หน้าเว็บ
- หน้าแรก
- ขายหน่อกล้วยน้ำว้าพันธ์ซุปเปอร์ยักษ์(พร้อมขาย)
- กล้วยปิโตโก
- ขายกล้วยหอมคาเวนดิช
- ขายหน่อกล้วยใข่กำแพงเพชร
- ขายหน่อกล้วยตานี
- ขายหน่อกล้วยพระราชทาน กล้วยพระเทพ กล้วยน้ำว้ายัก
- ขายหน่อกล้วยหักมุก
- ขายหน่อกล้วยหิน กล้วยหิน
- ขายหน่อกล้วยเล็บมือนาง
- กล้วยแดงอินโดด่าง
- กล้วยดำอินโด ตานีดำ
- กล้วยมาฮอย
- กล้วยน้ำว้าดำ
- กล้วยขม กล้วยขมเบา
- กล้วยงาช้าง
- กล้วยหก กล้วยยูนาน
- กล้วยเทพพนม
- กล้วยนาก กล้วยสีแดง
- กล้วยเสือพราน
- กล้วยหอมแคระ
- กล้วยตองก้า
- น้ำว้าค่อมด่าง
- กล้วยตานีด่าง
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562
วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562
เป็นหมอนรองกระดูกเสื่อม ทับเส้นเป็นมาแล้ว3ปี ไม่ได้ทานยาอะไร
อายุ 33เป็นหมอนรองกระดูกเสื่อม ทับเส้นเป็นมาแล้ว3ปี ไม่ได้ทานยาอะไร เคยทำกายภาพบำบัด อาการดีขึ้นแต่ถ้าเดินมากๆจะปวดขา และมีอาการขาชา หรือเท้าชาบ่อยมาก อยากลองทานเถาวัลย์เปรียง จะทานอย่างไร เท่าไหร่
ยังไม่มีการศึกษาว่าเถาวัลย์เปรียงในการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม พบเพียงการศึกษาในคนไข้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม โดยแบ่งให้ได้รับยานาโพรเซน (naproxen) ซึ่งเป็นยาแก้อักเสบ ขนาด 250 มก. หรือแคปซูลผงเถาวัลย์เปรียงขนาด 400 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ พบว่ายานาโพรเซนและเถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิผลในการรักษาและความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน และการศึกษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง โดยให้ผู้ป่วยได้รับแคปซูลผงเถาวัลย์เปรียง ขนาด 200 มก. หรือยาไดโคลฟีแนค ขนาด 25 มก. วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน พบว่าผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีอาการปวดลดลงอย่างชัดเจนดังนั้นการรับประทานเถาวัลย์เปรียงในขนาด 400-600 มก.วัน โดยแบ่งทานวันละ 2- 3 ครั้ง สามารถช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบและอาการปวดได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ และไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ แต่ควรระมัดระวังการใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากมีรายงานว่าในผู้ป่วยที่ได้รับเถาวัลย์เปรียงบางราย มีจำนวนเม็ดเลือดขาวลดลงในวันที่ 7 ของการรักษา รวมทั้งในอาสาสมัครสุขภาพดีที่รับประทานแคปซูลผงเถาวัลย์เปรียง ครั้งละ 400 มก./วัน เป็นเวลา 2 เดือน พบปริมาณของ interleukin-2 (IL-2), interleukin-4 (IL-4) และ interleukin-6 (IL-6) เพิ่มมากขึ้นแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตร่างกาย หากพบอาการผิดปกติควรหยุดรับประทานค่ะ
จาก : หนังสือสารพันคำถามฮิต เล่ม 1
ยังไม่มีการศึกษาว่าเถาวัลย์เปรียงในการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม พบเพียงการศึกษาในคนไข้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม โดยแบ่งให้ได้รับยานาโพรเซน (naproxen) ซึ่งเป็นยาแก้อักเสบ ขนาด 250 มก. หรือแคปซูลผงเถาวัลย์เปรียงขนาด 400 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ พบว่ายานาโพรเซนและเถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิผลในการรักษาและความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน และการศึกษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง โดยให้ผู้ป่วยได้รับแคปซูลผงเถาวัลย์เปรียง ขนาด 200 มก. หรือยาไดโคลฟีแนค ขนาด 25 มก. วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน พบว่าผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีอาการปวดลดลงอย่างชัดเจนดังนั้นการรับประทานเถาวัลย์เปรียงในขนาด 400-600 มก.วัน โดยแบ่งทานวันละ 2- 3 ครั้ง สามารถช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบและอาการปวดได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ และไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ แต่ควรระมัดระวังการใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากมีรายงานว่าในผู้ป่วยที่ได้รับเถาวัลย์เปรียงบางราย มีจำนวนเม็ดเลือดขาวลดลงในวันที่ 7 ของการรักษา รวมทั้งในอาสาสมัครสุขภาพดีที่รับประทานแคปซูลผงเถาวัลย์เปรียง ครั้งละ 400 มก./วัน เป็นเวลา 2 เดือน พบปริมาณของ interleukin-2 (IL-2), interleukin-4 (IL-4) และ interleukin-6 (IL-6) เพิ่มมากขึ้นแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตร่างกาย หากพบอาการผิดปกติควรหยุดรับประทานค่ะ
จาก : หนังสือสารพันคำถามฮิต เล่ม 1
วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562
วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562
วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2562
วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562
วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562
วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562
สมุนไพรบรรเทาเบาหวาน
มะระขี้นก
การศึกษาทางคลินิก ในผู้ป่วยเบาหวาน
มะระจีนและมะระขี้นกในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำคั้น สารสกัด หรือผงแห้ง ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
- การดื่มน้ำคั้นจากผลขนาด 50 และ 100 มล. วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น เป็นเวลา 7 วัน
- การรับประทานสารสกัดน้ำ (เตรียมโดยนำผลสด 100 ก. ต้มในน้ำ 200 มล. จนกระทั่งปริมาตรน้ำลดเหลือ 100 มล.) เพียงครั้งเดียวในตอนเช้า เป็นเวลา 21 วัน พบว่าช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
แต่เนื่องจากมีข้อควรระวังการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน เพราะอาจไปเสริมฤทธิ์กัน ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้ และไม่แนะนำให้ผู้ที่มีการทำงานของตับผิดปกติรับประทาน เนื่องจากมีผู้ป่วยบางรายที่รับประทานมะระแล้วมีค่า ALT และ AST ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตับสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องฉีดอินซูลินควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด จึงแนะนำให้รับประทานในรูปแบบของอาหาร ในปริมาณปกติ ห้ามรับประทานผลและเมล็ดสุก เพราะมีพิษ
ตำลึง
การศึกษาทางคลินิก ในอาสาสมัครสุขภาพดี รับประทานอาหารเช้าที่ประกอบด้วยใบตำลึง 20 กรัม ผสมกับมะพร้าวและเกลือ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานอาหารเช้าที่ไม่มีใบตำลึง พบว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารซึ่งมีใบตำลึงเป็นส่วนประกอบ มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แสดงว่าใบตำลึงมีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
ผักเชียงดา
การศึกษาทางคลินิก มีผลลดน้ำตาลในเลือดได้ดีในคนปกติ แต่ข้อมูลการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ผักเชียงดาเป็นผักพื้นบ้านที่มีการรับประทานเป็นอาหารมาช้านาน และยังไม่ปรากฏรายงานความเป็นพิษจากการรับประทานทั้งในรูปของอาหาร จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลขั้นต้น
ชาใบหม่อน
การศึกษาทางคลินิก
- การดื่มชาใบหม่อนขนาด 100 มล. (ใบหม่อน 2 ก. ชงในน้ำร้อน 100 มล. ทิ้งไว้ 12 นาที) หรือน้ำอุ่นขนาด 100 มล. พบว่ากลุ่มที่ได้รับชาใบหม่อนมีแนวโน้มของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มที่ดื่มน้ำอุ่นซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม
- มีรายงานระบุว่าแคปซูลผงใบหม่อน สารสกัดใบหม่อน มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดได้แต่ควรระวังการเสริมฤทธิ์กันกับยาแผนปัจจุบัน
สรุป
มีสมุนไพรหลายชนิดมีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติที่สุด จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และถ้าหากผู้ป่วยได้รับยาแผนปัจจุบันอยู่ ควรระมัดระวังการเสริมฤทธิ์ของสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน อาจส่งผลให้น้ำตาลลดต่ำลงเกินไป และเกิดอันตรายได้ หากจะใช้สมุนไพร แนะนำให้รับประทานในรูปแบบของอาหารหรือชา ควบคู่กับการรับประทานผักและผลไม้น้ำตาลน้อย ออกกำลังกายตามความเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง :
- ฐาน PHARM
- หนังสือสารพันคำถามฮิต สรรพคุณสมุนไพร
วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562
สรรพคุณของกัญชา ว่ามีงานวิจัยรองรับว่าสามารถช่วยรักษาโรคหรืออาการใดได้บ้าง
สรรพคุณของกัญชา ว่ามีงานวิจัยรองรับว่าสามารถช่วยรักษาโรคหรืออาการใดได้บ้าง ใช้วิธีใดในการรักษา (ต้มน้ำดื่ม สกัดน้ำมัน ฯลฯ) และหากใช้เป็นระยะเวลานานจะมีผลเสียต่อร่างกายไหมครับ
คำตอบ : การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการักษาอาการและโรคต่างๆ
1. ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด
2. เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์ (Appetite stimulation)
3. ลดอาการปวด (Analgesic effect)
4. ลดอาการปลอกประสาทเสื่อม (Multiple sclerosis, MS)
5. ช่วยควบคุมอาการลมชัก (Epilepsy)
6. ลดความดันในตาของผู้ป่วยต้อหิน (Glaucoma)
7. ป้องกันและรักษาอาการสมองฝ่อ (Neurodegeneration and neuroprotection)
8. คลายความวิตกกังวล (Antianxiety effect)
9. การรักษามะเร็ง (Anticancer effect)
ซึ่งมีการศึกษาทั้งในระดับหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง และการศึกษาทางคลินิก และมีการใช้รูปแบบสารในลักษณะต่างๆ กันในแต่ละงานวิจัย
ข้อห้ามใช้และอาการข้างเคียง
มีคำแนะนำว่าไม่ควรใช้สารกลุ่มนี้ในผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้อยู่ระหว่างให้นมบุตร และผู้ป่วยจิตเวช ส่วนการใช้กับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและโรคความดันควรอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ควรให้สารกลุ่มนี้ร่วมกับ ยากลุ่ม CNS depressants อาการข้างเคียงของการใช้สารกลุ่มสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (delta-9-tetrahydrocannabinol, หรือ THC) ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้ และขนาดยาที่ใช้ โดยควรเริ่มจากขนาดต่ำก่อนและถ้าจำเป็นต้องเพิ่มขนาดควรทำช้าๆ ผู้ที่ได้รับสารกลุ่มนี้มักสามารถพัฒนาให้ร่างกายยอมรับผล psychoactive effect ของยา (tolerance) ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงควรรักษาขนาดของยาให้คงที่โดยพิจารณาตามผลการรักษาที่ได้รับเป็นหลัก โดยอาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ง่วงซึม มึนงง ปวดศีรษะ การมองเห็นไม่ชัดเจน ปากแห้ง วิตกกังวล มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ คลื่นไส้ มีความผิดปกติของการรับรู้ อาการที่ไม่ค่อยพบเช่น เดินเซ ซึมเศร้า ท้องเสีย ความดันต่ำ หวาดระแวง และ ปวดท้อง อาเจียน (cannabis hyperemesis syndrome) อย่างไรก็ตามเนื่องจากกัญชายังจัดเป็นวัตถุเสพติดในประเทศไทย แม้เพิ่งอนุญาตให้สามารถนำมาทำการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ได้ การทำการวิจัยจึงไม่แพร่หลายมากนัก กลไกการออกฤทธิ์ในการรักษาโรคบางชนิดที่กล่าวมาแล้วนั้น ถึงแม้จะมีความชัดเจนมากขึ้น แต่ยังไม่มีความครอบคลุมสำหรับทุกๆ โรค และยังคงต้องรอผลการวิจัยเพิ่มเติมทางคลินิกให้มากกว่านี้
เอกสารอ้างอิง : https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/453/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2/
คำตอบ : การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการักษาอาการและโรคต่างๆ
1. ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด
2. เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์ (Appetite stimulation)
3. ลดอาการปวด (Analgesic effect)
4. ลดอาการปลอกประสาทเสื่อม (Multiple sclerosis, MS)
5. ช่วยควบคุมอาการลมชัก (Epilepsy)
6. ลดความดันในตาของผู้ป่วยต้อหิน (Glaucoma)
7. ป้องกันและรักษาอาการสมองฝ่อ (Neurodegeneration and neuroprotection)
8. คลายความวิตกกังวล (Antianxiety effect)
9. การรักษามะเร็ง (Anticancer effect)
ซึ่งมีการศึกษาทั้งในระดับหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง และการศึกษาทางคลินิก และมีการใช้รูปแบบสารในลักษณะต่างๆ กันในแต่ละงานวิจัย
ข้อห้ามใช้และอาการข้างเคียง
มีคำแนะนำว่าไม่ควรใช้สารกลุ่มนี้ในผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้อยู่ระหว่างให้นมบุตร และผู้ป่วยจิตเวช ส่วนการใช้กับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและโรคความดันควรอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ควรให้สารกลุ่มนี้ร่วมกับ ยากลุ่ม CNS depressants อาการข้างเคียงของการใช้สารกลุ่มสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (delta-9-tetrahydrocannabinol, หรือ THC) ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้ และขนาดยาที่ใช้ โดยควรเริ่มจากขนาดต่ำก่อนและถ้าจำเป็นต้องเพิ่มขนาดควรทำช้าๆ ผู้ที่ได้รับสารกลุ่มนี้มักสามารถพัฒนาให้ร่างกายยอมรับผล psychoactive effect ของยา (tolerance) ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงควรรักษาขนาดของยาให้คงที่โดยพิจารณาตามผลการรักษาที่ได้รับเป็นหลัก โดยอาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ง่วงซึม มึนงง ปวดศีรษะ การมองเห็นไม่ชัดเจน ปากแห้ง วิตกกังวล มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ คลื่นไส้ มีความผิดปกติของการรับรู้ อาการที่ไม่ค่อยพบเช่น เดินเซ ซึมเศร้า ท้องเสีย ความดันต่ำ หวาดระแวง และ ปวดท้อง อาเจียน (cannabis hyperemesis syndrome) อย่างไรก็ตามเนื่องจากกัญชายังจัดเป็นวัตถุเสพติดในประเทศไทย แม้เพิ่งอนุญาตให้สามารถนำมาทำการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ได้ การทำการวิจัยจึงไม่แพร่หลายมากนัก กลไกการออกฤทธิ์ในการรักษาโรคบางชนิดที่กล่าวมาแล้วนั้น ถึงแม้จะมีความชัดเจนมากขึ้น แต่ยังไม่มีความครอบคลุมสำหรับทุกๆ โรค และยังคงต้องรอผลการวิจัยเพิ่มเติมทางคลินิกให้มากกว่านี้
เอกสารอ้างอิง : https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/453/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2/
วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562
จริงรึป่าวว่านำเอาดอกอัญซันมาขยี้แล้วหมักใส่หัวจะมีผมดกดำงามและไม่ร่วง
จริงรึป่าวว่านำเอาดอกอัญซันมาขยี้แล้วหมักใส่หัวจะมีผมดกดำงามและไม่ร่วง
อัญชัน (Clitoria ternatea) สารออกฤทธิ์สำคัญคือ anthocyanin และสารในกลุ่ม phenolic
สรรพคุณตามตำรายาไทยใช้ดอกสระผมเป็นยาแก้ผมร่วง
และมีผลการวิจัยระบุว่า สารสกัดเอทานอลจากดอกอัญชันมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase ช่วยลดอาการผมร่วง
และมีฤทธิ์การกระตุ้นเอนไซม์ tyrosinase ที่มีบทบาทในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดสีเมลานิน
ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่ของการช่วยชะลออาการผมหงอกก่อนวัยได้
สกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ
สกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ ในวิธีที่ง่ายที่สุดคือวิธีแบบไหนคะ ถ้าเป็นการสกัดจากน้ำมันสัตว์จะต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้าง
คำตอบ : - การกลั่นด้วยไอน้ำ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับสารหอมที่เป็น essential oil เพราะเป็นวิธีที่ประหยัด และได้สารหอมที่บริสุทธิ์
- สกัดด้วยน้ำมันสัตว์ เป็นวิธีที่ใช้กันตั้งแต่สมัยโบราณใช้กับสารหอมที่ระเหยง่ายเวลากลั่นด้วยไอน้ำ วิธีนี้จะใช้เวลานานต้องแช่พืชไว้ในน้ำมันหลายวันน้ำมันจะช่วยดูดเอากลิ่นหอมออกมา นิยมใช้ในการสกัดสารหอมจากดอกมะลิ และดอกกุหลาบ เรียกว่า “อองเฟลอราจ (enfleurage) คือ นำดอกไม้ไปโรยไว้บนไขมันสัตว์หรือไขมันหมูที่บริสุทธิ์มาก แล้วจึงนำไปไว้ในห้องเย็นเป็นเวลา 1-3 วัน ให้ไขมันดูดซับน้ำมันหอมจากดอกไม้ ผลผลิตที่ได้เรียกว่า “โปมาด (Pomade)” จากนั้นจึงใส่แอลกอฮอล์เพื่อละลายไขมันที่ไม่ต้องการ ผลก็คือจะได้น้ำมันหอมในสารละลายแอลกอฮอล์พร้อมที่จะนำไปผสมทำน้ำหอมต่อไป
อ้างอิง :
- https://www.ku.ac.th/e-magazine/dec51/agri/agri1.htm
- https://www.mhesi.go.th/main/th/380-news/activity-news/5145-essential-oil
วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562
เห็นมีคนถามว่า ช่วงนี้เริ่มมีการรับชื้อต้นปาล์ม เอาไปทำไร
ชัยบุรี รีแมพ จูนกล่องหลัก ถึง ที่นี่..ชัยบุรี
21 พฤศจิกายน เวลา 15:36 น.
เห็นมีคนถามว่า ช่วงนี้เริ่มมีการรับชื้อต้นปาล์ม เอาไปทำไร
เลยหาข่าวมาให้ อ่านๆกันครับ อนาคต ต้นปาล์มอาจขายได้ราคา ดี ก็เป็นได้
ต้นปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 20 ปี ให้ผลผลิตน้อยลง เกษตรกรต้องโค่นทิ้งปลูกใหม่...แต่มีต้นทุนค่าจ้างในการโค่นต้นละ 200 บาท ไร่ละ 4,400 บาท
สวนที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่ จะใช้รถแบ็กโฮดันต้นปาล์มให้ล้ม ส่วนเจ้าของสวนระดับชาวบ้านจะใช้วิธีประหยัดสุด เอาสว่านเจาะลำต้นแล้วหยอดยาฆ่าหญ้าให้ยืนต้นตาย แล้วปล่อยให้เน่าเปื่อยล้มลงไปเอง
แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีโค่นแบบไหน...บทสรุปสุดท้าย ต้นปาล์มจะถูกทิ้งให้ผุพังอยู่ในสวนอย่างไร้ค่าไปอย่างน่าเสียดาย และแต่ละปีบ้านเราจะมีสวนปาล์มที่หมดอายุต้องโค่นทิ้งมากถึง 200,000 ไร่
“ขณะนี้ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย มีการนำต้นปาล์มน้ำมันแก่มาแปรรูปเป็นไม้ ใช้ประโยชน์มากมาย ตั้งแต่ทำเป็นไม้สร้างบ้านที่อยู่อาศัย อิฐมวลเบา เฟอร์นิเจอร์หลายรูปแบบ รวมทั้งนำเศษไม้ปาล์มมาใช้ประโยชน์ เป็นพลังงานในรูปแบบของวู้ดพาเลต (Pellet) ส่งขายให้ญี่ปุ่น ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี Boiler ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถใช้ต้นปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงได้ เพราะต้นปาล์มมีน้ำมันที่สามารถกัดกร่อน Boiler รุ่นเก่า”
ดร.สุเทพ จันทร์เขียว ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) บอกอีกว่า นอกจากนี้ยุโรปยังมีตลาดของกลุ่มผู้ซื้อวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากต้นปาล์มน้ำมันจำนวนมาก
“อย่างเยอรมนีมีความต้องการไม้จากต้นปาล์มในรูปแบบต่างๆ เรียกได้ว่าซื้อไม่อั้น แต่เขามีเงื่อนไข ไม้จากต้นปาล์มจะต้องมีการรับรองแหล่งที่มาที่ไปให้ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งปลูกได้ ดังนั้น ถ้าเราจะเอาต้นปาล์มที่ถูกทิ้งไปแบบสูญเปล่ามาใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าสร้างรายได้ให้เกษตรกร เราจะต้องสร้างมาตรฐานการรับรองห่วงโซ่การควบคุมแหล่งที่มา หรือ Chain of Custody (CoC) กับไม้จากต้นปาล์มน้ำมัน”
เหตุที่จำเป็นต้องสร้างมาตรฐานไม้จากต้นปาล์มน้ำมันขึ้นมา ดร.สุเทพ กล่าวว่า เนื่องจากมาตรฐานการจัดการป่าไม้ที่สามารถส่งออกไปต่างประเทศได้นั้น ไม้ทุกชนิดจากสวนป่า รวมทั้งไม้ยางพารา ไม้ยูคาฯ ล้วนมีมาตรฐานกันหมดแล้ว แต่ไม่ครอบคลุมถึงต้นปาล์มน้ำมัน หรือสวนปาล์มน้ำมัน...เพราะไม่ถูกจัดให้เป็นป่าหรือสวนป่า
สำหรับมาตรฐาน CoC สำหรับต้นปาล์มหรือสวนปาล์ม ที่มีทั้งโรงงานแปรรูปไม้ปาล์มน้ำมันรวมอยู่ด้วย ในปัจจุบันมีเพียงมาเลเซียประเทศเดียวที่ทำสำเร็จไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2560 และตอนนี้กำลังโกยกำไรอื้อซ่าขายให้กับยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนี
ส่วนประเทศไทยขณะนี้ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มก. ได้รับทุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และงบประมาณสนับสนุนบางส่วนจากบริษัท PlamwoodNet บริษัท Jowat จากประเทศเยอรมนี เพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐาน CoC ขึ้นในบ้านเรา
ขณะนี้อยู่ระหว่างลงมือศึกษาวิจัยและพัฒนามาตรฐานโดยอาศัยแนวทางของมาเลเซียเป็นต้นแบบ...คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2563
พี่น้องชาวสวนปาล์มเตรียมเนื้อเตรียมตัวรับเงินขายต้นปาล์มแก่ได้...ดีกว่าปล่อยทิ้งให้ปลวกกินเป็นไหนๆ.
ไชยรัตน์ ส้มฉุน
เครดิตภาพและข่าว https://www.thairath.co.th/news/local/1702730
+[คนสวนภูเขาทอง]+
#ลงทุนในผืนดิน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)