำมานำมาต้มเอาน้ำกินก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอเรื้อรังเช่นกัน ถ้าเป็นรากสดใช้ 30-60 กรัม ถ้าเป็นรากแห้งใช้ 15-30 กรัม (ราก)[6],[7] ใบมีรสเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้หืด แก้หลอดลมอักเสบ (ใบ)[5] ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ[5], ทั้งต้น[1]) ช่วยแก้ประสาทอ่อน แก้นอนไม่หลับ (ทั้งต้น)[1] ใบใช้ตำผสมกับน้ำนมคน แล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้เป็นยาหยอดตาแก้ตาแดง ตาเปียก ตาแฉะ (ใบ)[2],[5],[6] ช่วยแก้เต้านมอักเสบ (ทั้งต้น)[1] ทั้งต้นใช้ตำให้ละเอียดเป็นยาพอกแก้นมคัด (ทั้งต้น)[4],[5],[6] ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ (ทั้งต้น)[2],[5],[6] เมล็ดป่นใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้ท้องอืด (เมล็ด)[6],[7] ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องขึ้น ท้องร่วง โรคกระเพาะ (ทั้งต้น)[2],[3],[4],[5],[6] ใช้เป็นยาแก้บิด (ใบ[5], ทั้งต้น[1]) ใช้เป็นยาขับพยาธิ ด้วยการใช้รากสด 30-60 กรัม (แห้งใช้ 15-30 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำกิน (ราก[6],[7], ทั้งต้น[1]) ใช้เมล็ดแห้งประมาณ 2-4 กรัม นำมาป่นให้ละเอียดใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาขับพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย (เมล็ด)[4],[5],[6],[7] ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด ด้วยการใช้รากสด 30-60 กรัม ถ้าเป็นแห้งให้ใช้ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ราก[6],[7], ใบ[5], ทั้งต้น[3]) เมล็ดป่นใช้ชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้ปัสสาวะขัด (เมล็ด)[4],[6],[7] ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ทั้งต้น)[5],[6] ทั้งต้นนำมาคั้นเอาน้ำดื่มช่วยกระตุ้นให้เจ็บท้องคลอด ขับรก ขับระดูของสตรี (ทั้งต้น)[5] รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาช่วงเร่งคลอด และขับรกหลังคลอด (ราก)[6],[7] ใช้เป็นยาแก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบเฉียบพลัน (ทั้งต้น)[1],[2],[5],[6] ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ทั้งต้นและรากหญ้าดอกขาว นำมาตากแห้งบดเป็นผง ใช้เป็นยารักษาแผลสด แผลเรื้อรัง ผิวหนังพุพอง และใช้ห้ามเลือด (ทั้งต้น)[2],[6] ใบสดใช้ตำพอกปิดแผล เป็นยาสมานแผล (ใบ)[2],[5],[6] ช่วยรักษาแผลบวมอักเสบ ดูดฝีหนอง แก้บวม (ทั้งต้น)[4],[5],[6] ใช้แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคัน (ทั้งต้น)[1] ใบใช้ตำพอกแก้กลากเกลื้อน เรื้อนกวาง (ใบ)[2],[5],[6] เมล็ดใช้ตำพอกหรือนำมาป่นชงกับน้ำร้อนกินเป็นยาแก้โรคผิวหนัง โรคผิวหนังเรื้อรัง ผิวหนังด่างขาว (เมล็ด)[5],[6],[7] ช่วยรักษาแผลเบาหวาน ด้วยการใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้นรวมรากประมาณ 1-2 กำมือ นำมาต้มกับน้ำประมาณ 6-8 แก้ว เมื่อยาเดือด ก็ปล่อยให้เดือดกรุ่นไปสัก 5-10 นาที จนได้น้ำยาสีเหลืองแบบชา หรือจะตากแห้งนำมาต้มหรือใช้ชงกินต่างน้ำชาก็ได้ (ทั้งต้น)[3] ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้พิษงู ฝีหนอง งูสวัด แผลกลาย ผ้ำ (การติดเชื้อมีหนองในเนื้อเยื่อลึกๆ ดูคล้ายฝีแต่ไม่ใช่ฝี) (ทั้งต้น)[1],[3] ตำรับยาแก้ผ้ำหรืออาการติดเชื้อมีหนองในเนื้อเยื่อลึกๆ คล้ายฝีแต่ไม่ใช่ฝี ให้ใช้หญ้าดอกขาวนำมาต้มเอาไอรมแผลบริเวณเป็น เมื่อยาเย็นลงแล้วให้เอาน้ำต้มยามาล้างแผล 1 วัน รม 3 ครั้ง 3 วันก็จะหาย โดยให้ใช้ยาหม้อเดิมทั้ง 3 วัน (ทั้งต้น)[3] ช่วยรักษาโรคเท้าช้าง (ใบ[5], ทั้งต้น[1]) ตำรับยาแก้ฟกช้ำ ให้ใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้น ฝาง บัวบก ยาหัว และเถาไม้กระเบื้องต้น (แก้มขาว) นำมาต้มกับน้ำกินจนหาย (ทั้งต้น)[3] ใช้แก้เหน็บชา แขนขาไม่มีแรง ให้ใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้น และกิ่งก้านของใบทองพันชั่ง นำมาต้มกับน้ำกินแทนน้ำชา (ทั้งต้น)[3] ใช้รักษาอาการปวด ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเข่าด้วยการใช้หญ้าดอกขาวนำมาต้มกินเช่นเดียวกับการรักษาแผลเบาหวาน (ทั้งต้น)[3] ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะรดที่นอน แก้เด็กกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ให้ใช้ลำต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาชงกับน้ำร้อนกินเป็นชา (ทั้งต้น)[2],[5],[6],[7] เมล็ดมีเฝื่อน ใช้ตำพอกช่วยกำจัดเหา (เมล็ด)[5] ใช้ลดอาการอยากบุหรี่ ด้วยการใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้นประมาณ 2-3 ต้น ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มเดือด 10 นาที ใช้กินบ่อยๆ หรือจะใช้ในรูปแบบชาชงในขนาด 3 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารก็ได้ (ทั้งต้น)[3] นอกจากนี้การแพทย์โบราณและการแพทย์พื้นบ้านในหลายๆ ประเทศ ก็มีการใช้หญ้าดอกขาวเพื่อบรรเทาโรคและอาการต่างๆ จำนวนมาก เช่น มะเร็ง โรคทางเดินอาหาร โรคตับ โรคหืด ไข้มาลาเรีย ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ เยื่อตาอักเสบ อาการปวด อักเสบ โดยในกัมพูชาจะใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาลดไข้ในผู้ป่วยโรคมาลาเรีย ส่วนอินเดียจะใช้น้ำคั้นจากหญ้าดอกขาวเพื่อบรรเทาอาการปัสสาวะขัดในเด็ก บรรเทาอาการไอ ส่วนเมล็ดใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม พยาธิเส้นด้าย เป็นต้น[6] หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม [1] ถ้าใช้ต้นสดให้ใช้ครั้งละ 35-60 กรัม ส่วนต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 20-35 กรัม ถ้าใช้ภายนอกก็ให้กะใช้พอประมาณ[1] ส่วนวิธีการใช้ตาม [6] ถ้าเป็นส่วนของทั้งต้นให้เลือกใช้ลำต้นแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนเมล็ดให้ใช้เมล็ดแห้งประมาณ 2-4 กรัม นำมาป่นให้ละเอียดใช้ชงกับน้ำร้อนกิน ส่วนรากสดให้ใช้ครั้งละ 30-60 กรัม ถ้ารากแห้งให้ใช้ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน[6] advertisements ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าดอกขาว สารที่พบได้แก่ พบสารจำพวก Flavonoid glycoside, Phenols, Amino acids เป็นต้น[1] น้ำต้มจากส่วนที่อยู่เหนือดินมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบของเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการปวดและลดความดันโลหิตในสัตว์ทดลอง[2] ใบหญ้าดอกขาวมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้เล็กน้อย แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อมาลาเรีย[1],[7] สารสกัดจากต้นด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้หนู และเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง[2] เมล็ดและรากหญ้าดอกขาวมีฤทธิ์สามารถฆ่าเชื้อพยาธิได้[1],[7] ในปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ของสมุนไพรชนิดนี้ โดยพบว่ามีฤทธิ์เป็นยาลดไข้ ต้านมาลาเรีย ต้านเบาหวาน ต้านการกระจายตัวของมะเร็ง ต้านไม่ให้รังสีแกมมาทำลายเซลล์ ขับปัสสาวะ ป้องกันไตไม่ให้ถูกทำลาย ต้านแบคทีเรีย ต้านการเกิดแผล แก้ปวด ต้านการอักเสบ ลดการอักเสบ ช่วยคลายกล้ามเนื้อเรียบ เป็นต้น[3],[6] รวมทั้งยังมีฤทธิ์การยับยั้งการกินอาหารของแมลงบางชนิด ส่วนการวิจัยใหม่ๆ จะมุ่งเน้นศึกษาฤทธิ์ต้านการเติมออกซิเจนและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างมาก[6] ต้น ใบ และรากของหญ้าดอกขาวมีสารสำคัญคือ Sodium nitrate ทำให้ลิ้นชา ช่วยลดอาการอยากบุหรี่ได้[5] จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของหญ้าดอกขาวกับยาหลอกในการลดการสูบบุหรี่ พบว่า หญ้าดอกขาวสามารถช่วยลดการสูบบุหรี่ลงได้มากกว่ากลุ่มควบคุม และพบว่าสมุนไพรหญ้าดอกขาวในรูปแบบการนำไปเคี่ยว คือการนำหญ้าดอกขาวแห้ง 20 กรัม ผสมกับน้ำ 3 แก้ว แล้วต้มเคี่ยวจนเหลือเพียง 1 แก้ว แล้วนำมาอมไว้ในปากประมาณ 1-2 นาทีแล้วค่อยกลืน จากนั้นจึงค่อยสูบบุหรี่ จะทำให้รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนทำให้ไม่อยากสูบยุหรี่ในที่สุด และลดจำนวนของมวนบุหรี่ที่ใช้สูบต่อวันได้อย่างรวดเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ไม่ว่าจะสูบเบาหรือสูบหนักมาก่อนก็ตาม และจากการวิจัยพบว่าหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน จะช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ได้ถึง 60% และหากออกกำลังกายร่วมด้วยก็จะช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้ 62% และที่สำคัญยังช่วยทำให้คนเลิกบุหรี่ได้สูงถึง 60-70% หากออกกำลังกายร่วมด้วย[3],[4] จากการศึกษาผู้ติดบุหรี่พบว่าหลังการรักษาด้วยสมุนไพรหญ้าดอกขาวเป็นระยะเวลา 4 เดือน ผู้ติดบุหรี่มีอัตราการเลิกสูบบุหรี่ร้อยละ 69.35 โดยเหตุผลสำคัญของการเลิกสูบบุหรี่ คือ ชาลิ้น กินอาหารไม่อร่อย ไม่รู้สึกอยากบุหรี่ รู้สึกเหม็นกลิ่นบุหรี่ เมื่อสูบแล้วรู้สึกอยากอาเจียน ส่วนผู้ที่ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ให้เหตุผลว่า การดื่มชาสมุนไพรชนิดนี้ก็เหมือนกับการดื่มน้ำธรรมดา โดยไม่มีอาการใดๆ[5] ส่วนการศึกษาด้านความปลอดภัย พบว่าสมุนไพรชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง[3] ซึ่งจากการศึกษาด้านพิษวิทยาพบว่าสารสกัดในเมทานอลไม่เกิดให้เกิดพิษเฉียบพลันในหนูเมื่อให้ทางปาก โดยมีค่า LD50 สูงกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม[6] ประโยชน์ของหญ้าดอกขาว ปัจจุบันมีการใช้หญ้าดอกขาวเป็นยาแก้อาการติดบุหรี่ เพราะกินแล้วจะทำให้เหม็นบุหรี่และไม่อยากสูบบุหรี่อีก ซึ่งทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งนำหญ้าดอกขาวไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2547 ได้มีการจดสิทธิบัตรในอเมริกา โดยนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น ที่ใช้สารสกัดจากหญ้าดอกขาวใส่ลงไปในก้นกรองของบุหรี่เพื่อช่วยลดความอยากสูบบุหรี่[3] นอกเหนือจากจะทำให้เลือกบุหรี่ได้แล้ว ยังช่วยทำให้สมรรถภาพทางกายดีขึ้นอีกด้วย เลือดจะมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่คั่งค้างในปอดลดลงอย่างชัดเจน และที่สำคัญผลข้างเคียงของการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีนี้ก็มีน้อยมาก (เช่น มีอาการกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย สมาธิแปรปรวน)[3] เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง มีสรรพคุณมากมาย กินง่าย มีรสชาติดีเยี่ยม จึงได้มีการพัฒนาเป็นยาในรูปแบบชง แบบชาชง แบบแคปซูล แบบลูกอมเม็ดแข็ง แบบลูกกวาดนุ่ม แบบหมากฝรั่ง แบบแผ่นฟิล์มละลายเร็ว และแบบผลิตภัณฑ์กาแฟผสมหญ้าดอกขาว ที่สามารถหาซื้อได้ง่ายและนำไปใช้ประโยชน์กันได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบันชาหญ้าดอกขาวถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2555 ในส่วนยาพัฒนาจากสมุนไพรสำหรับลดความอยากบุหรี่ในรูปแบบชง ใช้กินครั้งละ 2 กรัม โดยชงกับน้ำร้อนประมาณ 120-200 มิลลิเมตร ใช้กินหลังอาหารวันละ 3-4 ครั้ง ส่วนในรูปแบบชาชง ก็คือการนำหญ้าดอกขาวแห้งมาบดเป็นผงละเอียด แล้วบรรจุลงในถุงชาขนาดเล็ก วิธีรับประทานก็ให้นำถุงชามาจุ่มลงในน้ำร้อนแล้วทิ้งไว้สักครู่ แล้วนำมาอมไว้ในปากประมาณ 1-2 นาทีเช่นเดียวกับแบบชงดื่ม ส่วนในรูปของยาอมแบบอัดเม็ด ก็มาจากการนำหญ้าดอกขาวมาเคี่ยวแล้วทำให้เป็นผงแห้งก่อนการอัดเม็ด รูปแบบนี้ทำให้พกพาง่ายและสะดวก ก่อนจะสูบบุหรี่ทุกครั้งก็ให้นำมาอมไว้ในปากจนละลายหมดแล้วจึงค่อยสูบบุหรี่ ก็จะช่วยทำให้เลิกบุหรี่ได้ครับ (ประสิทธิภาพในรูปแบบอมจะได้ผลเร็วกว่ารูปแบบชงชาและแบบเคี่ยวมาก)[3],[4] แม้สมุนไพรชนิดนี้จะมีประโยชน์อยู่มากก็ตาม แต่ก็มีข้อเสียที่อาจเป็นประโยชน์อยู่ด้วย นั้นก็คือ เมื่อกินยาชนิดแล้วจะทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ทำให้ไม่อยากอาหาร (ควรระวังในการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไตเนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีโพแทสเซียมสูง) ด้วยเหตุนี้หญ้าดอกขาวจึงอาจมปีประโยชน์ในควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย[3] References หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “หญ้าหมอน้อย”. หน้า 604. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เสือสามขา”. หน้า 223. ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. “หญ้าดอกขาว หมอข้างกาย ทางสบายเลิกบุหรี่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_herbal/. [13 ก.ค. 2014]. เดลินิวส์ 5 สิงหาคม พ.ศ.2555. “หญ้าดอกขาว สมุนไพรช่วยเลิกบุหรี่”. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “หญ้าดอกขาวกับการลดการอยากบุหรี่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.cmu.ac.th/dic/newsletter/newpdf/newsletter10_6/smokingherb.pdf. [14 ก.ค. 2014]. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2553. (อรลักษณา แพรัตกุล). “องค์ประกอบทางเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพของหมอน้อย และแนวทางการพัฒนาตำรับเพื่อใช้ช่วยเลิกบุหรี่”. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, พิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หมอน้อย”. หน้า 819-820. ภาพประกอบ : www.flickr.com (by 翁明毅, eddy lee, u20202003, Hamid, Dinesh Valke, CANTIQ UNIQUE) เรียบเรียงข้อมูลโดย ฟ ริ น น์ .com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น