โกฐจุฬาลัมพา
ชื่อสมุนไพร โกฐจุฬาลัมพา
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น โกฐจุฬาลัมพาจีน (ทั่วไป),ตอน่า(ไทยใหญ่),แชฮาว (จีนแต้จิ๋ว),ชิงฮาว ,ชิงเฮา(จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artemisia annua Linn.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Artemisia chamomilla C. Winkl. , Artemisia stewartii C.B. Ckarke., Artemisia wadei Edgedw.
ชื่อสามัญ Sweet warm wood, Quinghao
วงศ์ COMPOSITAE
ถิ่นกำเนิดโกฐจุฬาลัมพา
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โกฐจุฬาลัมพา เป็นชื่อของสมุนไพรที่ได้จากพืชชนิดใด
เพราะในอดีตมีการเข้าใจกันว่าโกฐจุฬาลัมพา เป็นเครื่องยาที่ได้จากพืชในวงค์ COMPOSITAE เช่น A.pallens , A.vulgaris , A.argyi
ต่อมา การอ้างอิงชื่อทางพฤกษศาสตร์ของพืชที่ให้เครื่องยาโกฐจุฬาลัมพาถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2540 เมือ วิเชียร จีรวงส์ กล่าวในการแสดงปาฐกถาชุดสิริธรครั้งที 13 ณหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเขียนอธิบายรายละเอียดในหนังสือ “คําอธิบายตําราพระโอสถพระนารายณ์” ซึ่งเป็นตําราอ้างอิงด้านสมุนไพรที่สมบูรณ์ที่สุดเล่มหนึ่งระบุว่า
โกฐจุฬาลัมพา (ตัวสะกดตามเอกสารอ้างอิง) คือส่วนใบและเรือนยอดของ A. annua เป็นเครื่องยาที่นําเข้าจากประเทศจีน
เดิมทีเคยเข้าใจผิดว่าได้จาก A. vulgaris จะเป็นเครื่องยาจีนชนิดอื่น ต่อมาชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงส์ อธิบายเพิ่มเติมว่า Artemisia ชนิดอื่น คือ A. pallen หรือ A. vulgaris var. indica ก็ไม่ใช่พืชที่ให้เครื่องยาชนิดนี้เช่นกัน
และในเอกสารอ้างอิงทางสมุนไพรทีเป็นปัจจุบันที่สุดคือ “ตำราอ้างอิงยาสมุนไพรไทย เล่ม 1” (2552) อธิบายว่า โกฐจุฬาลัมพาคือส่วนเหนือดินแห้งในระยะออกดอกของ A. annua
ในขณะทีเครื่องยาที่เรียกว่าโกฐจุฬาลัมพาไทย จะเป็นส่วนเหนือดินของ A. pallens หรือ A.vulgaris var. indica และเครื่องยาที่ใช้สําหรับการรักษาด้วยวิธีรมยา (moxibusion) ที่มักมีผู้เรียกผิดว่าโกฐจุฬาลัมพา จะได้จากใบของ A. argyi
ดังนั้นในบทความนี้ จึงจะขอกล่าวถึง โกศจุฬาลัมพา (A.annua) ที่มีการยืนยันว่าเป็นพืชที่ให้เครื่องยาชนิดนี้ โดย โกศจุฬาลัมพา (A.annua) มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และญี่ปุ่น
ปัจจุบันมีการกระจายพันธุ์ไปเขตหนาวและเขตอบอุ่นทั่วโลก และสามารถพบในหลายทวีป เช่น อเมริกา ยุโรป และแอฟริกา
สำหรับในประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข กำลังศึกษาการเพาะปลูกโกศจุฬาลัมพา ตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม
โดยนำสายพันธุ์จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจัดทำแปลงสาธิตเพื่อศึกษาความเหมาะสมที่จะปลูกเป็นวัตถุดิบในประเทศไทยต่อไปในอนาคต และล่าสุดองค์การเภสัชกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทำการทดลองปลูกโกฐจุฬาลัมพา สายพันธุ์เวียดนามในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและพะเยา พบว่าปริมาณอาติมิซินินลดลงกว่าร้อยละ 50
ประโยชน์และสรรพคุณโกฐจุฬาลัมพา
โกฐจุฬาลัมพา เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้เป็นสมุนไพรอย่างกว้างขวางทั้งการแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนจีนต่างก็นำสมุนไพรชนิดนี้มาใช้รักษาโรคต่างๆ โดยในตำรายาไทยระบุว่า
โกฐจุฬาลัมพา หรือโกฐจุฬาลัมพา เป็นเครื่องยาที่มีรสสุขุมหอมร้อนมีสรรพคุณแก้ไข้เจลียง (ไข้จับวันเว้นวัน)ไข้เจรียง (ไข้ทีมีเม็ดผื่นขึ้นตามตัว เช่น เหือดหัด สุกใส ดำแดง รากสาดประดง) แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืด แก้ไอเป็นยาขับเหงื่อ ใช้แต่งกลิ่น เป็นยาเจริญอาหาร เป็นยาระบายแก้ไข้จับ เป็นยาเร่งประสาทส่วนกลางเหมือนการบูร ขับลม แก้ตกเลือด ตำพอกแก้ลมแก้ชำใน แก้ปวดเมื่อยรูมาติก แก้บิด แก้ปวดท้องหลังคลอด แก้ระดูมากเกินไป
นอกจากนี้ในบัญชียาจากสมุนไพร ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้โกฐจุฬาลัมพาในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ
ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง ยาแก้ไข้ ปรากฏตำรับ “ยาจันทน์ลีลา” มีส่วนประกอบของส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู ตำรับ "ยาเลือดงาม" มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด
และโกฐจุฬาลัมพายังเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ เช่น มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โดยโกฐจุฬาลัมพาจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ) โกฐทั้งเจ็ด(สัตตโกฐ) และโกฐทั้งเก้า(เนาวโกฐ) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก เป็นต้น
ส่วนการแพทย์แผนจีนใช้สมุนไพร โกฐจุฬาลัมพาทั้งต้นรักษาริดสีดวงทวารและไข้มาเลเรีย โดยแพทย์แผนโบราณของจีนใช้ส่วนที่อยู่เหนือดินของพืชชนิดนี้ โดยจะเก็บในฤดูใบไม้ร่วงเมื่อต้นมีดอก เอาส่วนต้นและกิ่งแก่ออก แล้วผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ใช้แก้ไข้อันเกิดจากความร้อนในฤดูร้อน แก้ไข้ต่ำๆ ที่ไม่มีเหงื่อ แก้ไข้อันเนื่องจากวัณโรคและแก้ไข้จับสั่น (มาเลเรีย)
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จีนได้สกัดอนุพันธุ์ของสมุนไพรโกฐจุฬาลัมพา เรียกว่า ชิงเฮาสู (Qinghaosu) หรือ อาคิมิซินิน (Artemisinin) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อมาลาเรียได้ ผลจากการศึกษาวิจัยนี้ทำให้ได้ยารักษาโรคมาลาเรียชนิดใหม่ สามารถรักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคมาลาเรียหลายสิบล้านคนทั่วโลก และปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการพัฒนาสมุนไพรโกฐจุฬาลัมพาทั้งในรูปของยาเม็ดและยาฉีดได้อีกด้วย
ลักษณะทั่วไปโกฐจุฬาลัมพา
โกฐจุฬาลัมพา (A.annua) จัดเป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียวทั้งต้นมีกลิ่นแรง สูงได้ 0.7-2 เมตร ลำต้นอ่อนแตกกิ่งก้านมาก ในเดี่ยวเรียงเวียน มีต่อมโปร่งแสง ใบบริเวณ โคนต้นรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ขอบใบหยักลึกแบบขนนก 3 หรือ 4 ชั้น เป็น 5-8 คู่ แฉกใบจักฟันเลื่อยลึกรูปสามเหลี่ยม กว้างและยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร เส้นกลางใบเด่นชัดทางด้านบน แกนกลางใบมีปีกแคบ อาจจักฟันเลื่อยเล็กน้อยหรือเรียบ ใบบริเวณกลางต้นหยักลึกแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ใบใกล้ยอดรวมทั้งใบประดับหยักลึกแบบขนนก 1 หรือ 2 ชั้น ก้านใบสั้นมาก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง (panicle) รูปพีรามิดกว้าง ช่อย่อยแบบช่อกระจุกแน่น กลม มีจำนวนมาก สีเหลืองถึงเหลืองเข้มเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร ก้านช่อย่อยสั้น ดอกไม่มีแพพัส (pappus) วงนอกเป็นดอกเพศเมีย มี 10-18 ดอกเชื่อมติดกันเป็นหยอด ปลายจักเป็นซี่ฟัน 5 เกสรเพศผู้ 5 อัน อับเรณูเชื่อมติดต่อ แต่ละอับมีรยางค์ด้านบน 1 อัน รูปสามเหลี่ยมปลายแหลม และมีรยางค์ปลายมนที่โคน 2 อัน ผลแบบผลแห้ง เมล็ดล่อน (achene) รูปไข่แกมรี ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร
การขยายพันธุ์โกฐจุฬาลัมพา
โกฐจุฬาลัมพา (A.annua) สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด โดยมีวิธีการปลูกและดูแล ดังนี้
การเตรียมดิน ควรไถพรรณ ตากดินและย่อยดินให้ละเอียด และใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดิน การเพาะเมล็ด
นำเมล็ดแก่มาแช่น้ำที่อุณหภูมิห้อง 12 ชั่วโมง แล้วโรยเมล็ดเป็นแถวในกระบะเพาะ กลบบางๆ และรดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะเริ่มงอกหลังจากเพาะเมล็ด 4 วัน เมื่อกล้าเริ่มมีใบจริง 1 คู่ ให้ย้ายลงถาดสำหรับเพาะกล้า หรือถุง และเมื่อกล้ามีอายุประมาณ 50 วัน สามารถย้ายลงแปลงปลูกที่เตรียมไว้ได้โดยควรมีระยะปลูก ระหว่างต้น 2 เมตร ระหว่างแถว 2.5 เมตร แล้วใช้ตาข่ายพรางแสงจนกว่ากล้าที่ย้ายปลูกจะแข็งแรง ส่วนในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกใบระยะนี้ควรทำหลังคาพลาสติกเพื่อป้องกันฝนเพราะรากอาจจะเน่าได้
องค์ประกอบทางเคมี
องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญคือ สารกลุ่มเซสควิเทอร์พีนแล็กโทน (sesquiterpene lactone) ชื่อ สารชิงเฮาซู (qinghaosu) หรือ สารอาร์เทแอนนิวอิน (arteannuin) หรือสารอาร์เทมิซินิน (artemisinin สารนี้แสดงฤทธิ์ต้านมาลาเรียชนิดฟัลชิปารุม (Plasmodium falciparum) และชนิดไวแวกซ์ (P. vivax) โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ดื้อยา นอกจากนี้ยังพบว่าเครื่องยาชนิดนี้ยังมีสารกลุ่มฟลาวานอยด์หลายชนิดซึ่งช่วยเสริมฤทธิ์ต้านเชื้อไข้จับสั่นกับสารอาร์เทมิซินิน เช่น casticin, cirsilineol , chysoplenol-D , chrysoplenetin ส่วนในน้ำมันระเหยหอม (Essential oils ) ยังมีสารที่เป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ alpha-pinene ,camphene ,β-pinene , myrcene , 1,8-cineole ,artemisia ketone ,linalol , camphor,borneol ,และβ–caryophyllene
รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของโกบจุฬาล้มพา
ที่มา : Wikipedia
รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้
ใช้ตามสรรพคุณของตำรายาไทยโดยการใช้ ส่วนเหนือดินแห้ง 3-12 กรัม ในรูปแบบยาต้มรับประทาน ต่อวัน ส่วนในการใช้ตามสรรพคุณของตำรายาจีน จะใช้ในขนาด 4.5-9 กรัม โดยใช้ในรูปแบบยาต้มรับประทานเช่นเดียวกัน
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียในหลอดทดลอง ของใบโกฐจุฬาลัมพา (A. annua) ที่ได้จากแหล่งต่างๆ ของประเทศบราซิล โดยวิธีการแช่ (infusion) เตรียมสารทดสอบโดยใช้ผงใบ 5 กรัม แช่สกัดในน้ำเดือด ปิดฝา และตั้งทิ้งไว้เป็นเวลา 15 นาที แล้วนำไปกรอง ทดสอบสารสกัดเพื่อดูความไวของสารทดสอบต่อเชื้อ Plasmodium falciparum สายพันธุ์ K1 และ 3d7 ที่แยกได้จากประเทศบราซิล ซึ่งดื้อต่อยาคลอโรควีน แต่ไวต่อยาควินิน และอาร์ทีมิซินิน ผลการทดสอบพบว่าใบโกฐจุฬาลัมพาจาก 4 แหล่ง มีปริมาณของอาร์ทีมิซินิน อยู่ระหว่าง 0.90-1.13% ความเข้มข้นของอาร์ทีมิซินินที่ได้จากการแช่สกัดใบ อยู่ในช่วง 40-46 mg/L ผลจากการทดสอบพบว่าสารสกัดใบด้วยวิธีการแช่สกัดจากทั้ง 4 แหล่ง ออกฤทธิ์ดีในการยับยั้งเชื้อ P. falciparum สายพันธุ์ K1 และ 3d7 โดยมีค่า IC50 ต่ำ อยู่ระหว่าง 0.08-0.10 และ 0.09-0.13 μL/mL ตามลำดับ
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรส ทดสอบการยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสในหลอดทดลอง (อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรส เป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาท acethylcholine ในสมอง ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และความจำ การยับยั้งเอนไซม์นี้ จึงเป็นเป้าหมายในการรักษาโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์) ทดสอบด้วยวิธี Ellman’s colorimetric method ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอลส่วนเหนือดิน (ใบ และกิ่ง) ก่อนออกดอกของโกฐจุฬาลัมพา (A. annua) ที่ความเข้มข้น 1 mg/mL สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสได้ คิดเป็นร้อยละ 71.83 มีค่า IC50 เท่ากับ 87.43 μg/mLในขณะที่ส่วนสกัดย่อย F2 และ F4 ที่ได้จากการแยกสารสกัดเอทานอลด้วยเทคนิค silica gel column chromatography มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสสูง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 36.75 และ 28.82 μg/mLตามลำดับ สารบริสุทธิ์ 2 ชนิด ได้แก่ อาร์ทีมิซินิน และ chrysosplenetin ที่แยกได้จากการสกัดเอทานอลจากโกฐจุฬาลัมพาในขนาด 0.1 mg/mL มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71.67 และ 80.00 ตามลำดับ มีค่า IC50 เท่ากับ 29.34 และ 27.14 μg/mL ตามลำดับจากการศึกษาสารที่ได้จากโกฐจุฬาลัมพาพบว่ามีศักยภาพในการนำมาพัฒนายาที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ รวมถึงใช้ในโรคที่มีความผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับไนตริกออกไซด์ และเอนไซม์โคลีนเอสเทอรเรสได้
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหลอดทดลอง โดยดูผลการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ (NO) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งหลั่งจาก macrophage ของหนู (RAW 264.7 macrophage cell lines) ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide (LPS) ใช้สารสกัดเอทานอลจากส่วนเหนือดิน (ใบ และกิ่ง) ก่อนออกดอกของโกฐจุฬาลัมพา (A. annua) ในขนาด 50, 25, 12.5 และ 6.25 μg/mL และส่วนสกัดย่อย F1-F4 ที่ได้จากการแยกสารสกัดเอทานอลด้วยเทคนิค silica gel column chromatography ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอลที่ความเข้มข้น 6.25 μg/mL และส่วนสกัดย่อย F2 มีฤทธิ์ในการยับยั้ง NO สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 72.39 และ 71.00 ตามลำดับ โดยที่ไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ macrophage โดยมีอัตราการมีชีวิตรอดของเซลล์คิดเป็นร้อยละ 93.86 และ 79.87 ตามลำดับ
ฤทธิ์ระงับอาการปวด การศึกษาทางคลินิกที่ยืนยันถึงประสิทธิผล และความปลอดภัยของการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากโกฐจุฬาลัมพา (A. annua) ที่ใช้ระงับอาการปวด, และอาการข้อแข็ง ในผู้ป่วยโรคข้อที่สะโพกหรือเข่าเสื่อม เป็นการศึกษาแบบ short-term randomized, placebo-controlled, double-blind study โดยทำการสุ่มผู้ป่วยอายุระหว่าง 35-75 ปี จำนวน 42 คน แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากโกฐจุฬาลัมพาในขนาด 150, 300 mg และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ซึ่งแต่ละกลุ่มจะได้รับยาวันละสองครั้ง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ หลังจากนั้นประเมินประสิทธิผลด้วย Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index (WOMAC®) และประเมินอาการปวดด้วย visual analog scale (VAS) ผลการทดสอบพบว่าอาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากโกฐจุฬาลัมพาในขนาด 150 mg มีอาการดีขึ้นจากการประเมินด้วย WOMAC® อย่างมีนัยสำคัญ (mean change, −12.2; standard deviation, SD 13.84; p=0.0159) และยังพบว่าอาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากโกฐจุฬาลัมพาในขนาด 150 mg มีอาการปวดลดลงจากการประเมินด้วย VAS อย่างมีนัยสำคัญ (mean change, −21.4 mm; SD, 23.48 mm; p=0.0082) ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอก และได้รับสารสกัดขนาด 300 mg ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า สารสกัดจากโกฐจุฬาลัมพาในขนาดต่ำ 150 mg มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และระงับปวดในผู้ป่วยกระดูกและข้ออักเสบได้
การศึกษาทางพิษวิทยา
การศึกษาทางพิษวิทยาของโกฐจุฬาลัมพา (A.annua) ส่วนมากแล้วเป็นการศึกษาในต่างประเทศ ส่วนในประเทศไทยนั้น มีการศึกษาพืชชนิดนี้น้อยเพราะเป็นพืชที่ไม่มีในประเทศดังนั้น ผู้เขียนจึงยังไม่สามารถหาข้อมูลการศึกษาทางพิษวิทยามาได้
ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง
ในการเลือกใช้สมุนไพรโกฐจุฬาลัมพานั้น ควรต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพราะมีพืชหลายชนิดที่เข้าใจกันว่าเป็นพืชที่ให้เครื่องยาที่ใช้ชื่อ โกฐจุฬาลัมพา
การใช้สมุนไพรโกศจุฬาลัมพาก็เหมือนการใช้สมุนไพรชนิดอื่นคือต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมที่กำหนดไว้ในตำรับยาต่างๆ ไม่ควรใช้ในปริมาณมากและใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้
สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือต้องรับประทานยาต่อเนื่องก่อนใช้สมุนไพรโกฐจุฬาลัมนา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
เอกสารอ้างอิง
วิเชียร จีรวงส์. สมุนไพร. อนุสรณ์งานฌาปนกิจ นายกิจ จีรวงส์. กรุงเทพฯ. 2 ธันวาคม 2521: น.12-13.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โกฐจุฬาลําพา”. หน้า 104.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาศ ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์. คําอธิบายตําราพระโอสถพระนารายณ์. กรุงเทพฯ. อมรินทร์พรินติงแอนด์พับลิชชิง, 2544: น. 240-243.
อุทัย โสธนะพันธุ์ และคณะ.การพิสูจน์ชนิดทางพฤกษศาสตร์ของโกฐจุฬาลัมพาที่ใช้ในปัจจุบันด้วยเทคนิกโครมาโทกราฟีชนิดแผ่นบาง วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพปีที่ 8. ฉบับที่1 2556.หน้า 1-6
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ.โอเดียนสโตร์, 2540: น.112
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โกฐจุฬาลําพา Artemisia”. หน้า 216.
บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ.2544. ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรือง บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที 4) พ.ศ.2544
คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. สํานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2544.
เต็ม สมิตินันทน์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไขเพิjมเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สํานักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.สํานักพิมพ์ประชาชน, 2544: น.55-56, 229
เสงียม พงษ์บุญรอด. ไม้เทศเมืองไทย สรรพคุณยาเทศและยาไทย.กรุงเทพฯ. เกษมบรรณกิจ, 2522: น.75
โกฐจุฬาลัมพา.ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก
http://www.thaicruseseug.com/main.php?action=viewpage&pid=28
Silva LFR, Magalhães PM, Costa MRF, Alecrim MGC, Chaves FCM, Hidalgo AF, et al. In vitro susceptibility of Plasmodium falciparum Welch field isolates to infusions prepared from Artemisia annua L. cultivated in the Brazilian Amazon. Memórias do Instituto Oswaldo Cruz. 2012;107(7):859-866.
Chougouo RDK, Nguekeu YMM, Dzoyem JP, Awouafack MD, Kouamouo J, Tane P, et al. Anti-inflammatory and acetylcholinesterase activity of extract, fractions and five compounds isolated from the leaves and twigs of Artemisia annua growing in Cameroon. SpringerPlus. 2016;5:1525.
Stebbings S, Beattie E, McNamara D, Hunt S. A pilot randomized, placebo-controlled clinical trial to investigate the efficacy and safety of an extract of Artemisia annuaadministered over 12 weeks, for managing pain, stiffnessand functional limitation associated with osteoarthritis of the hipand knee. Clin Rheumatol. 2016; 35: 1829-1836.
.......................................................
โกฐจุฬาลัมพาจีน
ป้องกันโรคระบาดด้วยโกฐจุฬาลัมพาจีน
ตุลาคม 25, 2015มังกรสามเล็บการป้องกัน, รมยา, โกฐจุฬาลัมพาจีน, โรคระบาด
ป้องกันโรคระบาดด้วยโกฐจุฬาลัมพาจีน
มังกรสามเล็บ
คงเคยได้ยินกันมาบ้างกับคำว่า “ฝังเข็มรมยา” การรมยาที่ถูกจัดให้มีความสำคัญเทียบเท่ากับการฝังเข็มนั้นมีตัวยาสำคัญคือโกฐจุฬาลัมพาจีนนั่นเอง มาทำความรู้จักกับตัวยามากสรรพคุณนี้กันดีกว่า
โกฐจุฬาลัมพาจีน หรือที่รู้จักกันในภาษาจีนว่า อ้ายฉ่าว(艾草,ài cǎo) หรือ อ้ายเย่(艾叶,ài yè) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artemisia argyi เป็นพืชในวงศ์ทานตะวัน ซึ่งคล้ายคลึงกับพืชในวงศ์เดียวกันและมักเกิดความสับสนอย่าง โกฐจุฬาลัมพาไทย(Artemisia pallens, Artemisia vulgaris) และชิงฮาว(Artemisia annua) โกฐจุฬาลัมพาจีนมีรสเผ็ด ขม ฤทธิ์อุ่น มีสรรพคุณอบอุ่นเส้นลมปราณห้ามเลือด ขจัดความเย็นระงับอาการปวด และสามารถขจัดความชื้นระงับอาการคันเมื่อใช้ภายนอก นิยมนำมาใช้ในการรมยาโดยใช้ใบแห้งบดผงและปั้นเป็นก้อนจุดรมบริเวณจุดฝังเข็ม ซึ่งในหนังสือเปิ่นฉ่าวกังมู่《本草纲目》มีบันทึกไว้ว่าการใช้โกฐจุลาลัมพาจีนในการรมยานั้นต้องใช้ยาเก่าเก็บ หากใช้ยาใหม่อาจทำร้ายกล้ามเนื้อเส้นลมปราณ ซึ่งอาจเป็นเพราะในตัวยามีน้ำมันหอมระเหยอยู่มากเมื่อจุดไฟแล้วจะดับยากจึงต้องให้น้ำมันหอมระเหยลดน้อยลงก่อนจึงจะใช้ได้สะดวก โดยโกฐจุลาลัมพาจีนที่ขายอยู่ในท้องตลาดมักเป็นชนิดแท่งสำเร็จรูปมีอายุ 3ปี และ5ปี
ในปัจจุบันมีแพทย์จำนวนไม่น้อยที่ใช้การรมยาลดลงหรือไม่ใช้เลยเพราะการรมยาทำให้เกิดควันและกลิ่นไม่พึงประสงค์ติดเสื้อผ้าไปทั้งวัน แต่แท้ที่จริงแล้วควันจากการจุดรมยาของโกฐจุลาลัมพาจีนนั้นกลับมีประโยชน์มากกว่าที่คิดไว้มากนัก ในปี 2005 เมื่อเกิดไข้หวัดนกระบาดในประเทศจีน กระทวงสาธารณสุขจีนได้กำหนดแผนการตรวจรักษาโรคไข้หวัดนกโดยในส่วนของการป้องกันได้กำหนดให้ป้องกันเช่นเดียวกับการระบาดของไข้หวัดอื่นๆ และการใช้โกฐจุลาลัมจีนพาในการฆ่าเชื้อนั้นเป็นวิธีที่สะดวก ราคาถูก และให้ผลที่ดี ในปี 2009 มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ซานเซียงตูซื่อเป้า(三湘都市报)ของจีนว่าการจุดโกฐจุฬาลัมพาจีนสามารถฆ่าเชื้อมือเท้าปากได้อีกด้วย และยังมีงานวิจัยว่าควันจากการรมยาด้วยโกฐจุลาลัมพาจีนสามารถฆ่าเชื้อและหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อ S. aureus, Group B Streptococcus, E.coli และ Candida albicans นอกจากนี้ยังสามารถฆ่าเชื้อคอตีบ ไข้ไทฟอยด์ บิดไม่มีตัว เป็นต้น
วิธีการจุดรมเพื่อฆ่าเชื้อนั้นจะใช้โกฐจุลาลัมพาจีนชนิดแท่งจำนวน 3แท่งต่อพื้นที่ 15ตารางเมตร โดยการจุดไฟที่แท่งโกฐแล้วเสียบไว้ที่ปากขวดแก้วเพื่อไม่ให้แท่งโกฐล้มและเกิดเพลิงไหม้ วางขวดแก้วที่เตรียมไว้ภายในห้องโดยปิดห้องให้มิดชิดเพื่อให้ตัวยารมอยู่ในห้องเป็นเวลา 4-8 ชั่วโมง หากต่ำกว่า 4 ชั่วโมงผลการฆ่าเชื้อจะต่ำหรืออาจไม่มีผลเลย
หลังจากนั้นเมื่อครบตามเวลาจึงเปิดให้อากาศถ่ายเทเพื่อขจัดกลิ่นออก การเลือกใช้โกฐจุลาลัมพาจีนควรใช้ชนิดที่มีสิ่งเจือปนต่ำเพราะจะทำให้ควันเยอะและกลิ่นเหม็นอีกด้วย วิธีการนี้สามารถใช้เมื่อมีรายงานการระบาดของโรคในบริเวณใกล้เคียงหรือการระบาดในวงกว้างและใช้ฆ่าเชื้อในห้องที่ผู้ป่วยเคยอยู่อาศัยเป็นประจำเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ หากคิดว่าเวลา 4-8 ชั่วโมงนานเกินไปหรือรมยาแล้วจะกลิ่นยาจีนติดห้อง ลองคิดกลับกันว่าเพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคภัยต่างๆโดยเฉพาะผู้ที่มีลูกหลานตัวน้อยอยู่ภายในบ้าน จะรู้สึกว่าเวลาที่เสียไปกับกลิ่นยาจีนติดบ้านเพียงเล็กน้อยนั้นไม่ได้มากมายอะไรเลย
อ้างอิง
1. อุทัย โสธนะพันธุ์, ปนัดดา พัฒนวศนิ, จันคนา บูรณะโอสถ, สุนันทา ศรีโสภณ, Ashok Praveen Kumar และ Baokang Huang. “การพิสูจน์ชนิดทางพฤกษศาสตร์ของโกฐจุฬาลัมพาที่ใช้ในปัจจุบัน ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีชนิดแผ่นบาง”.วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. หน้า 1-6.
2. 杨梅.艾叶燃烧产物有效成分药效研究[D].中南民族大学,2009.
3. http://zhongyi.sina.com/aijiu/ajbj/116354.shtml
4. http://www.ayhealth.net/content/?86.html
https://tcmonweekends.wordpress.com/tag
.............................
มีรายงานวิจัยเป็นจำนวนมากพอสมควรที่สนับสนุนฤทธิ์ต้านมะเร็งของของชิงเฮา (Artemisia annua) และสารสำคัญที่สกัดได้จากชิงเฮา ได้แก่
อาร์ทีมิซินิน และอนุพันธ์ โดยพบว่าอาร์ทีมิซินินและอนุพันธ์สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งลำ ไส้ใหญ่ มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งในช่องปาก เป็นต้น การใช้ยาอาร์ทีมิซินินร่วมกับยาต้านมะเร็งมาตรฐานช่วยเพิ่มการตอบสนองต่อยาและยืดอายุผู้ป่วยได้นานขึ้น เนื่องจากเป็นยาที่มีการใช้มานานในผู้ป่วยมาลาเรียจํานวนมาก จึงมีความปลอดภัยสูงและไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียง
อ้างอิง จุรีย์ เจริญธีรบูรณ์. ยากลุ่มอาร์ทีมิซินิน: จากยาฆ่าเชื้อมาลาเรียสู่สารต้านมะเร็งตัวใหม่. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ (ฉบับออนไลน์). 2549;3:1-13.
...............................................
Mem Inst Oswaldo Cruz. 2012 Nov;107(7):859-66.
In vitro susceptibility of Plasmodium falciparum Welch field isolates to infusions prepared from Artemisia annua L. cultivated in the Brazilian Amazon.
Silva LF1, Magalhães PM, Costa MR, Alecrim Md, Chaves FC, Hidalgo Ade F, Pohlit AM, Vieira PP.
Author information
Abstract
Artemisinin is the active antimalarial compound obtained from the leaves of Artemisia annua L. Artemisinin, and its semi-synthetic derivatives, are the main drugs used to treat multi-drug-resistant Plasmodium falciparum (one of the human malaria parasite species). The in vitro susceptibility of P. falciparum K1 and 3d7 strains and field isolates from the state of Amazonas, Brazil, to A. annua infusions (5 g dry leaves in 1 L of boiling water) and the drug standards chloroquine, quinine and artemisinin were evaluated. The A. annua used was cultivated in three Amazon ecosystems (várzea, terra preta de índio and terra firme) and in the city of Paulínia, state of São Paulo, Brazil. Artemisinin levels in the A. annua leaves used were 0.90-1.13% (m/m). The concentration of artemisinin in the infusions was 40-46 mg/L. Field P. falciparum isolates were resistant to chloroquine and sensitive to quinine and artemisinin. The average 50% inhibition concentration values for A. annua infusions against field isolates were 0.11-0.14 μL/mL (these infusions exhibited artemisinin concentrations of 4.7-5.6 ng/mL) and were active in vitro against P. falciparum due to their artemisinin concentration. No synergistic effect was observed for artemisinin in the infusions.
PMID: 23147140 DOI: 10.1590/s0074-02762012000700004
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23147140
ชื่อสมุนไพร โกฐจุฬาลัมพา
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น โกฐจุฬาลัมพาจีน (ทั่วไป),ตอน่า(ไทยใหญ่),แชฮาว (จีนแต้จิ๋ว),ชิงฮาว ,ชิงเฮา(จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artemisia annua Linn.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Artemisia chamomilla C. Winkl. , Artemisia stewartii C.B. Ckarke., Artemisia wadei Edgedw.
ชื่อสามัญ Sweet warm wood, Quinghao
วงศ์ COMPOSITAE
ถิ่นกำเนิดโกฐจุฬาลัมพา
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โกฐจุฬาลัมพา เป็นชื่อของสมุนไพรที่ได้จากพืชชนิดใด
เพราะในอดีตมีการเข้าใจกันว่าโกฐจุฬาลัมพา เป็นเครื่องยาที่ได้จากพืชในวงค์ COMPOSITAE เช่น A.pallens , A.vulgaris , A.argyi
ต่อมา การอ้างอิงชื่อทางพฤกษศาสตร์ของพืชที่ให้เครื่องยาโกฐจุฬาลัมพาถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2540 เมือ วิเชียร จีรวงส์ กล่าวในการแสดงปาฐกถาชุดสิริธรครั้งที 13 ณหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเขียนอธิบายรายละเอียดในหนังสือ “คําอธิบายตําราพระโอสถพระนารายณ์” ซึ่งเป็นตําราอ้างอิงด้านสมุนไพรที่สมบูรณ์ที่สุดเล่มหนึ่งระบุว่า
โกฐจุฬาลัมพา (ตัวสะกดตามเอกสารอ้างอิง) คือส่วนใบและเรือนยอดของ A. annua เป็นเครื่องยาที่นําเข้าจากประเทศจีน
เดิมทีเคยเข้าใจผิดว่าได้จาก A. vulgaris จะเป็นเครื่องยาจีนชนิดอื่น ต่อมาชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงส์ อธิบายเพิ่มเติมว่า Artemisia ชนิดอื่น คือ A. pallen หรือ A. vulgaris var. indica ก็ไม่ใช่พืชที่ให้เครื่องยาชนิดนี้เช่นกัน
และในเอกสารอ้างอิงทางสมุนไพรทีเป็นปัจจุบันที่สุดคือ “ตำราอ้างอิงยาสมุนไพรไทย เล่ม 1” (2552) อธิบายว่า โกฐจุฬาลัมพาคือส่วนเหนือดินแห้งในระยะออกดอกของ A. annua
ในขณะทีเครื่องยาที่เรียกว่าโกฐจุฬาลัมพาไทย จะเป็นส่วนเหนือดินของ A. pallens หรือ A.vulgaris var. indica และเครื่องยาที่ใช้สําหรับการรักษาด้วยวิธีรมยา (moxibusion) ที่มักมีผู้เรียกผิดว่าโกฐจุฬาลัมพา จะได้จากใบของ A. argyi
ดังนั้นในบทความนี้ จึงจะขอกล่าวถึง โกศจุฬาลัมพา (A.annua) ที่มีการยืนยันว่าเป็นพืชที่ให้เครื่องยาชนิดนี้ โดย โกศจุฬาลัมพา (A.annua) มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และญี่ปุ่น
ปัจจุบันมีการกระจายพันธุ์ไปเขตหนาวและเขตอบอุ่นทั่วโลก และสามารถพบในหลายทวีป เช่น อเมริกา ยุโรป และแอฟริกา
สำหรับในประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข กำลังศึกษาการเพาะปลูกโกศจุฬาลัมพา ตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม
โดยนำสายพันธุ์จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจัดทำแปลงสาธิตเพื่อศึกษาความเหมาะสมที่จะปลูกเป็นวัตถุดิบในประเทศไทยต่อไปในอนาคต และล่าสุดองค์การเภสัชกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทำการทดลองปลูกโกฐจุฬาลัมพา สายพันธุ์เวียดนามในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและพะเยา พบว่าปริมาณอาติมิซินินลดลงกว่าร้อยละ 50
ประโยชน์และสรรพคุณโกฐจุฬาลัมพา
โกฐจุฬาลัมพา เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้เป็นสมุนไพรอย่างกว้างขวางทั้งการแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนจีนต่างก็นำสมุนไพรชนิดนี้มาใช้รักษาโรคต่างๆ โดยในตำรายาไทยระบุว่า
โกฐจุฬาลัมพา หรือโกฐจุฬาลัมพา เป็นเครื่องยาที่มีรสสุขุมหอมร้อนมีสรรพคุณแก้ไข้เจลียง (ไข้จับวันเว้นวัน)ไข้เจรียง (ไข้ทีมีเม็ดผื่นขึ้นตามตัว เช่น เหือดหัด สุกใส ดำแดง รากสาดประดง) แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืด แก้ไอเป็นยาขับเหงื่อ ใช้แต่งกลิ่น เป็นยาเจริญอาหาร เป็นยาระบายแก้ไข้จับ เป็นยาเร่งประสาทส่วนกลางเหมือนการบูร ขับลม แก้ตกเลือด ตำพอกแก้ลมแก้ชำใน แก้ปวดเมื่อยรูมาติก แก้บิด แก้ปวดท้องหลังคลอด แก้ระดูมากเกินไป
นอกจากนี้ในบัญชียาจากสมุนไพร ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้โกฐจุฬาลัมพาในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ
ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง ยาแก้ไข้ ปรากฏตำรับ “ยาจันทน์ลีลา” มีส่วนประกอบของส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู ตำรับ "ยาเลือดงาม" มีส่วนประกอบของโกฐจุฬาลัมพาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด
และโกฐจุฬาลัมพายังเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ เช่น มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โดยโกฐจุฬาลัมพาจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ) โกฐทั้งเจ็ด(สัตตโกฐ) และโกฐทั้งเก้า(เนาวโกฐ) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก เป็นต้น
ส่วนการแพทย์แผนจีนใช้สมุนไพร โกฐจุฬาลัมพาทั้งต้นรักษาริดสีดวงทวารและไข้มาเลเรีย โดยแพทย์แผนโบราณของจีนใช้ส่วนที่อยู่เหนือดินของพืชชนิดนี้ โดยจะเก็บในฤดูใบไม้ร่วงเมื่อต้นมีดอก เอาส่วนต้นและกิ่งแก่ออก แล้วผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ใช้แก้ไข้อันเกิดจากความร้อนในฤดูร้อน แก้ไข้ต่ำๆ ที่ไม่มีเหงื่อ แก้ไข้อันเนื่องจากวัณโรคและแก้ไข้จับสั่น (มาเลเรีย)
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จีนได้สกัดอนุพันธุ์ของสมุนไพรโกฐจุฬาลัมพา เรียกว่า ชิงเฮาสู (Qinghaosu) หรือ อาคิมิซินิน (Artemisinin) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อมาลาเรียได้ ผลจากการศึกษาวิจัยนี้ทำให้ได้ยารักษาโรคมาลาเรียชนิดใหม่ สามารถรักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคมาลาเรียหลายสิบล้านคนทั่วโลก และปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการพัฒนาสมุนไพรโกฐจุฬาลัมพาทั้งในรูปของยาเม็ดและยาฉีดได้อีกด้วย
ลักษณะทั่วไปโกฐจุฬาลัมพา
โกฐจุฬาลัมพา (A.annua) จัดเป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียวทั้งต้นมีกลิ่นแรง สูงได้ 0.7-2 เมตร ลำต้นอ่อนแตกกิ่งก้านมาก ในเดี่ยวเรียงเวียน มีต่อมโปร่งแสง ใบบริเวณ โคนต้นรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ขอบใบหยักลึกแบบขนนก 3 หรือ 4 ชั้น เป็น 5-8 คู่ แฉกใบจักฟันเลื่อยลึกรูปสามเหลี่ยม กว้างและยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร เส้นกลางใบเด่นชัดทางด้านบน แกนกลางใบมีปีกแคบ อาจจักฟันเลื่อยเล็กน้อยหรือเรียบ ใบบริเวณกลางต้นหยักลึกแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ใบใกล้ยอดรวมทั้งใบประดับหยักลึกแบบขนนก 1 หรือ 2 ชั้น ก้านใบสั้นมาก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง (panicle) รูปพีรามิดกว้าง ช่อย่อยแบบช่อกระจุกแน่น กลม มีจำนวนมาก สีเหลืองถึงเหลืองเข้มเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร ก้านช่อย่อยสั้น ดอกไม่มีแพพัส (pappus) วงนอกเป็นดอกเพศเมีย มี 10-18 ดอกเชื่อมติดกันเป็นหยอด ปลายจักเป็นซี่ฟัน 5 เกสรเพศผู้ 5 อัน อับเรณูเชื่อมติดต่อ แต่ละอับมีรยางค์ด้านบน 1 อัน รูปสามเหลี่ยมปลายแหลม และมีรยางค์ปลายมนที่โคน 2 อัน ผลแบบผลแห้ง เมล็ดล่อน (achene) รูปไข่แกมรี ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร
การขยายพันธุ์โกฐจุฬาลัมพา
โกฐจุฬาลัมพา (A.annua) สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด โดยมีวิธีการปลูกและดูแล ดังนี้
การเตรียมดิน ควรไถพรรณ ตากดินและย่อยดินให้ละเอียด และใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดิน การเพาะเมล็ด
นำเมล็ดแก่มาแช่น้ำที่อุณหภูมิห้อง 12 ชั่วโมง แล้วโรยเมล็ดเป็นแถวในกระบะเพาะ กลบบางๆ และรดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะเริ่มงอกหลังจากเพาะเมล็ด 4 วัน เมื่อกล้าเริ่มมีใบจริง 1 คู่ ให้ย้ายลงถาดสำหรับเพาะกล้า หรือถุง และเมื่อกล้ามีอายุประมาณ 50 วัน สามารถย้ายลงแปลงปลูกที่เตรียมไว้ได้โดยควรมีระยะปลูก ระหว่างต้น 2 เมตร ระหว่างแถว 2.5 เมตร แล้วใช้ตาข่ายพรางแสงจนกว่ากล้าที่ย้ายปลูกจะแข็งแรง ส่วนในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกใบระยะนี้ควรทำหลังคาพลาสติกเพื่อป้องกันฝนเพราะรากอาจจะเน่าได้
องค์ประกอบทางเคมี
องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญคือ สารกลุ่มเซสควิเทอร์พีนแล็กโทน (sesquiterpene lactone) ชื่อ สารชิงเฮาซู (qinghaosu) หรือ สารอาร์เทแอนนิวอิน (arteannuin) หรือสารอาร์เทมิซินิน (artemisinin สารนี้แสดงฤทธิ์ต้านมาลาเรียชนิดฟัลชิปารุม (Plasmodium falciparum) และชนิดไวแวกซ์ (P. vivax) โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ดื้อยา นอกจากนี้ยังพบว่าเครื่องยาชนิดนี้ยังมีสารกลุ่มฟลาวานอยด์หลายชนิดซึ่งช่วยเสริมฤทธิ์ต้านเชื้อไข้จับสั่นกับสารอาร์เทมิซินิน เช่น casticin, cirsilineol , chysoplenol-D , chrysoplenetin ส่วนในน้ำมันระเหยหอม (Essential oils ) ยังมีสารที่เป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ alpha-pinene ,camphene ,β-pinene , myrcene , 1,8-cineole ,artemisia ketone ,linalol , camphor,borneol ,และβ–caryophyllene
รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของโกบจุฬาล้มพา
ที่มา : Wikipedia
รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้
ใช้ตามสรรพคุณของตำรายาไทยโดยการใช้ ส่วนเหนือดินแห้ง 3-12 กรัม ในรูปแบบยาต้มรับประทาน ต่อวัน ส่วนในการใช้ตามสรรพคุณของตำรายาจีน จะใช้ในขนาด 4.5-9 กรัม โดยใช้ในรูปแบบยาต้มรับประทานเช่นเดียวกัน
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียในหลอดทดลอง ของใบโกฐจุฬาลัมพา (A. annua) ที่ได้จากแหล่งต่างๆ ของประเทศบราซิล โดยวิธีการแช่ (infusion) เตรียมสารทดสอบโดยใช้ผงใบ 5 กรัม แช่สกัดในน้ำเดือด ปิดฝา และตั้งทิ้งไว้เป็นเวลา 15 นาที แล้วนำไปกรอง ทดสอบสารสกัดเพื่อดูความไวของสารทดสอบต่อเชื้อ Plasmodium falciparum สายพันธุ์ K1 และ 3d7 ที่แยกได้จากประเทศบราซิล ซึ่งดื้อต่อยาคลอโรควีน แต่ไวต่อยาควินิน และอาร์ทีมิซินิน ผลการทดสอบพบว่าใบโกฐจุฬาลัมพาจาก 4 แหล่ง มีปริมาณของอาร์ทีมิซินิน อยู่ระหว่าง 0.90-1.13% ความเข้มข้นของอาร์ทีมิซินินที่ได้จากการแช่สกัดใบ อยู่ในช่วง 40-46 mg/L ผลจากการทดสอบพบว่าสารสกัดใบด้วยวิธีการแช่สกัดจากทั้ง 4 แหล่ง ออกฤทธิ์ดีในการยับยั้งเชื้อ P. falciparum สายพันธุ์ K1 และ 3d7 โดยมีค่า IC50 ต่ำ อยู่ระหว่าง 0.08-0.10 และ 0.09-0.13 μL/mL ตามลำดับ
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรส ทดสอบการยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสในหลอดทดลอง (อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรส เป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาท acethylcholine ในสมอง ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และความจำ การยับยั้งเอนไซม์นี้ จึงเป็นเป้าหมายในการรักษาโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์) ทดสอบด้วยวิธี Ellman’s colorimetric method ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอลส่วนเหนือดิน (ใบ และกิ่ง) ก่อนออกดอกของโกฐจุฬาลัมพา (A. annua) ที่ความเข้มข้น 1 mg/mL สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสได้ คิดเป็นร้อยละ 71.83 มีค่า IC50 เท่ากับ 87.43 μg/mLในขณะที่ส่วนสกัดย่อย F2 และ F4 ที่ได้จากการแยกสารสกัดเอทานอลด้วยเทคนิค silica gel column chromatography มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสสูง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 36.75 และ 28.82 μg/mLตามลำดับ สารบริสุทธิ์ 2 ชนิด ได้แก่ อาร์ทีมิซินิน และ chrysosplenetin ที่แยกได้จากการสกัดเอทานอลจากโกฐจุฬาลัมพาในขนาด 0.1 mg/mL มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71.67 และ 80.00 ตามลำดับ มีค่า IC50 เท่ากับ 29.34 และ 27.14 μg/mL ตามลำดับจากการศึกษาสารที่ได้จากโกฐจุฬาลัมพาพบว่ามีศักยภาพในการนำมาพัฒนายาที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ รวมถึงใช้ในโรคที่มีความผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับไนตริกออกไซด์ และเอนไซม์โคลีนเอสเทอรเรสได้
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหลอดทดลอง โดยดูผลการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ (NO) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งหลั่งจาก macrophage ของหนู (RAW 264.7 macrophage cell lines) ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide (LPS) ใช้สารสกัดเอทานอลจากส่วนเหนือดิน (ใบ และกิ่ง) ก่อนออกดอกของโกฐจุฬาลัมพา (A. annua) ในขนาด 50, 25, 12.5 และ 6.25 μg/mL และส่วนสกัดย่อย F1-F4 ที่ได้จากการแยกสารสกัดเอทานอลด้วยเทคนิค silica gel column chromatography ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอลที่ความเข้มข้น 6.25 μg/mL และส่วนสกัดย่อย F2 มีฤทธิ์ในการยับยั้ง NO สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 72.39 และ 71.00 ตามลำดับ โดยที่ไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ macrophage โดยมีอัตราการมีชีวิตรอดของเซลล์คิดเป็นร้อยละ 93.86 และ 79.87 ตามลำดับ
ฤทธิ์ระงับอาการปวด การศึกษาทางคลินิกที่ยืนยันถึงประสิทธิผล และความปลอดภัยของการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากโกฐจุฬาลัมพา (A. annua) ที่ใช้ระงับอาการปวด, และอาการข้อแข็ง ในผู้ป่วยโรคข้อที่สะโพกหรือเข่าเสื่อม เป็นการศึกษาแบบ short-term randomized, placebo-controlled, double-blind study โดยทำการสุ่มผู้ป่วยอายุระหว่าง 35-75 ปี จำนวน 42 คน แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากโกฐจุฬาลัมพาในขนาด 150, 300 mg และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ซึ่งแต่ละกลุ่มจะได้รับยาวันละสองครั้ง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ หลังจากนั้นประเมินประสิทธิผลด้วย Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index (WOMAC®) และประเมินอาการปวดด้วย visual analog scale (VAS) ผลการทดสอบพบว่าอาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากโกฐจุฬาลัมพาในขนาด 150 mg มีอาการดีขึ้นจากการประเมินด้วย WOMAC® อย่างมีนัยสำคัญ (mean change, −12.2; standard deviation, SD 13.84; p=0.0159) และยังพบว่าอาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากโกฐจุฬาลัมพาในขนาด 150 mg มีอาการปวดลดลงจากการประเมินด้วย VAS อย่างมีนัยสำคัญ (mean change, −21.4 mm; SD, 23.48 mm; p=0.0082) ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอก และได้รับสารสกัดขนาด 300 mg ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า สารสกัดจากโกฐจุฬาลัมพาในขนาดต่ำ 150 mg มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และระงับปวดในผู้ป่วยกระดูกและข้ออักเสบได้
การศึกษาทางพิษวิทยา
การศึกษาทางพิษวิทยาของโกฐจุฬาลัมพา (A.annua) ส่วนมากแล้วเป็นการศึกษาในต่างประเทศ ส่วนในประเทศไทยนั้น มีการศึกษาพืชชนิดนี้น้อยเพราะเป็นพืชที่ไม่มีในประเทศดังนั้น ผู้เขียนจึงยังไม่สามารถหาข้อมูลการศึกษาทางพิษวิทยามาได้
ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง
ในการเลือกใช้สมุนไพรโกฐจุฬาลัมพานั้น ควรต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพราะมีพืชหลายชนิดที่เข้าใจกันว่าเป็นพืชที่ให้เครื่องยาที่ใช้ชื่อ โกฐจุฬาลัมพา
การใช้สมุนไพรโกศจุฬาลัมพาก็เหมือนการใช้สมุนไพรชนิดอื่นคือต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมที่กำหนดไว้ในตำรับยาต่างๆ ไม่ควรใช้ในปริมาณมากและใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้
สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือต้องรับประทานยาต่อเนื่องก่อนใช้สมุนไพรโกฐจุฬาลัมนา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
เอกสารอ้างอิง
วิเชียร จีรวงส์. สมุนไพร. อนุสรณ์งานฌาปนกิจ นายกิจ จีรวงส์. กรุงเทพฯ. 2 ธันวาคม 2521: น.12-13.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โกฐจุฬาลําพา”. หน้า 104.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาศ ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์. คําอธิบายตําราพระโอสถพระนารายณ์. กรุงเทพฯ. อมรินทร์พรินติงแอนด์พับลิชชิง, 2544: น. 240-243.
อุทัย โสธนะพันธุ์ และคณะ.การพิสูจน์ชนิดทางพฤกษศาสตร์ของโกฐจุฬาลัมพาที่ใช้ในปัจจุบันด้วยเทคนิกโครมาโทกราฟีชนิดแผ่นบาง วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพปีที่ 8. ฉบับที่1 2556.หน้า 1-6
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ.โอเดียนสโตร์, 2540: น.112
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โกฐจุฬาลําพา Artemisia”. หน้า 216.
บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ.2544. ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรือง บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที 4) พ.ศ.2544
คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. สํานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2544.
เต็ม สมิตินันทน์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไขเพิjมเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สํานักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.สํานักพิมพ์ประชาชน, 2544: น.55-56, 229
เสงียม พงษ์บุญรอด. ไม้เทศเมืองไทย สรรพคุณยาเทศและยาไทย.กรุงเทพฯ. เกษมบรรณกิจ, 2522: น.75
โกฐจุฬาลัมพา.ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก
http://www.thaicruseseug.com/main.php?action=viewpage&pid=28
Silva LFR, Magalhães PM, Costa MRF, Alecrim MGC, Chaves FCM, Hidalgo AF, et al. In vitro susceptibility of Plasmodium falciparum Welch field isolates to infusions prepared from Artemisia annua L. cultivated in the Brazilian Amazon. Memórias do Instituto Oswaldo Cruz. 2012;107(7):859-866.
Chougouo RDK, Nguekeu YMM, Dzoyem JP, Awouafack MD, Kouamouo J, Tane P, et al. Anti-inflammatory and acetylcholinesterase activity of extract, fractions and five compounds isolated from the leaves and twigs of Artemisia annua growing in Cameroon. SpringerPlus. 2016;5:1525.
Stebbings S, Beattie E, McNamara D, Hunt S. A pilot randomized, placebo-controlled clinical trial to investigate the efficacy and safety of an extract of Artemisia annuaadministered over 12 weeks, for managing pain, stiffnessand functional limitation associated with osteoarthritis of the hipand knee. Clin Rheumatol. 2016; 35: 1829-1836.
.......................................................
โกฐจุฬาลัมพาจีน
ป้องกันโรคระบาดด้วยโกฐจุฬาลัมพาจีน
ตุลาคม 25, 2015มังกรสามเล็บการป้องกัน, รมยา, โกฐจุฬาลัมพาจีน, โรคระบาด
ป้องกันโรคระบาดด้วยโกฐจุฬาลัมพาจีน
มังกรสามเล็บ
คงเคยได้ยินกันมาบ้างกับคำว่า “ฝังเข็มรมยา” การรมยาที่ถูกจัดให้มีความสำคัญเทียบเท่ากับการฝังเข็มนั้นมีตัวยาสำคัญคือโกฐจุฬาลัมพาจีนนั่นเอง มาทำความรู้จักกับตัวยามากสรรพคุณนี้กันดีกว่า
โกฐจุฬาลัมพาจีน หรือที่รู้จักกันในภาษาจีนว่า อ้ายฉ่าว(艾草,ài cǎo) หรือ อ้ายเย่(艾叶,ài yè) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artemisia argyi เป็นพืชในวงศ์ทานตะวัน ซึ่งคล้ายคลึงกับพืชในวงศ์เดียวกันและมักเกิดความสับสนอย่าง โกฐจุฬาลัมพาไทย(Artemisia pallens, Artemisia vulgaris) และชิงฮาว(Artemisia annua) โกฐจุฬาลัมพาจีนมีรสเผ็ด ขม ฤทธิ์อุ่น มีสรรพคุณอบอุ่นเส้นลมปราณห้ามเลือด ขจัดความเย็นระงับอาการปวด และสามารถขจัดความชื้นระงับอาการคันเมื่อใช้ภายนอก นิยมนำมาใช้ในการรมยาโดยใช้ใบแห้งบดผงและปั้นเป็นก้อนจุดรมบริเวณจุดฝังเข็ม ซึ่งในหนังสือเปิ่นฉ่าวกังมู่《本草纲目》มีบันทึกไว้ว่าการใช้โกฐจุลาลัมพาจีนในการรมยานั้นต้องใช้ยาเก่าเก็บ หากใช้ยาใหม่อาจทำร้ายกล้ามเนื้อเส้นลมปราณ ซึ่งอาจเป็นเพราะในตัวยามีน้ำมันหอมระเหยอยู่มากเมื่อจุดไฟแล้วจะดับยากจึงต้องให้น้ำมันหอมระเหยลดน้อยลงก่อนจึงจะใช้ได้สะดวก โดยโกฐจุลาลัมพาจีนที่ขายอยู่ในท้องตลาดมักเป็นชนิดแท่งสำเร็จรูปมีอายุ 3ปี และ5ปี
ในปัจจุบันมีแพทย์จำนวนไม่น้อยที่ใช้การรมยาลดลงหรือไม่ใช้เลยเพราะการรมยาทำให้เกิดควันและกลิ่นไม่พึงประสงค์ติดเสื้อผ้าไปทั้งวัน แต่แท้ที่จริงแล้วควันจากการจุดรมยาของโกฐจุลาลัมพาจีนนั้นกลับมีประโยชน์มากกว่าที่คิดไว้มากนัก ในปี 2005 เมื่อเกิดไข้หวัดนกระบาดในประเทศจีน กระทวงสาธารณสุขจีนได้กำหนดแผนการตรวจรักษาโรคไข้หวัดนกโดยในส่วนของการป้องกันได้กำหนดให้ป้องกันเช่นเดียวกับการระบาดของไข้หวัดอื่นๆ และการใช้โกฐจุลาลัมจีนพาในการฆ่าเชื้อนั้นเป็นวิธีที่สะดวก ราคาถูก และให้ผลที่ดี ในปี 2009 มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ซานเซียงตูซื่อเป้า(三湘都市报)ของจีนว่าการจุดโกฐจุฬาลัมพาจีนสามารถฆ่าเชื้อมือเท้าปากได้อีกด้วย และยังมีงานวิจัยว่าควันจากการรมยาด้วยโกฐจุลาลัมพาจีนสามารถฆ่าเชื้อและหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อ S. aureus, Group B Streptococcus, E.coli และ Candida albicans นอกจากนี้ยังสามารถฆ่าเชื้อคอตีบ ไข้ไทฟอยด์ บิดไม่มีตัว เป็นต้น
วิธีการจุดรมเพื่อฆ่าเชื้อนั้นจะใช้โกฐจุลาลัมพาจีนชนิดแท่งจำนวน 3แท่งต่อพื้นที่ 15ตารางเมตร โดยการจุดไฟที่แท่งโกฐแล้วเสียบไว้ที่ปากขวดแก้วเพื่อไม่ให้แท่งโกฐล้มและเกิดเพลิงไหม้ วางขวดแก้วที่เตรียมไว้ภายในห้องโดยปิดห้องให้มิดชิดเพื่อให้ตัวยารมอยู่ในห้องเป็นเวลา 4-8 ชั่วโมง หากต่ำกว่า 4 ชั่วโมงผลการฆ่าเชื้อจะต่ำหรืออาจไม่มีผลเลย
หลังจากนั้นเมื่อครบตามเวลาจึงเปิดให้อากาศถ่ายเทเพื่อขจัดกลิ่นออก การเลือกใช้โกฐจุลาลัมพาจีนควรใช้ชนิดที่มีสิ่งเจือปนต่ำเพราะจะทำให้ควันเยอะและกลิ่นเหม็นอีกด้วย วิธีการนี้สามารถใช้เมื่อมีรายงานการระบาดของโรคในบริเวณใกล้เคียงหรือการระบาดในวงกว้างและใช้ฆ่าเชื้อในห้องที่ผู้ป่วยเคยอยู่อาศัยเป็นประจำเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ หากคิดว่าเวลา 4-8 ชั่วโมงนานเกินไปหรือรมยาแล้วจะกลิ่นยาจีนติดห้อง ลองคิดกลับกันว่าเพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคภัยต่างๆโดยเฉพาะผู้ที่มีลูกหลานตัวน้อยอยู่ภายในบ้าน จะรู้สึกว่าเวลาที่เสียไปกับกลิ่นยาจีนติดบ้านเพียงเล็กน้อยนั้นไม่ได้มากมายอะไรเลย
อ้างอิง
1. อุทัย โสธนะพันธุ์, ปนัดดา พัฒนวศนิ, จันคนา บูรณะโอสถ, สุนันทา ศรีโสภณ, Ashok Praveen Kumar และ Baokang Huang. “การพิสูจน์ชนิดทางพฤกษศาสตร์ของโกฐจุฬาลัมพาที่ใช้ในปัจจุบัน ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีชนิดแผ่นบาง”.วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. หน้า 1-6.
2. 杨梅.艾叶燃烧产物有效成分药效研究[D].中南民族大学,2009.
3. http://zhongyi.sina.com/aijiu/ajbj/116354.shtml
4. http://www.ayhealth.net/content/?86.html
https://tcmonweekends.wordpress.com/tag
.............................
มีรายงานวิจัยเป็นจำนวนมากพอสมควรที่สนับสนุนฤทธิ์ต้านมะเร็งของของชิงเฮา (Artemisia annua) และสารสำคัญที่สกัดได้จากชิงเฮา ได้แก่
อาร์ทีมิซินิน และอนุพันธ์ โดยพบว่าอาร์ทีมิซินินและอนุพันธ์สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งลำ ไส้ใหญ่ มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งในช่องปาก เป็นต้น การใช้ยาอาร์ทีมิซินินร่วมกับยาต้านมะเร็งมาตรฐานช่วยเพิ่มการตอบสนองต่อยาและยืดอายุผู้ป่วยได้นานขึ้น เนื่องจากเป็นยาที่มีการใช้มานานในผู้ป่วยมาลาเรียจํานวนมาก จึงมีความปลอดภัยสูงและไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียง
อ้างอิง จุรีย์ เจริญธีรบูรณ์. ยากลุ่มอาร์ทีมิซินิน: จากยาฆ่าเชื้อมาลาเรียสู่สารต้านมะเร็งตัวใหม่. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ (ฉบับออนไลน์). 2549;3:1-13.
...............................................
Mem Inst Oswaldo Cruz. 2012 Nov;107(7):859-66.
In vitro susceptibility of Plasmodium falciparum Welch field isolates to infusions prepared from Artemisia annua L. cultivated in the Brazilian Amazon.
Silva LF1, Magalhães PM, Costa MR, Alecrim Md, Chaves FC, Hidalgo Ade F, Pohlit AM, Vieira PP.
Author information
Abstract
Artemisinin is the active antimalarial compound obtained from the leaves of Artemisia annua L. Artemisinin, and its semi-synthetic derivatives, are the main drugs used to treat multi-drug-resistant Plasmodium falciparum (one of the human malaria parasite species). The in vitro susceptibility of P. falciparum K1 and 3d7 strains and field isolates from the state of Amazonas, Brazil, to A. annua infusions (5 g dry leaves in 1 L of boiling water) and the drug standards chloroquine, quinine and artemisinin were evaluated. The A. annua used was cultivated in three Amazon ecosystems (várzea, terra preta de índio and terra firme) and in the city of Paulínia, state of São Paulo, Brazil. Artemisinin levels in the A. annua leaves used were 0.90-1.13% (m/m). The concentration of artemisinin in the infusions was 40-46 mg/L. Field P. falciparum isolates were resistant to chloroquine and sensitive to quinine and artemisinin. The average 50% inhibition concentration values for A. annua infusions against field isolates were 0.11-0.14 μL/mL (these infusions exhibited artemisinin concentrations of 4.7-5.6 ng/mL) and were active in vitro against P. falciparum due to their artemisinin concentration. No synergistic effect was observed for artemisinin in the infusions.
PMID: 23147140 DOI: 10.1590/s0074-02762012000700004
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23147140
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น