วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

สาร curcumin จากขมิ้นชัน งานวิจัย วิธีใช้สารพัดเรื่องของขมิ้นชัน

สั่งซื้อ โทร+ไลน์ 0809898770
ขมิ้นช้นแห้ง(380บาท)
แคปซูล-พริกไทยแคปซูล(200เม็ด490บาท)
(สินค้าทำมือผลิตเมื่อสั่งเท่านั้นเพื่อความสดของสินค้า
เอกสารอ้างอิงจากต่างประเทศ อยู่ล่างสุด ถ้าอยากอ่าน

กินขมิ้นชันพร้อมกับพริกไทย
โดยปกติแล้วสารเคอร์คูมิน curcumin ซึ่งสาระสำคัญในขมิ้นชันจะดูดซึมในทางเดินอาหารได้น้อยมาก เนื่องจากเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ มีรายงานวิจัยพบว่าสาร piperine ซึ่งเป็นสารสำคัญในพริกไทยดำ มีคุณสมบัติเพิ่มการดูดซึมของสาร curcumin โดยการศึกษาในมนุษย์พบว่าการรับประทานสาร curcumin ร่วมกับสาร piperine มีผลทำให้ค่าชีวประสิทธิผลของสาร curcumin เพิ่มขึ้น 2,000% ที่เวลา 45 นาทีหลังจากรับประทานร่วมกัน และการศึกษาในหนูพบว่าการป้อนสาร piperine 20 mg/kg ร่วมกับ curcumin 2 g/kg มีผลเพิ่มความเข้มข้นของสาร curcumin ในเลือดได้ 154% ภายในเวลา 1-2 ชั่วโมง จึงสรุปได้ว่าการรับประทานขมิ้นชันร่วมกับพริกไทยดำจะช่วยเพิ่มการดูดซึมของสาร curcumin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่อยู่ในขมิ้นชันได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาของขมิ้นชัน อย่างไรก็ตามควรใช้ในขนาดที่เหมาะสม เนื่องจากมีรายงานพบว่าการใช้พริกไทยในขนาดสูงจะเป็นพิษต่อตับ และควรระมัดระวังการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันหลายชนิด เช่น propranolol, rifampicin, theophylline และ phenytoin เป็นต้น เนื่องจากสาร piperine ในพริกไทยมีผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cytochrome P 450 ที่ใช้เปลี่ยนสภาพยาได้แก่ CYP1A1, CYP1A2, CYP2D6, CYP3A4, และ CYP2C9 ซึ่งอาจทำให้ทำให้ระดับยาในเลือดของยาเหล่านี้สูงขึ้น เวลาที่ยาอยู่ในร่างกายยาวนานขึ้น ส่งผลให้การออกฤทธิ์ของยานานขึ้น แต่ในขณะเดียวกันอาจมีผลให้เกิดอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์จากการที่ยาอยู่ในร่างกายนานขึ้นได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า สาร piperine มีผลเพิ่มการดูดซึมยาปฏิชีวนะกลุ่ม beta-lactam คือ amozycillin trihydrate และ cefotoxime sodium เป็นต้น


Ref : Prasad S, Tyagi AK, Aggarwal BB. Recent Developments in Delivery, Bioavailability, Absorption and Metabolism of Curcumin: the Golden Pigment from Golden Spice. Cancer Res Treat. 2014;46(1): 2–18.
.

สารจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันโรคมะเร็งเช่น สาร curcumin จากขมิ้นชัน โดยออกฤทธิ์กระตุ้นการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตายของเซลล์มะเร็ง และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ

เนื่องจากขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวและต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด จึงควรระวังการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) และยาต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (antiplatelets) เช่น warfarin



นอกจากนี้สาร curcumin ในขมิ้นชันมีฤทิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4, CYP1A2 แต่กระตุ้นเอนไซม์ CYP2A6 จึงควรระวังการใช้ขมิ้นชันร่วมกับยาที่มีกระบวนการเมแทบอลิซึมผ่านเอนไซม์เหล่านี้ เช่น Diclofenac, Enalapril, Amlodipine, Atorvastatin, Paracetamol และควรระวังการใช้ร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น doxorubicin, chlormethine, cyclophosphamide และ camptothecin เนื่องจาก curcumin อาจมีผลต้านฤทธิ์ยาดังกล่าว

พืชสมุนไพรที่มีรายงานการวิจัยว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์เนื้องอกมดลูกได้แก่ ชา หญ้าแห้วหมู ขิง ขมิ้นชัน เป็นต้น แต่รายงานการวิจัยทั้งหมดเป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลองเท่านั้น




.

นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า แอนติออกซ์ (Antiox) สารสกัดขมิ้นชันในรูปแบบแคปซูลขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เป็นยาแผนปัจจุบัน ที่สามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งไม่เคยมีสมุนไพรได้รับการขึ้นทะเบียนในกลุ่มนี้มาก่อน ที่ผ่านมายาสมุนไพรจะนำมาใช้เป็นยาเสริมร่วมกับยาแผนปัจจุบัน แอนติออกซ์ ของ อภ. จึงเป็นสมุนไพรตัวแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบันสามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันตัวอื่นที่มีสรรพคุณเช่นเดียวกันได้ คือ บรรเทาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อม ทั้งนี้ ควรใช้ตามแพทย์แนะนำ สตรีมีครรภ์หรือระยะให้นมบุตรไม่ควรใช้ และผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีควรระวังในการใช้ โดยสารสะกัดขมิ้นชัน 1 แคปซูลจะเทียบเท่าเคอร์คูมินอยด์ 250 มิลลิกรัม


นพ.นพพร กล่าวอีกว่า อภ.ได้ศึกษาทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน โดยการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยเปรียบเทียบกับยาต้านอักเสบไอบูโปรเฟนในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่รพ.ศิริราช จำนวน 367 คน แบบสหสถาบัน แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 250 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซุล 3 ครั้งต่อวัน นาน 4 สัปดาห์ จำนวน 185 คน และกลุ่มที่ได้รับยาต้านอักเสบไอบูโปรเฟน รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน จำนวน 182 คน พบว่า แคปซูลสารสกัดขมิ้นชันมีประสิทธิผลในการลดอาการปวดข้อจากโรคข้อเข่าเสื่อมและช่วยให้การทำงานของข้อเข่าดีขึ้น ไม่แตกต่างกับการใช้ยาไอบูโบรเฟนและแคปซูลสารสกัดขมิ้นชันพบผลข้างเคียงด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดท้อง ท้องอืด น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาไอบูโปรเฟนอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการศึกษาทางพิษวิทยา มีการศึกษาพิษเรื้อรังในสัตว์ทดลอง พบว่าปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง

.



สมุนไพรใช้สำหรับข้อเข่าเสื่อม

ขณะนี้องค์การเภสัชกรรม(อภ.) ได้ออกสารสกัดขมิ้นชัน ชื่อว่า แอนติออกซ์ (Antiox) เป็นสารสกัดขมิ้นชันในรูปแบบแคปซูลขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เป็นยาแผนปัจจุบัน ที่สามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งมีสรรพคุณ บรรเทาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อม ทั้งนี้ ควรใช้ตามแพทย์แนะนำ สตรีมีครรภ์หรือระยะให้นมบุตรไม่ควรใช้ และผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ควรระวังในการใช้ โดยสารสกัดขมิ้นชัน 1 แคปซูลจะเทียบเท่าเคอร์คูมินอยด์ 250 มิลลิกรัม และการศึกษาทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ได้มีการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยเปรียบเทียบกับยาต้านอักเสบไอบูโปรเฟนในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่รพ.ศิริราช จำนวน 367 คน แบบสหสถาบัน แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 250 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซุล 3 ครั้งต่อวัน นาน 4 สัปดาห์ จำนวน 185 คน และกลุ่มที่ได้รับยาต้านอักเสบไอบูโปรเฟน รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน จำนวน 182 คน พบว่า แคปซูลสารสกัดขมิ้นชันมีประสิทธิผลในการลดอาการปวดข้อจากโรคข้อเข่าเสื่อมและช่วยให้การทำงานของข้อเข่าดีขึ้น ไม่แตกต่างกับการใช้ยาไอบูโบรเฟนและแคปซูลสารสกัดขมิ้นชันพบผลข้างเคียงด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดท้อง ท้องอืด น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาไอบูโปรเฟนอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการศึกษาทางพิษวิทยา มีการศึกษาพิษเรื้อรังในสัตว์ทดลอง พบว่าปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง



.
สรรพคุณของขมิ้นชัน
หง้าขมิ้นชันมีสรรพคุณ ใช้รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุดเสียด ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และใช้ภายนอกรักษาแผล แมลงกัดต่อย กลากเกลื้อน
ยาขมิ้นชัน (ตามที่ระบุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ)

ตัวยาสำคัญ:

ผงเหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) มีสารสำคัญ curcuminoids ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก (w/w) และน้ำมันระเหยง่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก (v/w)
ข้อบ่งใช้: บรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ขนาดและวิธีใช้:

รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน หรือผู้ที่ไวต่อยานี้

ข้อควรระวัง:

- ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
- ควรระวังการใช้กับหญิงตั้งครรภ์ ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
- ควรระวังการใช้กับเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย
- ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่กระบวนการเมแทบอลิซึม ผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากสาร curcumin ยับยั้ง CYP 3A4, CYP 1A2 แต่กระตุ้นเอนไซม์ CYP 2A6
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น doxorubicin, chlormethine, cyclophosphamide และ camptothecin เนื่องจาก curcumin อาจมีผลต้านฤทธิ์ยาดังกล่าว

อาการไม่พึงประสงค์: ผิวหนังอักเสบจากการแพ้



.
ขมิ้นชั้นกับการป้องกันไตเสื่อม
ขมิ้นชัน มีสารสำคัญคือเคอร์คูมิน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และต้านการอักเสบ นอกจากนี้มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าสารเคอร์คูมินมีฤทธิ์ป้องกันการทำลายไตจากโรคเบาหวาน ไตวายเรื้อรัง และจากยาปฏิชีวนะและสารที่เป็นพิษต่อไต ขมิ้นชันจึงอาจช่วยป้องกันภาวะไตเสื่อมได้



.
รักษาโรคเข่าเสื่อม
ขมิ้นชัน ถ้าจะรับประทานในกรณีรักษาข้อเข่าเสื่อม ต้องรับประทานในรูปของสารสกัดขมิ้นชัน ซึ่งถ้าเป็นสารสกัดขมิ้นชัน รับประทานครั้งละ 2 เม็ด 3 เวลา เม็ดละ 250 มก. รวมวันละ 1,500 มก. รับประทานต่อเนื่องไม่เกิน 4 สัปดาห์ ตามงานวิจัยของ รศ.พญ.วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ. ศิริราช ที่ได้ทดสอบกับผู้ป่วย


ในส่วนขององค์การเภสัชกรรม ได้มีผลิตภัณฑ์ของขมิ้นชันมาจำหน่าย โดยใช้ชื่อว่า Antiox ซึ่งเป็นสารสกัดขมิ้นชันเช่นเดียวกัน



.
จากการสืบค้นจากฐานข้อมูลสมุนไพร ของสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหิดล ตามรายงานการวิจัย ยังไม่พบข้อมูลของการรับประทานขมิ้นชันแล้วจะกระตุ้นเซลล์แบ่งเซลล์ผิดปกติได้ (ก่อมะเร็ง) ได้ แต่พบข้อมูลว่าขมิ้นชันสามารถยับยั้งเซล์มะเร็งเต้านม (การศึกษาในหลอดทดลอง) ยับยั้งเซลล์มะเร็งในถุงน้ำดี (ในสัตว์ทดลอง) และเมื่อดูงานวิจัยด้านความเป็นพิษก็ไม่พบข้อมูลการกระตุ้นเซลล์แบ่งเซลล์ผิดปกติได้ นอกจากนี้การรับประทานขมิ้นชันค่อนข้างมีความปลอดภัย แต่มีข้อควรระวัง ดังนี้
ข้อควรระวัง:
- ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
- ควรระวังการใช้กับหญิงตั้งครรภ์ ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
- ควรระวังการใช้กับเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย
- ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่กระบวนการเมแทบอลิซึม ผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP 450) เนื่องจากสาร curcumin ยับยั้ง CYP 3A4, CYP 1A2 แต่กระตุ้นเอนไซม์ CYP 2A6

- ควรระวังการใช้ร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น doxorubicin, chlormethine, cyclophosphamide และ camptothecin เนื่องจาก curcumin อาจมีผลต้านฤทธิ์ยาดังกล่าว



.
โรคเก๊าท์ 
สมุนไพรที่มีการศึกษาว่ามีศักยภาพในการบรรเทาอาการปวดและการอักเสบของข้อหรือโรคเก๊าท์ ได้แก่ ขิง ขมิ้นชัน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส พริก และไพล เป็นต้น

• ขิง รับประทานในรูปแบบของสารสกัดขนาด 30 มก. - 2 ก./วัน นานมากกว่า 1 เดือน จะได้ผลใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบันที่บรรเทาอาการข้ออักเสบ แต่มีข้อควรระวังห้ามใช้สารสกัดขิงมากกว่า 6 ก./วัน เพราะอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้ เช่น อาการท้องเดิน แสบอก ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
• ขมิ้น รับประทานในรูปแบบของสาร curcumin จากขมิ้นวันละ 1,200 มก. สามารถต้านการอักเสบโรคไขข้อรูมาตอยด์ได้ แต่ห้ามใช้ในผู้ที่มีปัญหาท่อน้ำดีอุดตันและผู้ที่เป็นนิ่วในท่อน้ำดี
• น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส รับประทานในขนาด 6 ก./วัน เป็นเวลา 6 เดือน เทียบกับการรับประทานน้ำมันมะกอก พบว่าใน 3 เดือนแรกอาการข้อฝืดตอนเช้าลดลง และอาการปวดลดลงภายใน 6 เดือน อาการอันไม่พึงประสงต์ที่พบคือ อาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
• พริก ใช้ในรูปแบบของครีมแคปไซซินความเข้มข้น 0.025 – 0.075% ทาบริเวณที่ปวด วันละ 4 ครั้ง นาน 3 - 4 สัปดาห์ แต่อาจทำให้เกิดอาการผิวหนังไหม้ได้ ไม่ควรใช้ในผู้ที่ผิวแพ้ง่าย
• ไพล ใช้ในรูปแบบของครีมไพลที่มีส่วนประกอบของน้ำมันไพลอย่างน้อย 14% ทาบริเวณที่ปวด วันละ 2 - 3 ครั้ง นาน 3 - 4 สัปดาห์ แต่ควรหลีกเลี่ยงบริเวณผิวหนังอ่อนหรือบริเวณแผล เพราะอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้


อย่างไรก็ตาม การใช้อาหารและสมุนไพรดังกล่าว เป็นการใช้ในเชิงของการป้องกันและเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น หากเกิดอาการรุนแรง แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม



.
ประโยชน์ของขมิ้นชัน 
คือ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาแผล แมลงกัดต่อย รักษากลาก เกลื้อน โดยมีวิธีการใช้ ดังนี้
- ใช้รักษาแผล แมลงกัดต่อย โดยใช้ผงขมิ้นชัน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2-3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ คนจนน้ำมันกลายเป็นสีเหลือง ใช้น้ำมันที่ได้ใส่แผล หรืออาจตำจนละเอียดคั้นเอาน้ำใส่แผล โดยก่อนใส่แผลอาจผสมน้ำปูนใน สารส้มหรือดินประสิวเล็กน้อยก่อนพอกบริเวณที่เป็นแผล
- ใช้รักษากลาก เกลื้อน โดยผสมผงขมิ้นกับน้ำ แล้วทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน 2 ครั้งต่อวัน

- ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยรับประทานครั้งละ 2 - 4 แคปซูล (มีผงขมิ้นชัน 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม) วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน



.
การรับประทานขมิ้นชันแคปซูลเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ยังไม่มีข้อระบุแน่ชัดว่า สามารถรับประทานยาขมิ้นชันแคปซูล ติดต่อกันได้นานแค่ไหน แต่จากรายงานการศึกษาในผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งรับประทานขมิ้นชันแคปซูล 600 และ 1,000 มก./วัน นาน 12 สัปดาห์ (3 เดือน) พบว่ามีผลรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ใกล้เคียงกับการใช้ยาลดกรด และไม่พบผลข้างเคียงที่อันตราย แต่อย่างไรก็ตามการใช้ขมิ้นชัน มีข้อห้ามใช้ คือ ห้ามใช้ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน หรือผู้ที่ไวต่อยานี้ และข้อควรระวัง คือ ระวังการใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี หญิงตั้งครรภ์ และเด็ก ระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งถ้าคุณมีการใช้ยากลุ่มนี้อยู่ หากจะใช้ขมิ้นชันด้วย คงต้องระมัดระวังในการใช้



.
โรคหอบหืด
สมุนไพรที่มีรายงานว่าสามารถใช้ในการบรรเทาโรคหอบหืดได้มีหลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน ขิง แปะก๊วย งาขี้ม้อน ผักเบี้ยใหญ่ เป็นต้น โดยใช้ในรูปของสารสกัด ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้จะมีผลลดภาวะของโรคภูมิแพ้และการอักเสบ รวมไปถึงมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้



.
 สิวอักเสบ เป็นหนอง

จากการสืบค้นข้อมูล สมุนไพรที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์บรรเทาอาการสิวอักเสบ และมักใช้ในสูตรสำหรับผลิตภัณฑ์รักษาสิวหรือตำรับยาสำหรับรักษาโรคผิวหนังได้แก่ ว่านห่างจระเข้ กระเทียม ขมิ้นชัน สมอไทย และยูคาลิปตัส เป็นต้น





.
สมุนไพรรักษาโรคเก๊าท์
จากการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยพบว่า สมุนไพรที่มีการศึกษาว่ามีศักยภาพในการบรรเทาอาการปวดและอักเสบของข้อ หรือโรคเก๊าท์ ได้แก่ ขิง ขมิ้นชัน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เป็นต้น
ในปัจจุบันยังไม่พบรายงานการวิจัยทางคลินิคว่าสมุนไพรใดที่สามารถแก้โรคเก๊าท์ได้ อย่างไรก็ตามพบสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส (xanthine oxidase) ซึ่งทำหน้าที่สลายพิวรีนให้กลายเป็นกรดยูริก ซึ่งอาจช่วยควบคุมการสร้างกรดยูริกในร่างกายไม่ให้สูงเกินไปจนทำให้เกิดโรคเกาต์ สมุนไพรที่พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส เช่น คำฝอย ขิง ชั่งชิก สายน้ำผึ้ง เก๊กฮวย มะระขี้นก เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังไม่พบข้อมูลการนำมาใช้รวมกันในรูปของตำรับ รวมถึงการศึกษาในมนุษย์ถึงขนาดและรูปแบบที่เหมาะสม จึงยังไม่แนะนำให้นำมาใช้รับประทานเองค่ะ

การรักษาโรคเกาต์ ควรอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ ถ้าอยู่ในช่วงที่มีการอักเสบของข้อ คงต้องรักษาโดยใช้ยาที่ช่วยลดการบวมและการเกิดผลึกจากกรดยูริก และยาลดการอักเสบ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรดูแลตนเองเพื่อไม่ให้โรคกำเริบ โดยดื่มน้ำให้มาก ๆ จะช่วยขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น ชะเอม กระถิน แตงกวา หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด ดอกกะหล่ำ ถั่วงอก ยอดแค ดอกสะเดา สาหร่าย ยอดผักต่างๆ อาหารจำพวกสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ทุกชนิด กะปิ น้ำสกัดจากเนื้อ กุ้ง หอย กุนเชียง ไส้กรอก ปลาซาร์ดีน ไข่แมงดา เป็นต้น นอกจากนี้ควรงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยเฉพาะเบียร์



https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24328703


http://jpet.aspetjournals.org/content/232/1/258.short

https://www.thieme-connect.com/products/ejournals/abstract/10.1055/s-2006-957450

https://pubs.acs.org/doi/abs/10.1021/mp700113r

https://pdfs.semanticscholar.org/3a3b/0007f43c3cffc6217066614420568f7c3659.pdf

https://scholar.google.co.th/scholar?q=related:mZWQvzzmXdIJ:scholar.google.com/&scioq=asian+pacific+j+cancer+prev+12+3169-3173&hl=th&as_sdt=0,5&as_vis=1

https://archive.epa.gov/pesticides/reregistration/web/pdf/4022fact.pdf

https://www.academia.edu/28220617/Bisphenol-A_and_the_Great_Divide_A_Review_of_Controversies_in_the_Field_of_Endocrine_Disruption

พอแล้วมั๊ง จะมีคนค้นหา ศึกษาสักกี่คน








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อาชายาดอง

อาชายาดอง

เห็ดกระถินพิมานรักษามะเร็ง

พ่นควันไล่ผึ้ง

รักษาเก๊าท์

โกฏจุฬาลัมพาแห้ง

ยาดองล้มช้าง

ยาดองล้มช้าง