วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ขายต้นโด่ไม่รู้ล้ม-สมุนไพร



ขายต้นโด่ไม่รู้ล้ม

มีสวนเองครับปลอดสารพิษทุกชนิด แม้แต่บุหรี่ยังห้ามสูบในสวน ไม่ได้รับใครมาขาย

ต้นใหญ่ 250บาท รวมส่งพัสดุแล้ว
ต้นเลก 200บาท รวมส่งพัสดุแล้ว

ส่งโดย เอากระถางออก ปาดดินออก เล็กน้อย แล้วเอาถุงหุ้มดินราก พันด้วย สก๊อดเทบ
ใบ ห่อด้วยหนังสือพิมพ์ เอารัดด้วยซี่ไม่ไผ่ กึนโครง ใบจะไม่ช้ำครับ




สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย), คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ), หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี), ตะชีโกวะ ติ๊ซิเควาะด๊ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โน๊ะกะชอย่อตะ กาว่ะ เนาะดากวอะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เคยโป้ หนาดผา หญ้าปราบ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ (ภาคเหนือ), ก้อมทะ เกดสะดุด ยาอัดลม (ลั้วะ), จ่อเก๋ (ม้ง) เป็นต้น

ลักษณะของโด่ไม่รู้ล้มต้นโด่ไม่รู้ล้ม เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสั้นและกลม ชี้ตรง มีความสูงราว 10-30 เซนติเมตรอยู่ในระดับพื้นผิวดิน ตามผิวลำต้นและใบจะมีขนละเอียดสีขาว สาก ห่าง ทอดขนานกับผิวใบ พืชชนิดนี้เมื่อถูกเหยียบหรือโดนทับก็จะดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้เหมือนปกติ (สมชื่อเลย) ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด

ใบโด่ไม่รู้ล้ม มีใบเป็นใบเดี่ยวอยู่บริเวณเหนือเหง้า ติดกันเป็นวงกลมเรียงสลับชิดกันอยู่เป็นกระจุกคล้ายกุหลาบซ้อนที่โคนต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหัวกลับ แผ่นใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ขอบใบหยักหรือเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยห่างๆ มีเส้นแขนงของใบประมาณ 12-15 คู่ ส่วนของใบที่ค่อนไปทางปลายจะผายกว้าง แล้วสอบเป็นแหลมทู่ๆ ส่วนโคนใบจะสอบแคบจนถึงก้านใบ มีเนื้อใบหนาสาก ผิวใบจะมีขนสากเล็กๆ ขนตรงห่างมีสีขาว และมีขนต่อมห่างอยู่ทั้งสองด้าน โดยท้องใบจะมีขนมากกว่าหลังใบ แผ่นใบมักแผ่ราบไปกับพื้นดิน ก้านใบยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร หรือไม่มีก้านใบ

ดอกโด่ไม่รู้ล้ม ออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากลำต้น ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปขอบขนาน มีดอกย่อยขนาดเล็ก 4 ดอก ยาวประมาณ 9-10 มิลลิเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดอกเป็นรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตร เกลี้ยง ส่วนปลายกลีบดอกยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ไม่มีขน ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลือง มีอับเรณูยาวประมาณ 2.2-2.3 เซนติเมตร ปลายแหลม ฐานเป็นติ่งแหลม ส่วนก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.5-1.7 เซนติเมตร และเกสรตัวเมียมีก้านเกสรยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ยอดเกสรยาว 0.5-0.6 มิลลิเมตร มีขนอยู่ปลายยอดและสิ้นสุดที่รอยแยก แต่ละช่อย่อยจะอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุกกลมที่ปลายก้านดอก ที่โคนกระจุกดอกจะมีใบประดับแข็งเป็นรูปสามเหลี่ยมแนบอยู่ด้วย 3 ใบ ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ขอบใบเรียบปลายเรียวแหลม ที่ผิวใบทั้งสองด้านมีขนตรงสีขาว ออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง ก้านช่อดอกมีความยาวได้ถึง 8 เซนติเมตรและมีขนสาดๆ อยู่ทั่วไป ส่วนฐานรองดอกจะแบนและเกลี้ยง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร วงใบประดับเป็นรูปขอบขนาน มี 2 ชั้น สูงราว 7-10 มิลลิเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ใบประดับคล้ายรูปหอก ผิวด้านนอกมีขนตรง ส่วนขอบใบมีขนครุย ชั้นนอกเป็นรูปใบหอกยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 0.5-1.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม ส่วนชั้นที่ 2 เป็นรูปขอบขนานกว้างประมาณ 1-2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร ปลายแหลม สีขาวเป็นเส้นตรงแข็งมี 5 เส้น เรียง 1 ชั้ย ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร

ผลโด่ไม่รู้ล้ม ผลเป็นผลแห้งและไม่แตก ลักษณะของผลเล็กและเรียว เป็นรูปกรวยแคบ ผิวด้านนอกผลมีขนหนาแน่น ยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 0.4-0.5 มิลลิเมตร และผลไม่มีสัน

สรรพคุณโด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ด้วยการใช้รากต้มเป็นน้ำดื่ม หรือใช้ดองเหล้าดื่มผสมเข้ากับสมุนไพรกำลังเสือโคร่งและม้ากระทืบโรง หรือจะใช้ใบต้มกับน้ำดื่มก็ได้ และนอกจากนี้ยังใช้ทั้งต้นของโด่ไม่รู้ล้ม นำมาตากแห้งแล้วหั่นเป็นฝอยใช้ผสมเข้ายาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ คือ ต้นนางพญาเสือโคร่ง ม้ากระทืบโรง ลำต้นฮ่อสะพายควาย จะค่าน ตานเหลือง มะตันขอ เปลือกลำ หัวยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้มะดูก และข้าวหลามดง นำมาต้มเป็นน้ำดื่มเป็นยาบำรุงก็ได้เหมือนกัน (ราก,ใบ,ทั้งต้น) สรรพคุณช่วยแก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด มีอาการไอเรื้อรัง (ราก)

advertisements


ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม : โด่ไม่รู้ล้มมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อไวรัส ช่วยลดไข้ ลดอาการอักเสบ ช่วยต้านความเป็นต่อตับ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และช่วยกระตุ้นมดลูก

ข้อห้าม ! : ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์ รวมไปถึงผู้ที่มีอาการกลัวหนาว แขนขาเย็น ชอบดื่มของร้อน ไม่กระหายน้ำ มีอาการปวดท้อง ท้องร่วง และปัสสาวะปริมาณมาก และมีชั้นฝ้าบนลิ้นขาวและหนา

ประโยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม

แหล่งอ้างอิง : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทลัยอุบลราชธานี, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สุภาวดี ภูมิมาลี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน), ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน), สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 1 สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ 104

ภาพประกอบ : www.phargarden.com (by Sudarat Homhual), เว็บไซต์ไทยเกษตรศาสตร์,  เว็บไซต์อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

เรียบเรียงข้อมูลโดย ฟรินน์.คอม

advertisements


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อาชายาดอง

อาชายาดอง

เห็ดกระถินพิมานรักษามะเร็ง

พ่นควันไล่ผึ้ง

รักษาเก๊าท์

โกฏจุฬาลัมพาแห้ง

ยาดองล้มช้าง

ยาดองล้มช้าง