โรคผิวหนังแข็งเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่มีการกระตุ้นเซลล์ไฟโบบลาสต์ให้สร้างสายใยคอลลาเจนเพิ่มมากขึ้นทั้งในผิวหนังและอวัยวะภายในอื่นๆ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น และเกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน โดยอาจเกิดจากการแพ้ภูมิตนเอง คือ ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยทำงานผิดปกติ ทำให้ทำลายร่างกายของตนเอง การอักเสบที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดอาการบวมและร้อน ตามมาด้วยการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดที่มากเกิดไป การรักษาจะเป็นแบบประคับประคองตามอาการ เพื่อรอให้โรคสงบเอง โดยทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่การรักษาที่ไม่ต้องใช้ยา การใช้ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ การใช้ยาเมโทเทรกเซต หรือการใช้ยากดภูมิอื่นๆ แต่ผู้ป่วยต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดค่ะ
การปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสความเย็น, อากาศเย็น ควรใส่เสื้อผ้าที่หนาเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น อาการของโรค เช่น ปลายนิ้วมือ ซีด เขียวปวด จะกำเริบมากขึ้น
- หยุดสูบบุหรี่ เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น
- ควรทำกายภาพบำบัด นิ้วมือเพื่อป้องกันการติดยึด และข้อผิดรูปของนิ้วมือ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือการทำงานที่จะก่อให้แผลบริเวณปลายนิ้ว
- ออกกำลังกายบริเวณหัวไหล่ โดยการหมุนหัวไหล่ในท่าขว้างลูกบอล เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณปลายนิ้ว
- ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น กลืนลำบาก, หายใจลำบาก อึดอัด เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
- เข้ารับการตรวจและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
ในส่วนของการใช้สมุนไพร ปัจจุบันยังไม่มีสมุนไพรชนิดใดที่มีงานวิจัยถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคดังกล่าวได้ แต่มีสมุนไพรหลายชนิดที่ใช้ภายนอกเพื่อบรรเทาอาการอักเสบบริเวณผิวหนังได้ เช่น บัวบก ว่านหางจระเข้ ขมิ้นชัน ซึ่งปัจจุบันมีจำหน่ายในรูปแบบของครีมทาภายนอกที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปค่ะ หรือการทาถูนวดด้วยน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบและบำรุงผิว ก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้บางส่วนค่ะ แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องของการแพ้ หากใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีผื่นคัน บวมแดง ก็ไม่ควรใช้ค่ะ
อ้างอิง : - บทความเรื่อง "โรคผิวหนังแข็ง (Scleroderma)" โดย ผศ. พญ. ปภาพิต ตู้จินดา ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=27
การปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสความเย็น, อากาศเย็น ควรใส่เสื้อผ้าที่หนาเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น อาการของโรค เช่น ปลายนิ้วมือ ซีด เขียวปวด จะกำเริบมากขึ้น
- หยุดสูบบุหรี่ เนื่องจากจะทำให้หลอดเลือดบริเวณปลายนิ้วหดตัวมากขึ้น
- ควรทำกายภาพบำบัด นิ้วมือเพื่อป้องกันการติดยึด และข้อผิดรูปของนิ้วมือ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือการทำงานที่จะก่อให้แผลบริเวณปลายนิ้ว
- ออกกำลังกายบริเวณหัวไหล่ โดยการหมุนหัวไหล่ในท่าขว้างลูกบอล เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณปลายนิ้ว
- ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น กลืนลำบาก, หายใจลำบาก อึดอัด เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
- เข้ารับการตรวจและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
ในส่วนของการใช้สมุนไพร ปัจจุบันยังไม่มีสมุนไพรชนิดใดที่มีงานวิจัยถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคดังกล่าวได้ แต่มีสมุนไพรหลายชนิดที่ใช้ภายนอกเพื่อบรรเทาอาการอักเสบบริเวณผิวหนังได้ เช่น บัวบก ว่านหางจระเข้ ขมิ้นชัน ซึ่งปัจจุบันมีจำหน่ายในรูปแบบของครีมทาภายนอกที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปค่ะ หรือการทาถูนวดด้วยน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบและบำรุงผิว ก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้บางส่วนค่ะ แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องของการแพ้ หากใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีผื่นคัน บวมแดง ก็ไม่ควรใช้ค่ะ
อ้างอิง : - บทความเรื่อง "โรคผิวหนังแข็ง (Scleroderma)" โดย ผศ. พญ. ปภาพิต ตู้จินดา ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=27
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น