1. หมีเหม็น หรือ หมี่ (Litsea glutinosa)
มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ สารเมือก (mucilage) ในกลุ่ม polysaccharide และพบสารกลุ่มอัลคาลอยด์ เช่น laurelliptine, N-acetyl- laurelliptine, laruotetanine, N-acetyl-laurotetanine, N-methyl-laurotetanine, liriodenine, litseferine, และ sebiferine เป็นต้น สรรพคุณตามตำรายาไทยใช้ใบขยี้กับน้ำสระผม หรือพอกศีรษะเพื่อฆ่าเหา และมีผลการวิจัยระบุว่า ตำรับแชมพูซึ่งมีสารสกัดเอทานอล และน้ำคั้นจากใบหมี่เป็นส่วนประกอบ มีผลช่วยลดอัตราการร่วงของผมอาสาสมัครลง 23.46 และ 28.356% ตามลำดับ
2. ว่านมหาเมฆ (Curcuma aeruginosa)
มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ curcumenol, curdione, curzerenone, isofrtungermacrene, germacene, และ zedoarone เป็นต้น มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์กับเส้นผมระบุว่า โลชั่นบำรุงเส้นผมที่มีน้ำมันหอมระเหยจากว่านมหาเมฆเป็นส่วนประกอบ 1-5% สามารถช่วยลดอาการผมร่วงได้
3. ทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus)
มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ carboxylic acid, flavonoid, glycoside, phenols, pmino acid, rhinacanthins และ rhinacanthone เป็นต้น มีสรรพคุณ ใช้ใบรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคันเรื้อรัง ช่วยลดผมร่วง แก้โรคผิวหนัง ขจัดเชื้อราและแบคทีเรียที่รากผม กระตุ้นการงอกของเส้นผมทำให้ผมดำเป็นเงางามโดยสารกลุ่ม naphthoquinones เช่น rhinacanthin-C, rhinacanthin-D, rhinacanthin-N มีทธิ์ต้านเชื้อรา นอกจากนี้มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์กับเส้นผมระบุว่า สากสกัดเอทิลแอลกอฮอล์จากต้นทองพันชั่งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5-reductase ซึ่งเอนไซม์ที่ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมน dihydrotestosterone (DHT) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการผมร่วง
4. ขลู่ (Pluchea indica)
มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ สารกลุ่ม cauhatemone และ saponin และสารประเภทเกลือแร่ เช่น sodium chloride และ potassium ไม่พบการใช้ประโยชน์ทางพื้นบ้านหรือการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบำรุงผมหรือหนังศีรษะ
5. คนทีสอทะเล (Vitex rotundifolia)
มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ สารกลุ่มโพลีฟีนอล สรรพคุณตามตำรายาไทยใช้ใบขยี้สระผมหรือใช้หมักผมช่วยฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ และมีผลการวิจัยระบุว่า ตำรับแชมพูซึ่งมีสารสกัดจากใบคนทีสอทะเลเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งอาการผมร่วงและกระตุ้นการเจริญของเส้นผมได้
6. อัญชัน (Clitoria ternatea)
สารออกฤทธิ์สำคัญคือ anthocyanin และสารในกลุ่ม phenolic สรรพคุณตามตำรายาไทยใช้ดอกสระผมเป็นยาแก้ผมร่วง และมีผลการวิจัยระบุว่า สารสกัดเอทานอลจากดอกอัญชันมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase ช่วยลดอาการผมร่วง และมีฤทธิ์การกระตุ้นเอนไซม์ tyrosinase ที่มีบทบาทในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดสีเมลานิน ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่ของการช่วยชะลออาการผมหงอกก่อนวัยได้
เอกสารอ้างอิง :
1. หนังสือองค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน
3. ฐาน PHARM
มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ สารเมือก (mucilage) ในกลุ่ม polysaccharide และพบสารกลุ่มอัลคาลอยด์ เช่น laurelliptine, N-acetyl- laurelliptine, laruotetanine, N-acetyl-laurotetanine, N-methyl-laurotetanine, liriodenine, litseferine, และ sebiferine เป็นต้น สรรพคุณตามตำรายาไทยใช้ใบขยี้กับน้ำสระผม หรือพอกศีรษะเพื่อฆ่าเหา และมีผลการวิจัยระบุว่า ตำรับแชมพูซึ่งมีสารสกัดเอทานอล และน้ำคั้นจากใบหมี่เป็นส่วนประกอบ มีผลช่วยลดอัตราการร่วงของผมอาสาสมัครลง 23.46 และ 28.356% ตามลำดับ
2. ว่านมหาเมฆ (Curcuma aeruginosa)
มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ curcumenol, curdione, curzerenone, isofrtungermacrene, germacene, และ zedoarone เป็นต้น มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์กับเส้นผมระบุว่า โลชั่นบำรุงเส้นผมที่มีน้ำมันหอมระเหยจากว่านมหาเมฆเป็นส่วนประกอบ 1-5% สามารถช่วยลดอาการผมร่วงได้
3. ทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus)
มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ carboxylic acid, flavonoid, glycoside, phenols, pmino acid, rhinacanthins และ rhinacanthone เป็นต้น มีสรรพคุณ ใช้ใบรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคันเรื้อรัง ช่วยลดผมร่วง แก้โรคผิวหนัง ขจัดเชื้อราและแบคทีเรียที่รากผม กระตุ้นการงอกของเส้นผมทำให้ผมดำเป็นเงางามโดยสารกลุ่ม naphthoquinones เช่น rhinacanthin-C, rhinacanthin-D, rhinacanthin-N มีทธิ์ต้านเชื้อรา นอกจากนี้มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์กับเส้นผมระบุว่า สากสกัดเอทิลแอลกอฮอล์จากต้นทองพันชั่งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5-reductase ซึ่งเอนไซม์ที่ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมน dihydrotestosterone (DHT) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการผมร่วง
4. ขลู่ (Pluchea indica)
มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ สารกลุ่ม cauhatemone และ saponin และสารประเภทเกลือแร่ เช่น sodium chloride และ potassium ไม่พบการใช้ประโยชน์ทางพื้นบ้านหรือการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบำรุงผมหรือหนังศีรษะ
5. คนทีสอทะเล (Vitex rotundifolia)
มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ สารกลุ่มโพลีฟีนอล สรรพคุณตามตำรายาไทยใช้ใบขยี้สระผมหรือใช้หมักผมช่วยฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ และมีผลการวิจัยระบุว่า ตำรับแชมพูซึ่งมีสารสกัดจากใบคนทีสอทะเลเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งอาการผมร่วงและกระตุ้นการเจริญของเส้นผมได้
6. อัญชัน (Clitoria ternatea)
สารออกฤทธิ์สำคัญคือ anthocyanin และสารในกลุ่ม phenolic สรรพคุณตามตำรายาไทยใช้ดอกสระผมเป็นยาแก้ผมร่วง และมีผลการวิจัยระบุว่า สารสกัดเอทานอลจากดอกอัญชันมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase ช่วยลดอาการผมร่วง และมีฤทธิ์การกระตุ้นเอนไซม์ tyrosinase ที่มีบทบาทในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดสีเมลานิน ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่ของการช่วยชะลออาการผมหงอกก่อนวัยได้
เอกสารอ้างอิง :
1. หนังสือองค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน
3. ฐาน PHARM
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น