วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

งานวิชาการ หนานเฉาเหว่ย

African Journal of Food Science and Technology Vol. 3(3) pp. 73-77, April 2012 
Available online http://www.interesjournals.org/AJFST 
Copyright © 2012 International Research Journals 

Full Length Research Paper 

The effect of vernonia amygdalina on alloxan induced diabetic albino rats 

P. C. Ekeocha1 , T.R. Fasola1 , A. H. Ekeocha2 

1Department of Botany and Micro Biology, University of Ibadan, Ibadan, Nigeria 

2Department of Animal Science, University of Ibadan, Ibadan, Nigeria 
Accepted 28 March, 2012 

The hypoglycemic effect of the plant extract of Vernonia amygdalina was determined using alloxan induced diabetic rats. The rats were divided into six groups of five rats each. Four of the groups were induced with diabetes and treated with different doses of the plant extract i.e. 50mg/kg, 100mg/kg, 200mg/kg and 400mg/kg which was administered for a period of two weeks. The plant extract was observed to have hypoglycemic effect on each group of diabetic rats as it reduced their fasting blood sugar (FBS) levels from 277.6mg/dl to 142.2mg/dl (Group1), 284.8mg/dl to 102.0mg/dl (Group2), 256.4mg/dl to 86.3mg/dl (Group3) and 265.6mg/dl to 82.1mg/dl (Group 4) over a period of two weeks. The fifth group consisting of non-induced rats was administered with 400mg/kg of Vernonia amygdalina for a period of two weeks and the FBS level was compared with that of the control group. There was no significant difference (P>0.05) between the mean FBS of the fifth group 81.6mg/dl and that of the control (86.9mg/dl). However, the hypoglycemic effect of the plant extract of Vernonia amygdalina was felt as this brought the mean FBS level from 91.4mg/dl to 81.6mg/dl as compared with the control. Table 4. Phytochemical screening on the leaves of Vernonia amygdalina revealed the presence of alkaloids, tannins, saponins and cardiac glycosides. The liver, kidney and pancreas of the experimental animals were examined histologically to ascertain if 400mg/kg of the plant extract is toxic to the organs or not. The plant extract had no adverse effect when administered on normal rats except for a marked congestion of the mesenteric blood vessel; the extract in fact reduced the level of damage to the kidney, liver and pancreas when administered on diabetic rats.

 Keywords: Vernonia amygdalina leaf extract, Alloxan-induced diabetic rats. 

https://pdfs.semanticscholar.org/b654/20ea494354b6d79b46a8738a4d9e0c6290f1.pdf





วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กล้วยหิน

 กล้วยหินเป็นกล้วยชนิดหนึ่ง ในสกุล Musa (BBB group) ดังนั้นน่าจะมีสรรพคุณซึ่งเหมือนหรือคล้ายกับกล้วยทั่วๆ ไป ซึ่งพบว่าผลกล้วยดิบมีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ท้องขึ้น ท้องร่วง และสมานแผล เป็นต้น
               มีข้อมูลงานวิจัยพบว่า ในกล้วยหินดิบจะมีปริมาณของแป้งชนิดรีซิสแทนต์สตาร์ช (Resistant starch) สูงกว่ากล้วยที่นิยมรับประทานและกล้วยพันธุ์พื้นบ้านอื่นๆ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยนางพญา และยังพบว่ากล้วยหินมีอัตราการย่อยช้ากว่าแป้งชนิดอื่น (รีซิสแทนต์สตาร์ช จะเป็นแป้งที่มีความทนทานไม่สามารถดูดซึมผ่านผนังเซลล์ลำไส้เล็กของคนปกติทั่วไป จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นเดียวกับใยอาหาร) ดังนั้นการบริโภคกล้วย ซึ่งมีปริมาณรีซิสแทนต์สตาร์ชสูง และมีอัตราการย่อยช้ากว่าแป้งอื่นๆ และการเปลี่ยนแปลงแป้งเป็นกลูโคสอย่างช้าๆ จะช่วยลดอัตราการดูดซึมและการเปลี่ยนเป็นพลังงานทำให้ร่างกายได้รับพลังงานที่ต่ำลง นอกจากนี้รีซิสแทนต์สตาร์ชของกล้วยยังมีสมบัติเป็นพรีไบโอติก ให้กับจุลินทรีย์กลุ่มแล็กโตบาซิลลัส เป็นผลให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารเป็นปกติดี

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

โรคผิวหนังแข็ง

 โรคผิวหนังแข็งเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่มีการกระตุ้นเซลล์ไฟโบบลาสต์ให้สร้างสายใยคอลลาเจนเพิ่มมากขึ้นทั้งในผิวหนังและอวัยวะภายในอื่นๆ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น และเกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน โดยอาจเกิดจากการแพ้ภูมิตนเอง คือ ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยทำงานผิดปกติ ทำให้ทำลายร่างกายของตนเอง การอักเสบที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดอาการบวมและร้อน ตามมาด้วยการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดที่มากเกิดไป การรักษาจะเป็นแบบประคับประคองตามอาการ เพื่อรอให้โรคสงบเอง โดยทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่การรักษาที่ไม่ต้องใช้ยา การใช้ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ การใช้ยาเมโทเทรกเซต หรือการใช้ยากดภูมิอื่นๆ แต่ผู้ป่วยต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดค่ะ

การปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสความเย็น, อากาศเย็น ควรใส่เสื้อผ้าที่หนาเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น อาการของโรค เช่น ปลายนิ้วมือ ซีด เขียวปวด จะกำเริบมากขึ้น
- หยุดสูบบุหรี่ เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น
- ควรทำกายภาพบำบัด นิ้วมือเพื่อป้องกันการติดยึด และข้อผิดรูปของนิ้วมือ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือการทำงานที่จะก่อให้แผลบริเวณปลายนิ้ว
- ออกกำลังกายบริเวณหัวไหล่ โดยการหมุนหัวไหล่ในท่าขว้างลูกบอล เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณปลายนิ้ว
- ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น กลืนลำบาก, หายใจลำบาก อึดอัด เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
- เข้ารับการตรวจและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ

ในส่วนของการใช้สมุนไพร ปัจจุบันยังไม่มีสมุนไพรชนิดใดที่มีงานวิจัยถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคดังกล่าวได้ แต่มีสมุนไพรหลายชนิดที่ใช้ภายนอกเพื่อบรรเทาอาการอักเสบบริเวณผิวหนังได้ เช่น บัวบก ว่านหางจระเข้ ขมิ้นชัน ซึ่งปัจจุบันมีจำหน่ายในรูปแบบของครีมทาภายนอกที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปค่ะ หรือการทาถูนวดด้วยน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบและบำรุงผิว ก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้บางส่วนค่ะ แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องของการแพ้ หากใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีผื่นคัน บวมแดง ก็ไม่ควรใช้ค่ะ

อ้างอิง : - บทความเรื่อง "โรคผิวหนังแข็ง (Scleroderma)" โดย ผศ. พญ. ปภาพิต ตู้จินดา ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=27

สาร curcumin จากขมิ้นชัน งานวิจัย วิธีใช้สารพัดเรื่องของขมิ้นชัน

สั่งซื้อ โทร+ไลน์ 0809898770
ขมิ้นช้นแห้ง(380บาท)
แคปซูล-พริกไทยแคปซูล(200เม็ด490บาท)
(สินค้าทำมือผลิตเมื่อสั่งเท่านั้นเพื่อความสดของสินค้า
เอกสารอ้างอิงจากต่างประเทศ อยู่ล่างสุด ถ้าอยากอ่าน

กินขมิ้นชันพร้อมกับพริกไทย
โดยปกติแล้วสารเคอร์คูมิน curcumin ซึ่งสาระสำคัญในขมิ้นชันจะดูดซึมในทางเดินอาหารได้น้อยมาก เนื่องจากเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ มีรายงานวิจัยพบว่าสาร piperine ซึ่งเป็นสารสำคัญในพริกไทยดำ มีคุณสมบัติเพิ่มการดูดซึมของสาร curcumin โดยการศึกษาในมนุษย์พบว่าการรับประทานสาร curcumin ร่วมกับสาร piperine มีผลทำให้ค่าชีวประสิทธิผลของสาร curcumin เพิ่มขึ้น 2,000% ที่เวลา 45 นาทีหลังจากรับประทานร่วมกัน และการศึกษาในหนูพบว่าการป้อนสาร piperine 20 mg/kg ร่วมกับ curcumin 2 g/kg มีผลเพิ่มความเข้มข้นของสาร curcumin ในเลือดได้ 154% ภายในเวลา 1-2 ชั่วโมง จึงสรุปได้ว่าการรับประทานขมิ้นชันร่วมกับพริกไทยดำจะช่วยเพิ่มการดูดซึมของสาร curcumin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่อยู่ในขมิ้นชันได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาของขมิ้นชัน อย่างไรก็ตามควรใช้ในขนาดที่เหมาะสม เนื่องจากมีรายงานพบว่าการใช้พริกไทยในขนาดสูงจะเป็นพิษต่อตับ และควรระมัดระวังการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันหลายชนิด เช่น propranolol, rifampicin, theophylline และ phenytoin เป็นต้น เนื่องจากสาร piperine ในพริกไทยมีผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cytochrome P 450 ที่ใช้เปลี่ยนสภาพยาได้แก่ CYP1A1, CYP1A2, CYP2D6, CYP3A4, และ CYP2C9 ซึ่งอาจทำให้ทำให้ระดับยาในเลือดของยาเหล่านี้สูงขึ้น เวลาที่ยาอยู่ในร่างกายยาวนานขึ้น ส่งผลให้การออกฤทธิ์ของยานานขึ้น แต่ในขณะเดียวกันอาจมีผลให้เกิดอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์จากการที่ยาอยู่ในร่างกายนานขึ้นได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า สาร piperine มีผลเพิ่มการดูดซึมยาปฏิชีวนะกลุ่ม beta-lactam คือ amozycillin trihydrate และ cefotoxime sodium เป็นต้น


Ref : Prasad S, Tyagi AK, Aggarwal BB. Recent Developments in Delivery, Bioavailability, Absorption and Metabolism of Curcumin: the Golden Pigment from Golden Spice. Cancer Res Treat. 2014;46(1): 2–18.
.

สารจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันโรคมะเร็งเช่น สาร curcumin จากขมิ้นชัน โดยออกฤทธิ์กระตุ้นการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตายของเซลล์มะเร็ง และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ

เนื่องจากขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวและต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด จึงควรระวังการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) และยาต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (antiplatelets) เช่น warfarin



นอกจากนี้สาร curcumin ในขมิ้นชันมีฤทิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4, CYP1A2 แต่กระตุ้นเอนไซม์ CYP2A6 จึงควรระวังการใช้ขมิ้นชันร่วมกับยาที่มีกระบวนการเมแทบอลิซึมผ่านเอนไซม์เหล่านี้ เช่น Diclofenac, Enalapril, Amlodipine, Atorvastatin, Paracetamol และควรระวังการใช้ร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น doxorubicin, chlormethine, cyclophosphamide และ camptothecin เนื่องจาก curcumin อาจมีผลต้านฤทธิ์ยาดังกล่าว

พืชสมุนไพรที่มีรายงานการวิจัยว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์เนื้องอกมดลูกได้แก่ ชา หญ้าแห้วหมู ขิง ขมิ้นชัน เป็นต้น แต่รายงานการวิจัยทั้งหมดเป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลองเท่านั้น




.

นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า แอนติออกซ์ (Antiox) สารสกัดขมิ้นชันในรูปแบบแคปซูลขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เป็นยาแผนปัจจุบัน ที่สามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งไม่เคยมีสมุนไพรได้รับการขึ้นทะเบียนในกลุ่มนี้มาก่อน ที่ผ่านมายาสมุนไพรจะนำมาใช้เป็นยาเสริมร่วมกับยาแผนปัจจุบัน แอนติออกซ์ ของ อภ. จึงเป็นสมุนไพรตัวแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบันสามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันตัวอื่นที่มีสรรพคุณเช่นเดียวกันได้ คือ บรรเทาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อม ทั้งนี้ ควรใช้ตามแพทย์แนะนำ สตรีมีครรภ์หรือระยะให้นมบุตรไม่ควรใช้ และผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีควรระวังในการใช้ โดยสารสะกัดขมิ้นชัน 1 แคปซูลจะเทียบเท่าเคอร์คูมินอยด์ 250 มิลลิกรัม


นพ.นพพร กล่าวอีกว่า อภ.ได้ศึกษาทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน โดยการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยเปรียบเทียบกับยาต้านอักเสบไอบูโปรเฟนในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่รพ.ศิริราช จำนวน 367 คน แบบสหสถาบัน แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 250 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซุล 3 ครั้งต่อวัน นาน 4 สัปดาห์ จำนวน 185 คน และกลุ่มที่ได้รับยาต้านอักเสบไอบูโปรเฟน รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน จำนวน 182 คน พบว่า แคปซูลสารสกัดขมิ้นชันมีประสิทธิผลในการลดอาการปวดข้อจากโรคข้อเข่าเสื่อมและช่วยให้การทำงานของข้อเข่าดีขึ้น ไม่แตกต่างกับการใช้ยาไอบูโบรเฟนและแคปซูลสารสกัดขมิ้นชันพบผลข้างเคียงด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดท้อง ท้องอืด น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาไอบูโปรเฟนอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการศึกษาทางพิษวิทยา มีการศึกษาพิษเรื้อรังในสัตว์ทดลอง พบว่าปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง

.



สมุนไพรใช้สำหรับข้อเข่าเสื่อม

ขณะนี้องค์การเภสัชกรรม(อภ.) ได้ออกสารสกัดขมิ้นชัน ชื่อว่า แอนติออกซ์ (Antiox) เป็นสารสกัดขมิ้นชันในรูปแบบแคปซูลขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เป็นยาแผนปัจจุบัน ที่สามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งมีสรรพคุณ บรรเทาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อม ทั้งนี้ ควรใช้ตามแพทย์แนะนำ สตรีมีครรภ์หรือระยะให้นมบุตรไม่ควรใช้ และผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ควรระวังในการใช้ โดยสารสกัดขมิ้นชัน 1 แคปซูลจะเทียบเท่าเคอร์คูมินอยด์ 250 มิลลิกรัม และการศึกษาทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ได้มีการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยเปรียบเทียบกับยาต้านอักเสบไอบูโปรเฟนในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่รพ.ศิริราช จำนวน 367 คน แบบสหสถาบัน แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 250 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซุล 3 ครั้งต่อวัน นาน 4 สัปดาห์ จำนวน 185 คน และกลุ่มที่ได้รับยาต้านอักเสบไอบูโปรเฟน รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน จำนวน 182 คน พบว่า แคปซูลสารสกัดขมิ้นชันมีประสิทธิผลในการลดอาการปวดข้อจากโรคข้อเข่าเสื่อมและช่วยให้การทำงานของข้อเข่าดีขึ้น ไม่แตกต่างกับการใช้ยาไอบูโบรเฟนและแคปซูลสารสกัดขมิ้นชันพบผลข้างเคียงด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดท้อง ท้องอืด น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาไอบูโปรเฟนอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการศึกษาทางพิษวิทยา มีการศึกษาพิษเรื้อรังในสัตว์ทดลอง พบว่าปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง



.
สรรพคุณของขมิ้นชัน
หง้าขมิ้นชันมีสรรพคุณ ใช้รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุดเสียด ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และใช้ภายนอกรักษาแผล แมลงกัดต่อย กลากเกลื้อน
ยาขมิ้นชัน (ตามที่ระบุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ)

ตัวยาสำคัญ:

ผงเหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) มีสารสำคัญ curcuminoids ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก (w/w) และน้ำมันระเหยง่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก (v/w)
ข้อบ่งใช้: บรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ขนาดและวิธีใช้:

รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน หรือผู้ที่ไวต่อยานี้

ข้อควรระวัง:

- ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
- ควรระวังการใช้กับหญิงตั้งครรภ์ ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
- ควรระวังการใช้กับเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย
- ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่กระบวนการเมแทบอลิซึม ผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากสาร curcumin ยับยั้ง CYP 3A4, CYP 1A2 แต่กระตุ้นเอนไซม์ CYP 2A6
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น doxorubicin, chlormethine, cyclophosphamide และ camptothecin เนื่องจาก curcumin อาจมีผลต้านฤทธิ์ยาดังกล่าว

อาการไม่พึงประสงค์: ผิวหนังอักเสบจากการแพ้



.
ขมิ้นชั้นกับการป้องกันไตเสื่อม
ขมิ้นชัน มีสารสำคัญคือเคอร์คูมิน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และต้านการอักเสบ นอกจากนี้มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าสารเคอร์คูมินมีฤทธิ์ป้องกันการทำลายไตจากโรคเบาหวาน ไตวายเรื้อรัง และจากยาปฏิชีวนะและสารที่เป็นพิษต่อไต ขมิ้นชันจึงอาจช่วยป้องกันภาวะไตเสื่อมได้



.
รักษาโรคเข่าเสื่อม
ขมิ้นชัน ถ้าจะรับประทานในกรณีรักษาข้อเข่าเสื่อม ต้องรับประทานในรูปของสารสกัดขมิ้นชัน ซึ่งถ้าเป็นสารสกัดขมิ้นชัน รับประทานครั้งละ 2 เม็ด 3 เวลา เม็ดละ 250 มก. รวมวันละ 1,500 มก. รับประทานต่อเนื่องไม่เกิน 4 สัปดาห์ ตามงานวิจัยของ รศ.พญ.วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ. ศิริราช ที่ได้ทดสอบกับผู้ป่วย


ในส่วนขององค์การเภสัชกรรม ได้มีผลิตภัณฑ์ของขมิ้นชันมาจำหน่าย โดยใช้ชื่อว่า Antiox ซึ่งเป็นสารสกัดขมิ้นชันเช่นเดียวกัน



.
จากการสืบค้นจากฐานข้อมูลสมุนไพร ของสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหิดล ตามรายงานการวิจัย ยังไม่พบข้อมูลของการรับประทานขมิ้นชันแล้วจะกระตุ้นเซลล์แบ่งเซลล์ผิดปกติได้ (ก่อมะเร็ง) ได้ แต่พบข้อมูลว่าขมิ้นชันสามารถยับยั้งเซล์มะเร็งเต้านม (การศึกษาในหลอดทดลอง) ยับยั้งเซลล์มะเร็งในถุงน้ำดี (ในสัตว์ทดลอง) และเมื่อดูงานวิจัยด้านความเป็นพิษก็ไม่พบข้อมูลการกระตุ้นเซลล์แบ่งเซลล์ผิดปกติได้ นอกจากนี้การรับประทานขมิ้นชันค่อนข้างมีความปลอดภัย แต่มีข้อควรระวัง ดังนี้
ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
- ควรระวังการใช้กับหญิงตั้งครรภ์ ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
- ควรระวังการใช้กับเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย
- ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่กระบวนการเมแทบอลิซึม ผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากสาร curcumin ยับยั้ง CYP 3A4, CYP 1A2 แต่กระตุ้นเอนไซม์ CYP 2A6

- ควรระวังการใช้ร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น doxorubicin, chlormethine, cyclophosphamide และ camptothecin เนื่องจาก curcumin อาจมีผลต้านฤทธิ์ยาดังกล่าว



.
โรคเก๊าท์ 
สมุนไพรที่มีการศึกษาว่ามีศักยภาพในการบรรเทาอาการปวดและการอักเสบของข้อหรือโรคเก๊าท์ ได้แก่ ขิง ขมิ้นชัน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส พริก และไพล เป็นต้น

• ขิง รับประทานในรูปแบบของสารสกัดขนาด 30 มก. - 2 ก./วัน นานมากกว่า 1 เดือน จะได้ผลใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบันที่บรรเทาอาการข้ออักเสบ แต่มีข้อควรระวังห้ามใช้สารสกัดขิงมากกว่า 6 ก./วัน เพราะอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้ เช่น อาการท้องเดิน แสบอก ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
• ขมิ้น รับประทานในรูปแบบของสาร curcumin จากขมิ้นวันละ 1,200 มก. สามารถต้านการอักเสบโรคไขข้อรูมาตอยด์ได้ แต่ห้ามใช้ในผู้ที่มีปัญหาท่อน้ำดีอุดตันและผู้ที่เป็นนิ่วในท่อน้ำดี
• น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส รับประทานในขนาด 6 ก./วัน เป็นเวลา 6 เดือน เทียบกับการรับประทานน้ำมันมะกอก พบว่าใน 3 เดือนแรกอาการข้อฝืดตอนเช้าลดลง และอาการปวดลดลงภายใน 6 เดือน อาการอันไม่พึงประสงต์ที่พบคือ อาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
• พริก ใช้ในรูปแบบของครีมแคปไซซินความเข้มข้น 0.025 – 0.075% ทาบริเวณที่ปวด วันละ 4 ครั้ง นาน 3 - 4 สัปดาห์ แต่อาจทำให้เกิดอาการผิวหนังไหม้ได้ ไม่ควรใช้ในผู้ที่ผิวแพ้ง่าย
• ไพล ใช้ในรูปแบบของครีมไพลที่มีส่วนประกอบของน้ำมันไพลอย่างน้อย 14% ทาบริเวณที่ปวด วันละ 2 - 3 ครั้ง นาน 3 - 4 สัปดาห์ แต่ควรหลีกเลี่ยงบริเวณผิวหนังอ่อนหรือบริเวณแผล เพราะอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้


อย่างไรก็ตาม การใช้อาหารและสมุนไพรดังกล่าว เป็นการใช้ในเชิงของการป้องกันและเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น หากเกิดอาการรุนแรง แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม



.
ประโยชน์ของขมิ้นชัน 
คือ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาแผล แมลงกัดต่อย รักษากลาก เกลื้อน โดยมีวิธีการใช้ ดังนี้
- ใช้รักษาแผล แมลงกัดต่อย โดยใช้ผงขมิ้นชัน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2-3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ คนจนน้ำมันกลายเป็นสีเหลือง ใช้น้ำมันที่ได้ใส่แผล หรืออาจตำจนละเอียดคั้นเอาน้ำใส่แผล โดยก่อนใส่แผลอาจผสมน้ำปูนใน สารส้มหรือดินประสิวเล็กน้อยก่อนพอกบริเวณที่เป็นแผล
- ใช้รักษากลาก เกลื้อน โดยผสมผงขมิ้นกับน้ำ แล้วทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน 2 ครั้งต่อวัน

- ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยรับประทานครั้งละ 2 - 4 แคปซูล (มีผงขมิ้นชัน 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม) วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน



.
การรับประทานขมิ้นชันแคปซูลเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ยังไม่มีข้อระบุแน่ชัดว่า สามารถรับประทานยาขมิ้นชันแคปซูล ติดต่อกันได้นานแค่ไหน แต่จากรายงานการศึกษาในผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งรับประทานขมิ้นชันแคปซูล 600 และ 1,000 มก./วัน นาน 12 สัปดาห์ (3 เดือน) พบว่ามีผลรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ใกล้เคียงกับการใช้ยาลดกรด และไม่พบผลข้างเคียงที่อันตราย แต่อย่างไรก็ตามการใช้ขมิ้นชัน มีข้อห้ามใช้ คือ ห้ามใช้ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน หรือผู้ที่ไวต่อยานี้ และข้อควรระวัง คือ ระวังการใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี หญิงตั้งครรภ์ และเด็ก ระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งถ้าคุณมีการใช้ยากลุ่มนี้อยู่ หากจะใช้ขมิ้นชันด้วย คงต้องระมัดระวังในการใช้



.
โรคหอบหืด
สมุนไพรที่มีรายงานว่าสามารถใช้ในการบรรเทาโรคหอบหืดได้มีหลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน ขิง แปะก๊วย งาขี้ม้อน ผักเบี้ยใหญ่ เป็นต้น โดยใช้ในรูปของสารสกัด ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้จะมีผลลดภาวะของโรคภูมิแพ้และการอักเสบ รวมไปถึงมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้



.
 สิวอักเสบ เป็นหนอง

จากการสืบค้นข้อมูล สมุนไพรที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์บรรเทาอาการสิวอักเสบ และมักใช้ในสูตรสำหรับผลิตภัณฑ์รักษาสิวหรือตำรับยาสำหรับรักษาโรคผิวหนังได้แก่ ว่านห่างจระเข้ กระเทียม ขมิ้นชัน สมอไทย และยูคาลิปตัส เป็นต้น





.
สมุนไพรรักษาโรคเก๊าท์
จากการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยพบว่า สมุนไพรที่มีการศึกษาว่ามีศักยภาพในการบรรเทาอาการปวดและอักเสบของข้อ หรือโรคเก๊าท์ ได้แก่ ขิง ขมิ้นชัน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เป็นต้น
ในปัจจุบันยังไม่พบรายงานการวิจัยทางคลินิคว่าสมุนไพรใดที่สามารถแก้โรคเก๊าท์ได้ อย่างไรก็ตามพบสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส (xanthine oxidase) ซึ่งทำหน้าที่สลายพิวรีนให้กลายเป็นกรดยูริก ซึ่งอาจช่วยควบคุมการสร้างกรดยูริกในร่างกายไม่ให้สูงเกินไปจนทำให้เกิดโรคเกาต์ สมุนไพรที่พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส เช่น คำฝอย ขิง ชั่งชิก สายน้ำผึ้ง เก๊กฮวย มะระขี้นก เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังไม่พบข้อมูลการนำมาใช้รวมกันในรูปของตำรับ รวมถึงการศึกษาในมนุษย์ถึงขนาดและรูปแบบที่เหมาะสม จึงยังไม่แนะนำให้นำมาใช้รับประทานเองค่ะ

การรักษาโรคเกาต์ ควรอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ ถ้าอยู่ในช่วงที่มีการอักเสบของข้อ คงต้องรักษาโดยใช้ยาที่ช่วยลดการบวมและการเกิดผลึกจากกรดยูริก และยาลดการอักเสบ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรดูแลตนเองเพื่อไม่ให้โรคกำเริบ โดยดื่มน้ำให้มาก ๆ จะช่วยขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น ชะเอม กระถิน แตงกวา หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด ดอกกะหล่ำ ถั่วงอก ยอดแค ดอกสะเดา สาหร่าย ยอดผักต่างๆ อาหารจำพวกสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ทุกชนิด กะปิ น้ำสกัดจากเนื้อ กุ้ง หอย กุนเชียง ไส้กรอก ปลาซาร์ดีน ไข่แมงดา เป็นต้น นอกจากนี้ควรงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยเฉพาะเบียร์



https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24328703


http://jpet.aspetjournals.org/content/232/1/258.short

https://www.thieme-connect.com/products/ejournals/abstract/10.1055/s-2006-957450

https://pubs.acs.org/doi/abs/10.1021/mp700113r

https://pdfs.semanticscholar.org/3a3b/0007f43c3cffc6217066614420568f7c3659.pdf

https://scholar.google.co.th/scholar?q=related:mZWQvzzmXdIJ:scholar.google.com/&scioq=asian+pacific+j+cancer+prev+12+3169-3173&hl=th&as_sdt=0,5&as_vis=1

https://archive.epa.gov/pesticides/reregistration/web/pdf/4022fact.pdf

https://www.academia.edu/28220617/Bisphenol-A_and_the_Great_Divide_A_Review_of_Controversies_in_the_Field_of_Endocrine_Disruption

พอแล้วมั๊ง จะมีคนค้นหา ศึกษาสักกี่คน








สรรพคุณพื้นบ้านจะใช้รากสามสิบ

สรรพคุณพื้นบ้านจะใช้รากสามสิบเป็นยาบำรุงสำหรับสตรี 

ส่วนการใช้ในผู้ชายจะเป็นช่วยเพิ่มพลังทางเพศ 

ในส่วนของงานวิจัยพบว่า รากสามสิบมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) 

ซึ่งอาจมีผล กระทบต่อสมดุลของระดับฮอร์โมนเพศตามปกติของผู้หญิงได้ 

แต่ยังไม่พบข้อมูลว่าผู้ชายใช้แล้ว จะมีหน้าอกหรือผิวพรรณเหมือนผู้หญิงหรือไม่มี

ปลาไหลเผือก (ข้อห้าม)

ผู้ที่ใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง เช่น propanolol ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสารสกัดรากปลาไหลเผือก 

เนื่องจากมีรายงานผลการวิจัยระบุว่า สารสกัดรากปลาไหลเผือกมีผลยับยั้งการดูดซึมของยาดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง


กระชายดำ ถั่งเช่า โสมและเห็ดหลินจือ (ข้อห้าม)

กระชายดำ ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับ ไม่ควรใช้ในเด็กหรือสตรีมีครรภ์ เนื่องจากยังขาดข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ และควรระวังการเกิดอันตรกิริยากับยาแผนปัจจุบัน เช่น ยา sildenafil (ยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ) เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา

โสมและเห็ดหลินจือ ควรระวังในผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้เห็ดหลินจือ และควรระมัดระวังการใช้ในผู้ที่แพ้สปอร์ของเห็ดต่างๆ

ถั่งเช่า ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ จะไปเสริมฤทธิ์กับยาลดน้ำตาลในเลือด ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มป้องกันการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive) ทั้งนี้เพราะว่าถั่งเช่ามีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และห้ามใช้ในคนที่แพ้เห็ด Cordyceps
อย่างไรก็ตาม หากสุขภาพดี ไม่จำเป็นต้องใช้สมุนไพรใดๆ และหากมีโรคประจำตัว ควรพบแพทย์และปรึกษาแพทย์ก่อนใช้สมุนไพร

กระชายดำ สรรพคุณ งานวิชาการ ยาอายุวัฒนะ บำรุงกาม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ


กระชายดำ (Kaempferia parviflora Wall. ex Baker) 
(สนใจสั้งซื้อ โทร+ไลน์ 0809898770)
ราคา ครึ่งกิโล 450บาท ราคา 1 กก 800 บาท
ค่าจัดส่ง 80บาท 
ดาวโหลด เอกสารงานวิจัยต่างประเทศ 
https://www.tm.mahidol.ac.th/seameo/2006_37_spp3/37sup3_210.pdf


เป็นพืชในวงศ์เดียวกับ กระชาย ข่า ขิง และขมิ้น (Zingiberaceae) มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ black ginger เนื่องมีลักษณะเหง้าคล้ายขิง แต่เนื้อในมีสีออกม่วงดำ ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามธรรมชาติบนภูเขา ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 630 เมตร หรือมากกว่า (1) ปัจจุบันมีการปลูกทั่วทุกภูมิภาคของไทย ซึ่งแหล่งปลูกที่สำคัญส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เชียงใหม่ และเชียงราย สายพันธุ์ของกระชายดำสามารถจำแนกโดยพิจารณาจากสีของเนื้อในเหง้าได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ สายพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีม่วง ม่วงเข้ม จนถึงม่วงดำ และสายพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง เนื่องจากมีความเชื่อว่าสีของเนื้อในเหง้าเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของกระชายดำ ในทางการค้าจึงมักนิยมกระชายดำมีเนื้อในเหง้าสีม่วงเข้ม ซึ่งเชื่อว่ามีคุณภาพดีและมีราคาสูงกว่ากระชายดำที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง




สารสำคัญที่พบในเหง้ากระชายดำ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย สารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) กลุ่มฟลาโวน (flavones) เช่น 5,7-dimethoxyflavone, 5,7,4-trimethoxyflavone, 5,7,3,4-tetramethoxyflavone และ 3,5,7,3,4-pentamethoxyflavone กลุ่มสารแอนโทไซยานิน (anthocyanins) (10) และสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) อื่นๆ ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีเข้ม จะมีปริมาณสารฟีนอลิกรวมและสารฟลาโวนอยด์สูงกว่าพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง ส่วนพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง จะมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าพันธุ์ที่มีสีเข้ม




ในตำรายาไทยกล่าวถึงสรรพคุณของกระชายดำไว้ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกาม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รูปแบบของการใช้แบบพื้นบ้าน จะนำมาทำเป็นยาลูกกลอน โดยเอาผงแห้งมาผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน หรือทำเป็นยาดองเหล้าและดองน้ำผึ้ง (1) จากรายงานการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของกระชายดำพบว่า มีฤทธิ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ ฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร ฤทธิ์ต่อภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ต่อไขมันและน้ำตาลในเลือด

สำหรับการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ของกระชายดำในสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดเอทานอลจากเหง้ามีผลทำให้พฤติกรรมทางเพศของสัตว์ทดลองดีขึ้น และมีผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์โดยเพิ่มน้ำหนักของท่อพักเชื้ออสุจิ ถุงน้ำอสุจิ ต่อมลูกหมาก และกล้ามเนื้อก้นของหนู นอกจากนี้ยังเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังระบบสืบพันธุ์และกล้ามเนื้อลายของหนูแรทเพศผู้ และอวัยวะเพศของสุนัข ยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบองคชาต (carvernosum) ของหนูแรท และกล้ามเนื้อเรียบอวัยวะเพศชายของคน ที่ได้จากการผ่าตัดแปลงเพศ ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายตัว เลือดจึงไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะเพศได้ดี ทำให้อวัยวะเพศเกิดการแข็งตัว สารสกัดเอทานอล และสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ phosphodiesterase ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัวและขยาย เลือดจึงไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะเพศได้ดี



การศึกษาในอาสาสมัครเพศชายที่มีสุขภาพดี อายุเฉลี่ย 65.05±3.5 ปี ที่รับประทานแคปซูลสารสกัด เอทานอลจากกระชายดำ ขนาด 25 และ 90 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าสารสกัด ขนาด 90 มิลลิกรัมต่อวัน มีผลเพิ่มการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางเพศ (erotic stimuli) ของอาสาสมัครได้ โดยเพิ่มขนาดและความยาวขององคชาติ ลดระยะเวลาในการหลั่งน้ำกาม และเพิ่มความพึงพอใจต่อการแข็งตัว (erection satisfaction) และผลยังคงอยู่จนถึง 2 เดือนที่ได้รับสารสกัดอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อหยุดให้สารสกัดก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่แคปซูลกระชายดำไม่มีผลต่อระดับของฮอร์โมน testosterone, FSH, LH, cortisol และ prolactin

จากรายงานการศึกษาวิจัยแสดงว่า กระชายดำมีผลเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของสัตว์ทดลองได้ โดยมีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะเพศคลายตัว ส่งผลให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศของสัตว์ทดลอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาสนับสนุนสรรพคุณพื้นบ้านของกระชายดำในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระชายดําไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ช่วยทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ง่าย และบ่อยขึ้น มีระยะเวลาในการแข็งตัวที่นานขึ้น สำหรับข้อมูลการศึกษาในคนแม้ว่าจะมีผล แต่การศึกษายังมีน้อย จึงยังไม่มีคำแนะนำเรื่องขนาดที่เหมาะสมและข้อมูลเรื่องความปลอดภัยเมื่อต้องใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน แม้จะยังไม่มีข้อห้ามหรือข้อควรระวังการใช้กระชายดำ แต่มีรายงานในสัตว์ทดลองที่ระบุว่า การให้กระชายดำในขนาดสูง หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ตับเกิดความผิดปกติได้ ดังนั้นผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับจึงควรหลีกเลี่ยง และในคนทั่วไปก็ไม่ควรใช้ในขนาดสูงหรือติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นกัน นอกจากนี้ไม่ควรใช้ในเด็กหรือสตรีมีครรภ์ เนื่องจากยังขาดข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ และควรระวังการเกิดอันตรกิริยากับยาแผนปัจจุบัน เช่น ยา sildenafil (ยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ) เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามากขึ้น ซึ่งหากสนใจและอยากลองใช้ แนะนำให้ใช้ในรูปแบบของการใช้แบบพื้นบ้านซึ่งมีการใช้กันมานานแล้ว






ปลาไหลเผือก หมามุ่ยอินเดีย และ กวาวเครือแดง

ขนาดรับประทานในการศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับฤทธิ์เสริมสมรรถภาพทางเพศคือ

ปลาไหลเผือกขนาดรับประทานไม่เกินวันละ 200-400 มก. ในรูปแบบยาเม็ดจากสารสกัดน้ำ นานติดต่อกันไม่เกิน 12 สัปดาห์, 

หมามุ่ยรับประทานไม่เกินวันละ 5 กรัม ในรูปแบบแคปซูลผงจากเมล็ดนานติดต่อกันไม่เกิน 12 สัปดาห์ ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำและผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคพาร์คินสัน เพราะอาจเสริมฤทธิ์กันจนเกิดอันตรายต่อร่างกายได้, 

กวาวเครือแดงรับประทานในรูปแบบผงแห้งขนาด 250 มก./แคปซูล ไม่เกินวันละ 4 เม็ด ติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน







สมุนไพรที่มีรายงานการวิจัยทางคลินิกเพื่อใช้รักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

สมุนไพรที่มีรายงานการวิจัยทางคลินิกเพื่อใช้รักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และให้ผลค่อนข้างไปในทางที่ดีโดยไม่พบอาการข้างเคียง ได้แก่ ทับทิม หญ้าฝรั่น เห็ดหลินจือ และปลาไหลเผือก
               -ทับทิม ให้อาสาสมัครเพศชาย 53 คน ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชนิดไม่รุนแรงดื่มน้ำจากผลทับทิมปริมาณ 8 ออนซ์ ทุกวันในเวลารับประทานอาหารเมื้อเย็น เป็นระยะเวลา พบว่าอาสาสมัครส่วนใหญ่ (42 คน) ให้คะแนนการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดสมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น และอาสาสมัคร 25 คน ได้ระบุว่าการดื่มน้ำจากผลทับทิมช่วยปรับภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศให้ดีขึ้นได้
               - หญ้าฝรั่น ให้ผู้ป่วยโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ 20 คนรับประทานหญ้าฝรั่นอัดเม็ด 200 มก วันละครั้ง เป็นเวลา 10 วัน พบว่า ผู้ป่วยให้คะแนนการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดสมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น และมีอัตราการแข็งตัวและการขยายตัวของอวัยวะเพศขณะนอนหลับเพิ่มมากขึ้น
               - การศึกษาในประเทศจีน โดยให้ผู้ป่วยโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ 60 คน ดื่มน้ำต้มจากส่วน fruit bodies ของเห็ดหลินจือ นาน 1 เดือน พบว่า ผู้ป่วย 17 คน ระบุว่ามีอาการค่อนข้างดีขึ้น 25 คน ระบุว่าการดื่มน้ำต้มจากเห็ดหลินจือช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ 14 คน ระบุว่า ช่วยรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และ 4 คน ระบุว่าไม่มีผลต่อการรักษา


               - ในประเทศมาเลเซียมีการทดสอบทางคลินิกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สารสกัดปลาไหลเผือก LJ100TM โดยให้อาสาสมัครเพศชาย 23 คน รับประทานยาดังกล่าว ขนาด วันละ 100 มก. นาน 3 สัปดาห์พบว่าอาสามัครให้ค่าคะแนนสมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น 91% และค่าคะแนนสมรรถภาพร่างกายเพิ่มขึ้น 73% และในรายงานระบุว่าสามารถเพิ่มความกำหนัดและการประสบความสำเร็จในการมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน testoseterone



เมล็ดหมามุ่ย

มีการศึกษาในคนเกี่ยวฤทธิ์ในการเพิ่มจำนวนตัวอสุจิของเมล็ดหมามุ่ย (Mucuna pruriens  ) โดยศึกษาในอาสาสมัครเพศชายจำนวน 60 คน และในเพศชายที่เกิดภาวะมีบุตรยาก 60 คน อายุ 30-40 ปี โดยให้รับประทานนมผสมผงของเมล็ดหมามุ่ย 5 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าในกลุ่มเพศชายที่เกิดภาวะมีบุตรยาก มีการเคลื่อนที่และจำนวนอสุจิเพิ่มขึ้น ส่วนในสัตว์ทดลองพบว่าเมื่อป้อนสารสกัดด้วยเอทานอลจากหมามุ่ยความเข้มข้น 200 มก./กก. วันละครั้ง เป็นเวลา 21-45 วัน จะช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของหนูแรท การทดสอบความเป็นพิษพบว่า สารสกัดเมล็ดด้วยน้ำเป็นพิษ เมื่อผสมในอาหารให้หนูขาวกิน โดยทำให้หนูขาวน้ำหนักตัวลดลง
               งานวิจัยในคนข้างต้นเป็นการศึกษาในต่างประเทศ ส่วนในประเทศไทย พบว่า เภสัชกรหญิงสุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้าเภสัชกร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี กำลังเก็บข้อมูลศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์จากเมล็ดหมามุ่ยในด้านกินบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ตามที่มีการเผยแพร่ในเอกสารวิชาการของประเทศอินเดีย ทั้งนี้ในหมามุ่ยมีสารที่ชื่อว่า แอลโดปาร์(L-Dopa) หมอพื้นบ้านของไทยมีการใช้เมล็ดหมามุ่ยเป็นยาเพิ่มพลังทางเพศชายมานานแล้ว ได้มีการทดลองกับผู้มีบุตรยากที่เกิดจากมีสเปิร์มต่ำ โดยการกินมี 2 วิธี คือ เอาเมล็ดไปคั่ว หรือเอาไปนึ่งกิน วันละไม่เกิน 5 กรัม ทั้งนี้การศึกษาฤทธิ์ของหมามุ่ยในประเทศ ด้านกินบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาจึงไม่สามารถยืนยันผลเรื่องการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ ถ้าต้องการซื้อผลิตภัณฑ์มาใช้ควรเลือกซื้อในแหล่งที่เชื่อถือได้

สมุนไพรที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย

สมุนไพรที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย testosterone ในสัตว์ทดลอง ได้แก่ มะระขี้นก เกากี่ฉ่าย ผักปลังขาว ตำลึง เป็นต้น 

ส่วนสมุนไพรที่มีการศึกษาทางคลินิกโดยพบว่ามีผลทำให้พฤติกรรมทางเพศดีขึ้น หรือมีผลเพิ่มฮอร์โมน testosterone ได้แก่ ปลาไหลเผือก โสมเกาหลี แป๊ะก๊วย หญ้าฝรั่น ทับทิม กวาวเครือแดง เห็ดหลินจือ หนามกระสุน และหอมหัวใหญ่ 

ซึ่งส่วนใหญ่รายงานว่าใช้ได้ผลดี แต่เนื่องจากงานวิจัยยังมีน้อย ทำให้ยังขาดเรื่องขนาดและวิธีการรับประทานที่เหมาะสม รวมทั้งเรื่องความปลอดภัยด้วย

โดยส่วนใหญ่สมุนไพรที่มีฤทธิ์เสริมสมรรถภาพทางเพศจะออกฤทธิ์คล้ายๆ กันคือไปเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศ และออกฤทธิ์เพิ่มสาร nitric oxide เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย (testosterone)  ยกตัวอย่างเช่น
               ต้นกระชายดำ เป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่าออกฤทธิ์โดยการไปเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศผู้ของสัตว์ทดลอง ทำให้แข็งตัว

               ต้นโสมเกาหลี เป็นการศึกษาในสัตว์ทดลองเช่นกัน พบว่าออกฤทธิ์โดยไปเพิ่มปริมาณของสาร nitric oxide ส่งผลยับยั้งการเคลื่อนที่ของแคลเซียมไม่ให้เข้าสู่เซลล์ แล้วมีผลให้อวัยวะเพศแข็งตัว เป็นต้น

กวาวเครือแดง

จากการสืบค้นงานวิจัยพบว่ากวาวเครือแดงออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศชาย (Androgenic effect) ในการทดลองทางคลินิก เมื่อให้อาสาสมัครเพศชายที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศรับประทานแคปซูผงกวาวเครือแดง 2 แคปซูล/วัน ในช่วง 4 วันแรก หลังจากนั้นรับประทาน 4 แคปซูล/วัน จนครบ 3 เดือน พบว่าอาสาสมัครมีอาการดีขึ้น ส่วนการทดสอบความเป็นพิษของกวาวเครือแดงนั้น มีการทดลองในหนูแรทเพศผู้ไม่พบความเป็นพิษ และยังไม่พบรายงานความเป็นพิษในคน 

ถั่งเช่า

 ตังถั่งเฉ่า หรือ ถั่งเช่า เป็นเห็ดรา ชื่อ Cordyceps sinensis  ที่ขึ้นอยู่บนซากของหนอนผีเสื้อชนิดหนึ่ง ในสรรพคุณทางยาจีน จะใช้เป็นยาบำรุงที่ฤทธิ์ไม่ร้อน มีสรรพคุณ บำรุงไต ปอด อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปวดหลัง เป็นต้น ข้อมูลวิจัยพบว่ามีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยับยั้งเซลส์มะเร็งในหลอดทดลอง มีการใช้ในประเทศจีนในผู้ป่วยมะเร็งพบว่าจะช่วยเรื่องภูมิคุ้นกันของร่างกาย และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้





รายงานวิจัยพบว่ากวาวเครือ

รายงานวิจัยพบว่ากวาวเครือขาวออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง (estrogenic effect) ส่วนกวาวเครือแดง ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศชาย (androgenic effect) 

ขนาดที่ใช้รับประทาน หากใช้ตามตำรายาแผนโบราณ จะใช้หัวกวาวเครือขาวบดเป็นผงผสมน้ำผึ้ง 1 ต่ อ1 รับประทานวันละ 1 เม็ด ขนาดเท่าเม็ดพริกไทย ส่วนกวาวเครือแดง ให้รับประทานวันละ 2 ใน 3 ส่วน ของขนาดเม็ดพริกไทย 

ในการทดลองทางคลินิกเมื่อให้สตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ รับประทานสารไมโรเอสตรอลจากกวาวเครือขาว วันละ 1 มก. 6 ครั้ง และวันละ 5 มก. 6 ครั้ง 

พบว่ามีฤทธิ์เป็นเอสโตรเจนอย่างแรง ซึ่งเห็นผล 2-3 สัปดาห์หลังจากเริ่มให้ยา หรือเมื่อให้ผงกวาวเครือขาว ขนาด 10-600 มก. แก่อาสาสมัครผู้หญิงชาวญี่ปุ่น พบว่าทำให้ทรวงอกใหญ่ขึ้น จำนวนร้อยละ 72


               ส่วนการทดลองทางคลินิกของกวาวเครือแดง เมื่อให้อาสมัครชายที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ รับประทานแคปซูลผงกวาวเครือแดง 2 แคปซูล/วัน ในช่วง 4 วันแรก และ 4 แคปซูล/วัน จนครบ 3 เดิอน พบว่ามีอาการดีขึ้น




วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง โรคเลือดข้นและเลือดหนืด และวิธีรักษาการปฏิบัติตัว

โรคเลือดข้น (Polycythemia) คือ ภาวะที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดในจำนวนที่มากผิดปกติ ทำให้เลือดข้นขึ้น ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย และทำให้ผู้ป่วยหน้าแดง มือและเท้าแดง ความดันโลหิตสูง เลือดกำเดาไหล ฟกช้ำ เป็นต้น ผู้ที่มีภาวะเลือดข้นในระดับที่ไม่รุนแรงหากปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานยาตามกำหนด จนสามารถควบคุมอาการได้แล้วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

อาการของเลือดข้น
ผู้ที่มีภาวะเลือดข้นในระดับที่ไม่รุนแรงจะมีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ ตาพร่า หน้าแดง มือและเท้าแดง อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง รู้สึกไม่สบายท้อง เลือดกำเดาไหล ฟกช้ำ มีอาการของโรคเกาต์ เช่น มีอาการปวดและบวมตามข้อ หรือคันตามผิวหนังโดยเฉพาะหลังอาบน้ำ เป็นต้น ภาวะเลือดข้นอาจจะส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด หรือโรคหลอดเลือดสมองได้

ควรไปพบแพทย์โดยด่วนหากพบอาการวิงเวียนศีรษะ หายใจหอบ ไอเป็นเลือด เป็นลม เจ็บหน้าอกหรือมีอาการปวด บวม แดง หรือกดแล้วเจ็บบริเวณขาข้างที่มีลิ่มเลือด เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการของภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein Thrombosis: DVT) บริเวณขา ก่อนที่จะเกิดการอุดตันในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

เห็ดกระถินพิมานรักษามะเร็ง

พ่นควันไล่ผึ้ง

รักษาเก๊าท์

โกฏจุฬาลัมพาแห้ง