วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563

ฟ้าทะลายโจร งานวิจัยและสรรพคุณ 18ข้อ

ฟ้าทะลายโจร งานวิจัยและสรรพคุณ 18ข้อ
สั่งซื้อ แบบบดหรือแคปซูล โทร+ไลน์ 0809898770
(ตอนนี้มันแพงโลละ 500 บาท ค่าส่ง 50บาท โอนเงินก่อน ตอนปกติมัน 380บาทรวมส่งเท่านั้นเอง)



ชื่อสมุนไพร ฟ้าทะลายโจร
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น น้ำลายพังพอน , ขุนโจรห้าร้อย (ภาคกลาง,กรุงเทพ), สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) , ฟ้าสาง (สกลนคร) , เขยตายายคลุม (ราชบุรี) , หญ้ากันงู (สงขลา) , ฟ้าสะท้าน (พัทลุง) , เมฆทะลาย (ยะลา) ,ชวนซิน ,เจ๊กเกี้ยงฮี้ , โขว่เซ่า , ซีปังฮี (จีน)
ชื่อสามัญ Kariyat, Creat, Herba  Andrographis, Indian Echinace
ชื่อวิทยาศาสตร์  Andrographis paniculata (Burm. f .) Nees
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees
วงศ์  Acanthaceae



ถิ่นกำเนิดฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจรเป็นไม้ล้มลุกในตระกูลเดียวกับโหระพาหรือกระเพรา มีถิ่นกำเนิด และพบแพร่กระจายตามประเทศต่างๆในทวีปเอเซีย ซึ่งจัดเป็นสมุนไพรท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียรวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย จีน ศรีลังกา ไทย และยังใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วทวีปเอเชีย โดยนิยมนำส่วนของใบและลำต้นใต้ดินมาทำเป็นยารักษาโรค โดยเป็นพืชล้มลุกที่มีรสขมจัด จนขึ้นชื่อว่าเป็นจ้าวแห่งความขม “King of the Bitterness”  ในปัจจุบันสามารถพบฟ้าทะลายโจรได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน อินเดีย ศรีลังกา และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียนส่วนในประเทศไทยนั้นสามารถพบได้ทุกภาคของประเทศ และยังเป็นสมุนไพรที่กำลังได้รับความนิยมในการนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคอีกด้วย



ประโยชน์และสรรพคุณฟ้าทะลายโจร 
ใช้ดับร้อน  แก้พิษ
รักษาไข้ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
ระงับอักเสบในอาการไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ
แก้กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ
รักษาโรคผิวหนัง ฝี
ช่วยทำให้เจริญอาหาร
ลดความดันโลหิต
รักษาอาการคางทูม หูชั้นกลางหรือปากอักเสบ
ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น
ช่วยบรรเทาอาการจากโรคหวัดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง
ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
ลดการแข็งตัวของเลือด
ช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
รักษาโรคข้อรูมาตอยด์
รักษาโรคภูมิต้านตนเองหรือแพ้ภูมิตนเอง
ช่วยแก้อาการปวดหัวตัวร้อน
ช่วยลดการติดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ
ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนอง

รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้ฟ้าทะลายโจร

แก้บิดจากแบคทีเรีย (บิดไม่มีตัว หรือบิดชิเกลล่า) ลำไส้อักเสบ ใช้ใบสด 10-15 กรัม ต้มน้ำผสมน้ำผึ้งกิน
แก้บิดจากแบคทีเรียอย่างเฉียบพลัน ลำไส้อักเสบ กระเพาะอักเสบ ใช้ต้นแห้ง 10-15 กรัม ต้มน้ำ กินวันละชุด แบ่งกินเป็น 2 ครั้ง เช้า-เย็น
แก้หวัด มีไข้ ปวดหัว ท้องเสีย ใช้ต้นแห้งบดเป็นผง ผสมน้ำสุก กินครั้งละ 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง
แก้ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ ใช้ต้นแห้งบดเป็นผงผสมน้ำสุก กินครั้งละ 3 กรัม วันละ 3-4 ครั้ง
แก้หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ใช้ใบแห้ง 10 กรัม ต้มน้ำกิน
แก้วัณโรคปอดในระยะเริ่มแรก ใช้ใบแห้งบกเป็นผงผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดเมล็ดถั่วเหลือง กินครั้งละ 15-30 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง กับน้ำสุก ใช้ต้นแห้ง 15 กรัม ใบจับไต่กงเล้า (Mahonia bealei (Fort) Carr) 15 กรัม เถาฮงเสี่ยโกยฮ๊วย (Milletia reticulate Benth) 30 กรัม ต้มน้ำ แบ่งให้กินเป็น 2 ครั้ง วันละ 1 ชุด ติดต่อกัน 15-30 วัน เป็น 1 รอบ ของการรักษา
แก้ไอกรน ใช้ใบ 3 ใบ ชงน้ำ ผสมน้ำผึ้งกินวันละ 3 ครั้ง
แก้ความดันโลหิตสูง จนมีอาการปรากฏให้เห็น ใช้ใบ 5-7 ใบ ชงน้ำกินวันละหลายๆ ครั้ง
แก้ปากอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ใช้ใบแห้งบดเป็นผงหนัก 3-5 กรัม ผสมน้ำผึ้งกินร่วมกับน้ำ
แก้คออักเสบ ใช้ต้นสดเคี้ยวกลืนช้าๆ ให้ฆ่าเชื้อที่บริเวณลำคอ
แก้ไส้ติ่งอักเสบ ใช้ต้นแห้ง 25 กรัม กับดอกเบญจมาศสวน (Chrysanthemum indicum L.) 30 กรัม ต้มน้ำกินวันละ 2 ชุด
แก้จมูกอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ปอดฟัน ใช้ต้นแห้ง 10-15 กรัม ต้มน้ำกินหรือใช้ต้นสดตำคั้นเอาน้ำหยอดหูอีกด้วย
แก้โรคหนองใน ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ใช้ใบสด 10-15 ใบ ตำผสมน้ำผึ้งชงน้ำกิน
แก้บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้ใบแห้งบดเป็นผงละเอียดผสมน้ำมันพืชทา หรือใช้ใบสดต้ม เอาน้ำที่ต้มเย็นแล้วมาชะล้างบาดแผล
แก้พิษงูกัด ใช้ใบสดตำ เอาไปอังเหนือควันไฟจนติดน้ำมันจากควันไฟ เอามาพอกที่ปากแผล หรือใช้ใบแห้ง 10-15 กรัม ต้มน้ำกิน ใช้ต้นสด 30 กรัม ร่วมกับ Paris polyphylla 10 กรัม ฮั่งชิ้งเช่า (Scutellaria indica L.) เลือกเอาแบบใบแคบ 30 กรัม จั่วจิเช่า ชนิดดอกขาว (Oldenlandia diffusa Roxb) 30 กรัม ต้มน้ำกินวันละ 1-2 ชุด
แก้ผด ผื่นคัน ใช้ผงยานี้ 30 กรัม ผสมน้ำมันพืชลงไป จนมีปริมาตร 100 ม.ล. ใช้ทาบริเวณที่เป็น
การใช้ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)

ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการท้องเสีย โดยใช้แคปซูลของผงใบฟ้าทะลายโจรขนาด 250 มิลลิกรัม จำนวน 2 แคปซูล รับประทาน 4 ครั้งต่อวัน

ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการไอและเจ็บคอ โดยนำใบฟ้าทะลายโจรสดตากแห้งในร่ม บดเป็นผงละเอียด นำมาปั้นเป็นยาลูกกลอน ขนาดปลายนิ้วก้อย ผึ่งลมให้แห้ง รับประทาน 3-6 เม็ด วันละ 4 ครั้ง 3 เวลา หลังอาหารและก่อนนอน หรือใช้แคปซูลของผงใบฟ้าทะลายโจร ขนาด 250 มิลลิกรัม จำนวน 2 แคปซูล รับประทานวันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน

ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาฝี โดยนำใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ แล้วเอาเกลือ 3 เม็ด ใส่ผสมตำรวมกันในครกพอละเอียดดี เอาสุราครึ่งถ้วยชา น้ำครึ่งช้อนชา ใส่รวมลงไปคนให้เข้ากันดีเทน้ำกินค่อนถ้วยชา กากที่เหลือพอกแผลฝี แล้วเอาผ้าสะอาดพันไว้ พอกใหม่ๆจะรู้สึกปวดนิดหน่อย

ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาแคปซูล ยาเม็ด ที่มีผงฟ้าทะลายโจรแห้ง 250 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัม บรรเทาอาการท้องเสียไม่ติดเชื้อ รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 2 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร บรรเทาอาการเจ็บคอ รับประทานวันละ 3 – 6 กรัม แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน บรรเทาอาการหวัด รับประทานวันละ 1.5 – 3 กรัม แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน  การใช้เพื่อรักษาหรือบรรเทาโรคอื่น หรือใช้บำรุงร่างกาย ควรต้มน้ำดื่มหรือรับประทาน 1-3 กรัม หลังอาหาร 1-7 วัน และควรเว้นระยะการกิน 3-4 วัน เพื่อลดผลที่อาจเกิดจากการสะสมของสารหรือได้รับสารในปริมาณมากในร่างกาย






ลักษณะทั่วไปฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจรเป็นไม้พุ่มเตี้ยสูง 40-80 ซ.ม. ลำต้นลักษณะสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามาก ทั้งต้นมีรสขมมาก ใบออกตรงข้ามกัน ตัวใบยาวรีปลายใบเรียวแหลม ยาว 2-8 ซ.ม. กว้าง 1-3 ซ.ม. ขอบใบมีรอยหยักเล็กน้อยเกือบเรียบ ก้านใบสั้นจนแทบจะเรียกว่า ไม่มีก้านใบ ดอกออกจากซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีสีเขียว ยาวประมาณ 3 ม.ม. ส่วนโคนติดกันปลายแยกเป็น 5 กลีบเรียวแหลมกลีบดอกติดกันเป็นหลอดสีขาว ปลายแยกเป็น 2 ซีกใหญ่ๆ คล้ายปาก ซีกบนขนาดใหญ่กว่าซีกล่าง

ส่วนปลายยังแบ่งเป็นกลีบเล็กๆ 3 กลีบ มีรอยกระสีม่วง ซีกล่างมีขนาดเล็ก ส่วนปลายมีรอยแยกเป็น 2 กลีบสีขาว เกสรตัวผู้มี 2 อัน ติดกับกลีบดอก ก้านเกสรเป็นเส้นสีขาวบางๆ ยื่นออกมา 2 เส้น มีขนนุ่มๆ ปกคลุมอยู่ ปลายมีอับเรณูสีม่วงดำ ก้านเกสรตัวเมียเป็นเส้นยาวๆ บางๆ สีแดงอมาแตะที่อับเรณูของเกสรตัวผู้ รังไข่มี 1 อัน ผลเป็นฝักทรงกระบอกแบนมีร่องลึกตรงกลางด้านแบบทั้งสองด้าน ฝักยาวประมาณ 1.5 ซ.ม. กว้าง 0.5 ซ.ม. ฝักแก่แล้วแตกตามรอยข้าง ฝักแบ่งเป็น 2 ซีก โดยมีร่องลึกนั้นอยู่ที่ซีกละร่อง เมล็ดสีส้มแดงแข็ง ดูค่อนข้างโปร่งแสง ฝักหนึ่งมีเมล็ดหลายเมล็ด


การขยายพันธุ์ฟ้าทะลายโจร
เป็นพืชล้มลุกนานหลายปี สามารถพบเห็นได้ตามพื้นที่ทั่วไป เป็นพืชที่เติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ชอบดินร่วน ดินมีความชื้น สามารถเติบโตในพื้นที่ที่มีวัชพืชขึ้นหนาได้ดี พบมากทั้งในที่โล่งแจ้งหรือแสงแดดรำไรการขยายพันธุ์ฟ้าทะลายโจรนิยม ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เมล็ดที่ใช้ควรเป็นเมล็ดแก่ที่มีลักษณะสีดำ โดยการหว่านในแปลงดินหรือพื้นที่ว่างทั่วไป รวมถึงการหยอดเมล็ดในกระถาง เมล็ดจะงอกภายใน 1-2 อาทิตย์ ฟ้าทะลายโจรหลังเมล็ดงอกแล้วไม่ต้องการการดูแลมากเหมือนพืชทั่วไป เนื่องจากไม่มีโรคหรือแมลงคอยทำลายมากนัก เพียงคอยกำจัดวัชพืชรอบลำต้นก็สามารถเติบโตได้ดี และไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีแต่อย่างใด แต่ควรคอยให้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และพรวนดินให้ร่วนซุยสม่ำเสมอ สำหรับการเก็บเกี่ยวควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชออกดอกนับตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานร้อยละ 50 เพื่อให้มีปริมาณสารสำคัญสูง ซึ่งพืชจะมีอายุประมาณ 110-150 วัน


องค์ประกอบทางเคมี 
ส่วนเหนือดินฟ้าทะลายโจร มีสารสำคัญจำพวกไดเทอร์พีนแล็กโทน (diterpene lactones) หลายชนิด ได้แก่ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) นีโอแอนโดร-กราโฟไลด์ (neoandrographolide) ดีออกซีแอนโดร-กราโฟไลด์ (deoxyandrographolide) ดีออกซีไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (deoxy-didehydro andrographolide) ทั้งนี้วัตถุดิบฟ้าทะลายโจรที่ดีควรมีปริมาณแล็กโทนรวมคำนวณเป็นแอนโดรกราโฟไลด์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 และไม่ควรเก็บวัตถุดิบไว้ใช้นานๆ เพราะปริมาณสารสำคัญจะลดประมาณร้อยละ 25 เมื่อเก็บไว้ 1 ปี รวมถึงยังมีสารกลุ่มฟลาโวน เช่น aroxylin, wagonin, andrographidine A,paniculide A ,paniculide B , paniculide C , andrographolide , neoandrographolide , deoxyandrographolide-19-B-D-glucopyranoside , deoxyandrographolide , caffeic acid (3, 4- dihydroxy-cinnamicacid) , chlorogenic acid, 3, 5-dicaffeoyl-d-quinic acid , Ninandrographolide

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร                                                       

การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์ลดไข้ เมื่อป้อนส่วนสกัด 85% เอทานอลจากส่วนเหนือดิน ขนาด 2.5 ก./กก. แก่กระต่ายที่ถูกฉีดวัคซีนไทฟอยด์เข้าใต้ผิวหนังเพื่อให้เป็นไข้ พบว่าไข้ลดลง เช่นเดียวกับเมื่อป้อนสารสกัด 95% เอทานอล ขนาด 2 และ 4 มล./กก. แก่หนูขาว albino ที่ถูกฉีดเชื้อยีสต์เข้าใต้ผิวหนังขนาด 300 มก./กก. เพื่อให้เป็นไข้ พบว่าไข้จะลดลงหลังจากที่ได้รับสารสกัด 180 และ 270 นาที และมีความสามารถในการลดไข้เท่ากับยาลดไข้แอสไพริน แต่สารสกัดดังกล่าวไม่สามารถลดไข้หนูขาวที่เป็นไข้เนื่องจากถูกฉีดเชื้อยีสต์ขนาด 600 มก./กก. ส่วนสกัดน้ำ หรือ 50% เอทานอลจากส่วนเหนือดิน เมื่อให้ทางปากกระต่าย ขนาดสูงสุด 5 ก./กก. ไม่สามารถลดไข้กระต่ายที่ถูกทำให้เป็นไข้โดยการฉีดวัคซีนไทฟอยด์เข้าใต้ผิวหนัง  Madav S, et al. พบว่า andrographolide ขนาด 100 มก./กก. ให้ทางสายยางลงสู่กระเพาะอาหารหนูถีบจักร สามารถลดไข้หนูที่ถูกทำให้เป็นไข้โดย Brewer’s yeast

         ส่วนการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยอายุมากกว่า 12 ปี จำนวน 152 คน มีอาการเป็นไข้ และเจ็บคอ มารับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน 6 แห่ง และองค์การเภสัชกรรม แบ่งเป็นกลุ่มแบบสุ่มให้ได้รับยาพาราเซตามอล จำนวน 53 คน  แคปซูลฟ้าทะลายโจรขนาด 3 ก./วัน จำนวน 48 คน ขนาด 6 ก./วัน จำนวน 51 คน กินติดต่อกันนาน 7 วัน พบว่าในวันที่ 3 ของการรักษาผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับพาราเซตามอลหรือแคปซูลฟ้าทะลายโจร ขนาด 6 ก./วัน อาการไข้และอาการเจ็บคอจะหายไปมากกว่ากลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรขนาด 3 ก./วัน แต่ผลการรักษาไม่มีความแตกต่างกันในวันที่ 7 ของการรักษา

ฤทธิ์ลดการอักเสบ เมื่อป้อนส่วนสกัดเอทานอล (85%) จากส่วนเหนือดิน ขนาด 2 ก./กก. แก่หนูขาว พบว่าสามารถลดอาการบวมของอุ้งเท้าหนูที่ถูกทำให้อักเสบโดย carrageenan และฉีดส่วนสกัดน้ำ ส่วนสกัดเอทานอล (50%) และส่วนสกัดเอทานอล (85%) จากส่วนเหนือดินเข้าช่องท้องหนูขาว ขนาด 0.5-2.5, 0.06-0.25 และ 1-2 ก./กก. ตามลำดับ จะสามารถลดอาการบวมของอุ้งเท้าหนูได้ แต่ถ้าป้อนส่วนสกัดน้ำ และส่วนสกัดเอทานอล (50%) จากส่วนเหนือดิน ขนาด 0.125-2 ก./กก. ไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบของอุ้งเท้าหนู

          เมื่อให้ผงใบฟ้าทะลายโจร 500 มก./กก. สารสกัดอัลกอฮอล์จากใบ ขนาด 200 และ 500 มก./กก.  และสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 500 มก./กก. แก่หนูขาว พบว่าสามารถยับยั้งอาการบวมของอุ้งเท้าหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้อักเสบโดย carrageenan ได้เท่ากับ 54.97, 38.01, 53.22 และ 41.23% ตามลำดับ และมีฤทธิ์ใกล้เคียงกับยาต้านการอักเสบ prednisolone ขนาด 5 มก./กก., indomethacin ขนาด 5 มก./กก. และ ibuprofen ขนาด 10 มก./กก. เมื่อให้ผงใบฟ้าทะลายโจร สารสกัดอัลกอฮอล์ และสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 500 มก./กก. จะยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์เม็ดเลือดขาวในหนูขาวที่ถูกฝังสำลีเข้าที่บริเวณหน้าท้อง เท่ากับ 40.67, 45.63 และ 35.25% ตามลำดับ และมีฤทธิ์ใกล้เคียงกับยาต้านการอักเสบ prednisolone และ ibuprofen  และเมื่อให้ผงใบฟ้าทะลายโจร สารสกัดอัลกอฮอล์ และสารสกัดน้ำจากใบ ขนาด 200 และ 500 มก./กก. เท่ากันทั้ง 3 รูปแบบ สามารถยับยั้งการเกิด granuloma ในหนูขาวที่ถูกฝังสำลีเข้าที่บริเวณหน้าท้องทิ้งไว้ 5 วัน เท่ากับ 11.86 และ 19.85%, 15.15 และ 22.78%, 11.76 และ 15.89% ตามลำดับ และมีฤทธิ์ใกล้เคียงกับยาต้านการอักเสบ ibuprofen ผงใบฟ้าทะลายโจรและสารสกัดอัลกอฮอล์มีฤทธิ์ลดการอักเสบมากที่สุด

          สาร andrographolide จากฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้งกระบวนการอักเสบได้ เมื่อป้อนให้หนูขาวในขนาด 30, 100 และ 300 มก./กก. สามารถลดอาการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวที่ถูกทำให้อักเสบโดย carrageenan, kaolin และ nystatin ยับยั้งการเกิด granuloma ในหนูขาวที่ถูกฝังสำลีไว้ที่หน้าท้อง และลดบวมใน adjuvant ซึ่งจะทำให้เกิดข้ออักเสบ andrographolide ขนาด 300 มก./กก. จะยับยั้งการรั่วซึมของ acetic acid ซึ่งจะทำให้เกิด vascular permeability andrographolide ขนาด 20 มคก./มล. จะลดการผลิต a-tumor necrosing factor (ซึ่งเป็น cytokine ที่อยู่ในกระบวนการทำให้เกิดการอักเสบ) ของเม็ดเลือดขาวโมโนซัยท์ ที่ถูกกระตุ้นโดย lipopolysaccharide และเพิ่มการผลิต interleukin-1-b และ interleukin-6 เล็กน้อย ลดการสร้าง a-tumor necrosing factor ในเม็ดเลือดแดงของอาสาสมัครสุขภาพดีที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide ได้มากกว่า 96% แต่ไม่มีผลยับยั้ง interleukin-1-b และ interleukin-6 สาร andrographolide ขนาด 0.1-10 ไมโครโมล ป้องกันการยึดติดและเคลื่อนย้าย (adhesion and transmigration)ของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลที่ถูกเหนี่ยวนำโดย -formyl-methionyl-leucyl-phenylalanine (fMLP) โดยผ่านกระบวนการที่ andrographolide จะไปลดการแสดงออก (up-expression) ของ CD11b และ CD18 และไปแย่ง fMLP จับกับ phorbol-12-myristate-13-acetate (PMA) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้น protein kinase C ที่จะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้าง ROS (reactive oxygen species)  ส่วนสกัดจากสารสกัดฟ้าทะลายโจร (ไม่ระบุชนิดของสารสกัดและส่วนที่ใช้) ความเข้มข้น 100 มค.ก./มล. จะยับยั้งสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดการอักเสบ โดยไปยับยั้ง platelet activating factor (PAF) 82±3% และยับยั้ง fMLP 79±4%  ซึ่งเป็นสารที่ไปกระตุ้น neutrophil granulocyte ให้ผลิตสารที่จะไปทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนั้นสามารถยับยั้ง neutrophil ในการผลิต elastase ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการอักเสบได้ 73±4%   สาร andrographolide ขนาด 1-100 ไมโครโมล จะยับยั้งการผลิต NO ในเซลล์ RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นโดย lipopolysaccharide และ g-interferon ขนาดของสารที่สามารถยับยั้งได้ 50% เท่ากับ 17.4±1.1 ไมโครโมล  นอกจากนี้ยังลด inducible NO synthase protein (iNOS protein) และลดความคงตัวของโปรตีนโดยผ่านกระบวนการ post-transcription และสารสกัดเมทานอลจากใบมีฤทธิ์ลดการสร้าง nitric oxide ของ macrophage ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide โดยสาร andrographolide และ neoandrographolide ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ จะมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง nitric oxide ที่ความเข้มข้น 0.1-100 ไมโครโมล และความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการสร้าง nitric oxide 50% เท่ากับ 7.9 และ 35.5 ไมโครโมล ตามลำดับ ผลในการออกฤทธิ์ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาร เมื่อให้สัตว์ทดลองที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide กิน neoandrographolide ขนาด 5 และ 25 มก./กก./วัน จะยับยั้งการสร้าง nitric oxide 35 และ 40% ตามลำดับ ส่วน andrographolide เมื่อให้ทางปาก ไม่มีฤทธิ์ดังกล่าว (3)  นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพบว่าสาร deoxyandrographolide, didehydrodeoxyandrographolide และ neoandrographolide มีฤทธิ์ลดการอักเสบเช่นกัน

          การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยอายุมากกว่า 12 ปี จำนวน 152 คน มีอาการเป็นไข้ และเจ็บคอ มารับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน 6 แห่ง และองค์การเภสัชกรรม แบ่งเป็นกลุ่มแบบสุ่มให้ได้รับยาพาราเซตามอล จำนวน 53 คน  แคปซูลฟ้าทะลายโจรขนาด 3 ก./วัน จำนวน 48 คน ขนาด 6 ก./วัน จำนวน 51 คน กินติดต่อกันนาน 7 วัน พบว่าในวันที่ 3 ของการรักษาผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับพาราเซตามอลหรือแคปซูลฟ้าทะลายโจร ขนาด 6 ก./วัน อาการไข้และอาการเจ็บคอจะหายไปมากกว่ากลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรขนาด 3 ก./วัน  แต่ผลการรักษาไม่มีความแตกต่างกันในวันที่ 7 ของการรักษา

ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย  สารสกัดเอทานอล 95% จากใบอย่างเข้มข้น และสารสกัดน้ำจากราก ยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ในจานเลี้ยงเชื้อ สารสกัดเอทานอล 80% จากราก ขนาด 12.5 มก./มล. และ 25 มก./มล. ให้ผลไม่ชัดเจนในการยับยั้งเชื้อ Pseudomonas aeruginosa และ S. aureus ในจานเลี้ยงเชื้อ ตามลำดับ และสารสกัดน้ำร้อนจากใบอย่างเข้มข้น ให้ผลไม่ชัดเจนในการยับยั้งเชื้อ S. aureus ในจานเลี้ยงเชื้อเช่นกัน ทดสอบสารสกัดเฮกเซน และสารสกัดน้ำจากฟ้าทะลายโจรทั้งต้น ความเข้มข้น 200 มก./มล. ด้วยวิธี agar well diffusion method ไม่มีผลยับยั้งเชื้อ S. aureus เมื่อป้อนสารแขวนลอยของผงใบและลำต้นฟ้าทะลายโจรแก่หนูขาว (Wistar albino weaning rats) 3 กลุ่มๆ ละ 24 ตัว ขนาด 0.12, 1.2 และ 2.4 ก./กก. นาน 6 เดือน โดยมีหนูอีก 24 ตัว กินอาหารตามปกติ เป็นกลุ่มควบคุม หลังจากนั้นวางยาสลบหนู ดูดเอาเลือดจากห้องหัวใจ ตัดเนื้อเยื่อปอดและตับมาวางไว้ที่จานเลี้ยงเชื้อที่มี B. subtilis และ pathogenic bacteria พบว่า ฟ้าทะลายโจรทุกขนาดความเข้มข้นไม่มีผลยับยั้งแบคทีเรีย S. aureus และได้ทดลองในอาสาสมัคร 10 ราย สุ่มกินสมุนไพรขนาดเดียวต่อหนึ่งสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ขนาดต่าง ๆ ที่ใช้ คือ 1, 2, 3 และ 6 กรัม เจาะเลือดก่อนกินและหลังกินสมุนไพร 1, 2, 4, 8 และ 24 ชม. แยกซีรัมมาทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย พบว่าซีรัมทุกตัวอย่างไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ S. aureus  เมื่อนำผงฟ้าทะลายโจรมาละลายในน้ำกลั่น ความเข้มข้นตั้งแต่ 1-25,000 มก./ล. แบ่งสารละลายออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งนำมาต้มนาน 30 นาที ส่วนที่สองนำมาอบความร้อนจากไอน้ำที่อุณหภูมิ 120°C นาน 15 นาที ส่วนที่สามเก็บไว้ในตู้เย็นจนกระทั่งถึงเวลาทำการทดสอบ ทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียด้วยวิธี broth dilution method พบว่าสารละลายทั้งสามส่วนไม่สามารถออกฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของ S. aureus

          สารสกัดน้ำและสารสกัดอัลกอฮอล์จากส่วนที่อยู่เหนือดิน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus group A, Streptococcus group B และ Staphylococcus aureus ได้เล็กน้อย และ lactones ที่แยกสกัดจากอัลกอฮอล์ (95%) จากใบและกิ่งก้าน คือ andrographolide, 14-deoxyandrographolide, 14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide และ neoandrographolide ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิดดังกล่าว

ผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อฉีดส่วนสกัดที่ละลายน้ำจากฟ้าทะลายโจรเข้าช่องท้องหนูถีบจักร จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันแบบ humoral immune response และกดระบบการจับกินสิ่งแปลกปลอม (phagocytosis system) และระบบภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ (cellular immune) เมื่อให้ส่วนสกัดที่ไม่ละลายน้ำทางปากหนูถีบจักร จะกระตุ้นระบบการจับกินสิ่งแปลกปลอม และกดระบบภูมิคุ้มกันแบบเซลล์

          เมื่อให้สารสกัดเอทานอลจากฟ้าทะลายโจรทางปากหนูถีบจักร ขนาด 25 มก./กก. นาน 7 วันติดต่อกัน แล้วจึงให้ sheep red blood cell (SRBC) และเมื่อให้สารบริสุทธิ์ andrographolide และ neoandrographolide ทางปากหนูถีบจักร ขนาด 1 มก./กก. นาน 7 วัน หรือฉีดเข้าทางช่องท้อง ขนาด 4 มก./กก./วัน นาน 3 วัน แล้วจึงให้ SRBC พบว่า

ผลต่อ antigen specific immune response พบว่าสารสกัดและ andrographolide จะส่งเสริมการตอบสนองของ humoral immune และการตอบสนองแบบ delayed type hypersensitivity ดีขึ้น โดยมีค่า hemagglutinating antibody (HA) titer, hemolytic plaque-forming cells (PFC) assay และ delayed type hypersensitivity (DTH) เพิ่มขึ้น แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
ผลต่อ nonspecific immune response พบว่าสารสกัดและสารบริสุทธิ์ จะส่งเสริมการตอบสนองของภูมิคุ้มกันแบบไม่เฉพาะเจาะจงดีขึ้น โดยมีค่า macrophage migration index (MMI), percent phagocytosis และ mitogen response เพิ่มขึ้น และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
การให้ andrographolide และ neoandrographolide ทางปากและฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าเมื่อฉีดสารเข้าช่องท้องจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทั้งแบบ antigen specific และ nonspecific ได้ดีกว่าให้ทางปาก
ฤทธิ์ต้านการแพ้ สาร andrographolide และ neoandrographolide จากฟ้าทะลายโจร จะต้านการเกิดปฏิกิริยาการแพ้แบบ passive cutaneous anaphylaxis และมีผลทำให้ mast cell ที่ถูกกระตุ้นด้วยสาร 48/80 และ egg albumin ไม่เกิดปฏิกิริยา (stabilizing)

ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยรักษาอาการท้องเสีย จากการทดลองรักษาอาการท้องเสียในผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและติดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคบิด จำนวน 200 ราย เป็นชาย 98 ราย หญิง 102 ราย  ให้รับประทานผงฟ้าทะลายโจรบรรจุแคปซูล ขนาด 250 มิลลิกรัม โดยแบ่งเป็น 2 แผนการรักษา คือ 500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง นาน 3 วัน และขนาด 1 กรัม ทุก 12 ชั่วโมง นาน 2 วัน พบว่าฟ้าทะลายโจรให้ผลการรักษาดีเช่นเดียวกับยาเตตร้าซัยคลิน ช่วยลดระยะเวลาที่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล  ลดปริมาณน้ำเกลือที่ให้ทดแทน และลดปริมาณการถ่ายอุจจาระเหลวทั้งจำนวนครั้งและระยะเวลาที่ถ่ายได้ทั้ง 2 แผนการรักษา โดยการรับประทานในขนาด 1 กรัม จะได้ผลดีกว่าขนาด 500 มิลลิกรัม  อย่างไรก็ดีเมื่อเปรียบเทียบผลต่อเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระผู้ป่วย ฟ้าทะลายโจรลดจำนวนเชื้ออหิวาตกโรคได้ไม่ดีเท่ากับเตตร้าซัยคลิน แต่ลดจำนวนเชื้อบิดได้ดีกว่า

ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ ช่วยรักษาอาการไอ เจ็บคอ ป้องกันและบรรเทาหวัดในการศึกษาเปรียบเทียบการใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อป้องกันหวัด ซึ่งทำในช่วงฤดูหนาว โดยให้นักเรียนรับประทานยาเม็ดฟ้าทะลายโจรแห้ง ขนาด 200 มิลลิกรัม/วัน ติดตามผลไปในเดือนแรกของการทดลองไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่รับประทานยาและกลุ่มควบคุม แต่หลังจาก 3 เดือนของการทดลองพบว่าอุบัติการณ์การเป็นหวัดในกลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยอัตราการเป็นหวัดในกลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรเท่ากับร้อยละ 20  ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีอัตราการเป็นหวัดเท่ากับร้อยละ 62   อาจสรุปได้ว่าฟ้าทะลายโจรให้ผลป้องกันของยา (the attributable protective effect) เท่ากับร้อยละ 33


การศึกษาทางพิษวิทยา
ก่อกลายพันธุ์ ส่วนสกัดเฮกเซนและส่วนสกัดอัลกอฮอล์จากฟ้าทะลายโจร และสารสกัดน้ำจากใบและลำต้น ขนาด 40 มก./จานเพาะเชื้อ (14) ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ใน S. typhimurium TA98 และ TA100 ผลต่อระบบสืบพันธุ์มีการทดสอบความเป็นพิษของฟ้าทะลายโจร โดยนำสารสกัดมาตรฐาน (สกัดด้วยอัล-กอฮอล์ 70%) มาให้หนูขาวกินในขนาด 20, 200 และ 1,000 มก./กก. เป็นเวลา 60 วัน ไม่พบพิษต่ออวัยวะสืบพันธุ์ แต่มีรายงานว่าเมื่อให้อาหารที่ผสมลำต้นในสัดส่วน 40 มก.ต่อหนูถีบจักร Wistar ทั้งเพศผู้และเพศเมียแต่ละตัว นาน 14 วัน แล้วจึงให้ผสมพันธุ์ และยังคงให้อาหารที่ผสมฟ้าทะลายโจรต่ออีก 3 สัปดาห์ พบว่าหนูเพศเมียเป็นหมัน เมื่อให้อาหารที่มีส่วนผสมของราก ลำต้น และใบฟ้าทะลายโจร 0.75% แก่หนูถีบจักร Wistar ทั้งเพศผู้และเพศเมีย พบว่าอาหารที่มีส่วนผสมของลำต้น 0.75% กินนาน 3 สัปดาห์ขึ้นไปเท่านั้นที่มีผลลดการมีลูกของหนูเพศผู้และมีรายงานว่าทำให้การผลิตอสุจิลดลง เมื่อกรอกให้หนูขาวในขนาด 20 มก./ตัว เป็นเวลา 60 วัน มีการเปลี่ยนแปลงของ seminiferous tubules และ regression of leydig cells ต่อมาได้มีการทดลองผลของ andrographolide โดยให้หนูขาวอายุ 3 เดือน 2 ขนาดเป็นเวลา 48 วัน พบว่าการผลิตอสุจิลดลง อสุจิไม่เคลื่อนไหว และบางตัวมีความผิดปกติ และมีการผิดปกติเช่นเดียวกับเมื่อให้ผงฟ้าทะลายโจร         

พิษต่อเซลล์สารสกัดเมทานอลจากใบ ขนาด 5.3 และ 3.1 มคก./มล. เป็นพิษต่อเซลล์ human epidermoid carcinoma of nasopharynx และ P388 lymphocytic leukemia cells ในหลอดทดลอง ตามลำดับ โดยมีสาร andrographolide เป็นสารออกฤทธิ์ในขนาด 1.5 และ 1 มคก./มล. ตามลำดับ ส่วนสาร 14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide และ neoandrographolide ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ดังกล่าว สารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดินเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง MT-4 สารสกัดคลอโรฟอร์มจากใบ ความเข้มข้น 3.91 มค.ก./มล. เป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง MT-4 และสารสกัดน้ำร้อนจากส่วนเหนือดิน เป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง Hep-2 ความเข้มข้นที่เป็นพิษต่อเซลล์ 50% เท่ากับ 295 มค.ก./มล. ในขณะที่สารสกัดเมทานอลจากใบเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง MT-4 อย่างอ่อน และสารสกัดน้ำจากใบขนาด 220 มคก./มล. ให้ผลไม่ชัดเจนในการแสดงฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง MT-4


ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง
ความขมของฟ้าทะลายโจรด้วยการชิมเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานควินินไฮโดรคลอไรด์ พบว่า มีค่าความขม 1,042 หน่วย/กรัม ซึ่งมากกว่าชิงช้าชาลี (563 หน่วย/กรัม) และบอระเพ็ด (335 หน่วย/กรัม)ทั้งนี้ การหลีกเลี่ยงรสขมในการรับประทาน ที่นิยมปัจจุบันได้แก่ การเตรียมเป็นยาแคปซูลหรือยาเม็ดเคลือบ
ฟ้าทะลายโจรอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเดิน ปวดเอว หรือวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น ในผู้ป่วยบางราย หากมีอาการดังกล่าว ควรหยุดใช้ฟ้าทะลายโจร
หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชา หรืออ่อนแรง
หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้และไปพบแพทย์
สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร
ผลการทดลองในสัตว์พบว่าฟ้าทะลายโจรอาจรบกวนระบบการสืบพันธุ์ แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันผลในคนในปัจจุบัน ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก (Infertility) หรือมีปัญหาในการตั้งครรภ์จึงควรหลีกเลี่ยงที่รับประทาน
ผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานฟ้าทะลายโจรทุกครั้ง เนื่องจากยาบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยาและสมุนไพร เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด
ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร เพราะฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณในการลดความดันโลหิตอยู่แล้ว ซึ่งถ้าหากใช้ฟ้าทะลายโจรอาจจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หรือมีอาการมึนงง
                





 เอกสารอ้างอิง

กมล สวัสดีมงคล อุไรวรรณ เพิ่มพิพัฒน์ นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี มนัส หวังหมัด กัลยา อนุลักษณาปกรณ์ สุชาดา กิตติศิริพรกุล วราพร จิรจริยะเวช.  การศึกษาทางเภสัชวิทยาของฟ้าทะลายโจร.  รายงานการประชุมฟ้าทะลายโจร กรมวิทยาศาสตร์การ แพทย์.
สถาบันการแพทย์แผนไทย.ฟ้าทะลายโจร.คอลัมน์สมุนไพรน่ารู้.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่ 318.ตุลาคม.2548
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.  คู่มือสมุนไพรประจำตู้ยา. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล, 2531. หน้า 83.
Thamaree S, Rugrungtham K, Ruangrungsi N, Thaworn N, Kemsri W.  The inhibitory effects of andrographolide and extracts of some herbal medicines on the production of proinflammatory cytokines by LPS-stimulated human blood cells.  Chula Med J 2001;45(8):661-70.
นันทวัน บุณยะประภัศร. 2529. ก้าวไปกับสมุนไพร.ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร. คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
นวลตา ม่วงน้อยเจริญ อัญชลี ตัตตะวะศาสตร์ วิชัย ปราสาททอง และคณะ.  ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบทางเคมีของฟ้าทะลายโจรและผลทางการรักษาโรค.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล, 2538.
แก้ว กังสดาลอำไร วรรณี โรจนโพธิ์.  การประเมินฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสมุนไพรไทยในรูปของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและสมุนไพรบางชนิด โดยวิธีเอมส์เทสต์.  รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภก.ชัยโย ชัญชาญทิพยุทธ.ฟ้าทะลายโจร.คอลัมน์สมุนไพรน่ารู้.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่9.กุมภาพันธ์.2523
Shamsuzzoha M, Shamsur Rahman M, Muhiuddin Ahmed M.  Antifertility activity of a medicinal plant of the genus  Andrographis Wall (Family Acanthaceae).  Bangladesh Med Res Counc Bull 1979;5(1):14-8.
ฟ้าทะลายโจร.สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
Valsaraj R, Pushpangadan P, Smitt UW, Adsersen A, Nyman U.  Antimicrobial screening of selected medicinal plants from India.  J Ethnopharmacol 1997;58(2):75-83.
ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณและการปลูกฟ้าทะลายโจร.พืชเกษตรดอทคอม.เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://puechkaset.com
โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง. ฟ้าทะลายโจร.  ข่าวสมุนไพร 2527;20:19.
ศุภรัตน์ เนินปลอด. 2556. การอบฟ้าทะลายโจรด้วยลมร้อน-
ร่วมกับรังสีอินฟาเรดไกลและสนามไฟฟ้าแรงดันสูง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Shen YC, Chen CF, Chiou WF.   Andrographolide prevents oxygen radical production by human neutrophils: possible mechanism(s) involved in its anti-inflammatory effect.  Br J Pharmacol  2002;135(2):399-406.
โสภิต ธรรมอารี จันทิมา ปโชติการ  มณฑิรา ตัณฑ์เกยูร  จันทนี อิทธิพานิชพงศ์.  ฤทธิ์ของยาสมุนไพร 30 ชนิดที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคท้องร่วงและบิดต่อการบีบตัวของลำไส้เล็กหนูตะเภา.  จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2528;29(1):39-51.
ฟ้าทะลายโจรสมุนไพรใกล้ตัวกับข้อเท็จจริงทางการแพทย์.พบแพทย์ดอทคอม.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จากhttp://pobpad.com
กมล สวัสดีมงคล อุไรวรรณ เพิ่มพิพัฒน์ นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี และคณะ.  การศึกษาทางเภสัชวิทยาของฟ้าทะลายโจร.  รายงานการประชุมฟ้าทะลายโจร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.
Nakannishi K, Sasaki SI, Kiang AK, Goh J, KAkisawa H, Ohashi M. Phytochemical and pharmacological screening. Chem Pharm Bull 1965;13:822.
   นวลตา ม่วงน้อยเจริญ อัญชลี ตัตตะวะศาสตร์ วิชัย ปราสาททอง และคณะ.  ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบทางเคมีของฟ้าทะลายโจรและผลทางการรักษาโรค.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล, 2538
พเยาว์ เหมือนวงศ์ญาติ. 2529. ตำราวิทยาศาสตร์สมุนไพร.
เสาวภา ลิมป์พานิชกุล.  การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในหนูขาว.  วิทยานิพนธ์ สาขาเภสัชวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532.
ฟ้าทะลายโจร.ฐานข้อมูลเครื่องยาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=97
Batkhuu J, Hattori K, Takano F, Fushiya S, Oshiman K, Fujimiya Y.  Supression of NO production in activated macrophages in vitro and ex vivo by neoandrographolide isolated from Andrographis paniculata.  Biol Pharm Bull 2002;25(9):1169-74.
Johansson S, Goransson U, Luijendijk T, Backlund A, Claeson P, Bohlin L.  A neutrophil multitarget functional bioassay to detect ant-inflammatory natural products.  J Nat Prod 2002;65:32-41.
Puri A, Saxena R, Saxena RP, Saxena KC.  Immunostimulant agents from Andrographis paniculata.  J Nat Prod 1993;56(7):995-9.
Li Y, Jiang Y. Preparation of compound Picrasma quassioides anti-inflammatory capsules.  Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1562245, 2005:5pp.
Gupta S, Yadava JNS, Tandon JS.  Antisecretory (antidiarrhoeal) activity of Indian medicinal plants against Escherichia coli enterotoxin-induced secretion in rabbit and guinea pig ileal loop models.  Int J Pharmacog 1993;31(3):198-204.
Gupta PP, Tandon JS, Patnaik GK.  Antiallergic activity of andrographolides isolated from Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.  Pharm Biol (Lisse, Neth) 1998;36(1): 72-4.

https://www.disthai.com/16941261/%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เห็ดกระถินพิมานรักษามะเร็ง

พ่นควันไล่ผึ้ง

รักษาเก๊าท์

โกฏจุฬาลัมพาแห้ง