สมุนไพรในสบู่กลีเซอรีน, มะขามป้อม,ใบมะรุม
.
คำตอบ : การจะนำสมุนไพรลงไปผสมในสบู่นั้นควรคำนึงถึงสารสำคัญและสรรพคุณที่ต้องการจากสมุนไพรเป็นสำคัญ รวมทั้งต้องศึกษาจากการใช้แบบดั้งเดิมและงานวิจัยที่ทำการศึกษาแล้วนำมาประยุกต์ใช้ เช่น ขมิ้นชัน มีสรรพคุณทางเครื่องสำอางสำหรับผิวภายนอก คือ ฆ่าเชื้อ แก้อาการผื่นคัน และบำรุงผิว สามารถใช้วิธีบดเป็นผงไปเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ แต่โดยปกติแล้วการใช้สมุนไพรในเครื่องสำอาง จะแนะนำให้ใช้รูปของสารสกัดมากกว่า เพราะสารสกัดจะใช้ในปริมาณน้อยแต่ได้สารสำคัญมากกว่า อีกทั้งการใช้สมุนไพรสดจะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งจะส่งผลต่ออายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ รวมถึงส่งผลต่อสีของผลิตภัณฑ์เนื่องจากวัตถุดิบที่บดแห้งเมื่อนำมาใช้หลายตัวรวมกัน จะทำให้สีของผลิตภัณฑ์ไม่สวยงาม
สำหรับปริมาณที่ต้องใช้จะขึ้นอยู่กับสูตรของผู้ผลิตแต่ละเจ้า ซึ่งต้องอาศัยการทดสอบ ปรับเปลี่ยนเพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมว่าควรใส่ตัวใดมากหรือน้อย แต่โดยหลักการเติมสมุนไพรในสูตรสบู่จากหนังสือคู่มือการผลิตเครื่องสำอางคเพื่อเศรษฐกิจชุมชนจะมีหลักการดังนี้
1. สารสกัดน้ำ ให้ทดแทนในส่วนน้ำ ลดปริมาณน้ำที่ใช้ตามน้ำหนักของสารสกัดที่เติมเข้ามา ขนาดสูงสุดที่ใช้ได้ คือ แทนที่ปริมาณน้ำทั้งหมดในสูตร แต่ในกรณีที่เป็นน้ำคั้นพืชที่ไม่สามารถทนความร้อนได้ ไม่ควรใช้แทนที่น้ำทั้งหมด เพราะความร้อนอาจะทำลายสารสำคัญต่างๆ ในสารสกัดได้ อย่างไรก็ตาม การใช้สารสกัดน้ำต้องระวังเรื่องการปนเปื้อนเชื้อรา เมื่อทิ้งไว้เป็นเวลานาน
2. สารสกัดในน้ำมัน ให้ใช้แทนที่ส่วนน้ำมันที่ใช้ โดยไม่ต้องลดปริมาณด่าง
3. สารสกัดแอลกอฮอล์ สามารถเติมตามเปอร์เซนต์ที่ต้องการ โดยไม่ต้องปรับสัดส่วนสูตร โดยให้เติมภายหลังผสมสบู่กับน้ำด่างเข้าด้วยกันแล้ว
4. ผงสมุนไพรสด ให้เติมสมุนไพรภายหลังผสมสบู่กับด่างเข้าด้วยกันแล้ว โดยไม่ต้องปรับลดสัดส่วนสูตร
ใบมะรุม มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยับยั้งเชื้อสาเหตุการเกิดสิว Staphylococcus aureus หากต้องการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง สามาถใช้ได้ อย่างไรก็ตามควรใช้วัตุดิบที่สะอาด และควรมีการศึกษาปริมาณสารผสม ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิผลต่อผิวหนัง รวมทั้งการศึกษาทางคลินิก การทดสอบความเป็นพิษ และการระคายเคือง หรืออาการแพ้ เป็นต้น
.
คำตอบ : การจะนำสมุนไพรลงไปผสมในสบู่นั้นควรคำนึงถึงสารสำคัญและสรรพคุณที่ต้องการจากสมุนไพรเป็นสำคัญ รวมทั้งต้องศึกษาจากการใช้แบบดั้งเดิมและงานวิจัยที่ทำการศึกษาแล้วนำมาประยุกต์ใช้ เช่น ขมิ้นชัน มีสรรพคุณทางเครื่องสำอางสำหรับผิวภายนอก คือ ฆ่าเชื้อ แก้อาการผื่นคัน และบำรุงผิว สามารถใช้วิธีบดเป็นผงไปเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ แต่โดยปกติแล้วการใช้สมุนไพรในเครื่องสำอาง จะแนะนำให้ใช้รูปของสารสกัดมากกว่า เพราะสารสกัดจะใช้ในปริมาณน้อยแต่ได้สารสำคัญมากกว่า อีกทั้งการใช้สมุนไพรสดจะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งจะส่งผลต่ออายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ รวมถึงส่งผลต่อสีของผลิตภัณฑ์เนื่องจากวัตถุดิบที่บดแห้งเมื่อนำมาใช้หลายตัวรวมกัน จะทำให้สีของผลิตภัณฑ์ไม่สวยงาม
สำหรับปริมาณที่ต้องใช้จะขึ้นอยู่กับสูตรของผู้ผลิตแต่ละเจ้า ซึ่งต้องอาศัยการทดสอบ ปรับเปลี่ยนเพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมว่าควรใส่ตัวใดมากหรือน้อย แต่โดยหลักการเติมสมุนไพรในสูตรสบู่จากหนังสือคู่มือการผลิตเครื่องสำอางคเพื่อเศรษฐกิจชุมชนจะมีหลักการดังนี้
1. สารสกัดน้ำ ให้ทดแทนในส่วนน้ำ ลดปริมาณน้ำที่ใช้ตามน้ำหนักของสารสกัดที่เติมเข้ามา ขนาดสูงสุดที่ใช้ได้ คือ แทนที่ปริมาณน้ำทั้งหมดในสูตร แต่ในกรณีที่เป็นน้ำคั้นพืชที่ไม่สามารถทนความร้อนได้ ไม่ควรใช้แทนที่น้ำทั้งหมด เพราะความร้อนอาจะทำลายสารสำคัญต่างๆ ในสารสกัดได้ อย่างไรก็ตาม การใช้สารสกัดน้ำต้องระวังเรื่องการปนเปื้อนเชื้อรา เมื่อทิ้งไว้เป็นเวลานาน
2. สารสกัดในน้ำมัน ให้ใช้แทนที่ส่วนน้ำมันที่ใช้ โดยไม่ต้องลดปริมาณด่าง
3. สารสกัดแอลกอฮอล์ สามารถเติมตามเปอร์เซนต์ที่ต้องการ โดยไม่ต้องปรับสัดส่วนสูตร โดยให้เติมภายหลังผสมสบู่กับน้ำด่างเข้าด้วยกันแล้ว
4. ผงสมุนไพรสด ให้เติมสมุนไพรภายหลังผสมสบู่กับด่างเข้าด้วยกันแล้ว โดยไม่ต้องปรับลดสัดส่วนสูตร
ใบมะรุม มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยับยั้งเชื้อสาเหตุการเกิดสิว Staphylococcus aureus หากต้องการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง สามาถใช้ได้ อย่างไรก็ตามควรใช้วัตุดิบที่สะอาด และควรมีการศึกษาปริมาณสารผสม ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิผลต่อผิวหนัง รวมทั้งการศึกษาทางคลินิก การทดสอบความเป็นพิษ และการระคายเคือง หรืออาการแพ้ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น