วิธีการฆ่าเชื้อชาสมุนไพร ต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง
ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาดและการปลอดเชื้อเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทร์ย์
สำหรับวิธีการฆ่าเชื้อในชาสมุนไพรนั้น “วิธีการต้ม” น่าจะเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเชื้อที่พบในชานั้นเป็นประเภทใด ซึ่งจะทนต่อความร้อนในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน
การใช้ความร้อนทำได้ 3 วิธี คือ
2.ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิน้ำเดือด วิธีนี้คือ “การต้ม” นั่นเอง
3.ใช้ความร้อนที่สูงกว่าอุณหภูมิน้ำเดือด โดยใช้ไอน้ำเดือดภายใต้ความดันช่วย เรียกว่า “การสเตอริไลซ์” ( Sterilization ) วิธีการนี้สามารถฆ่าเชื้อจุสินทรีย์ที่ทนความร้อนได้ทุกชนิด เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ Autoclave,Pressure cooker และ Sterilizer สำหรับอุณหภูมิที่ใช้ 121 องศาเซลเวียส, ความด้น 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลา 15-20 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสิ่งที่จะนำมาฆ่าเชื้อ
นอกจากนี้ยังมีวิธีการฆ่าเชื้อโดยการฉายรังสีแกมมาจาก Cobalt-60 หรือ Cerium-137 ซึ่งเป็นวิธีการทำให้ปราศจากเชื้ออีกวิธีหนึ่ง รังสีมีอำนาจทะลุทะลวงสูงสามารถเข้าได้ถึงทุกซอกทุกมุม ทำให้หยุดการแบ่งเซลล์ของเชื้อบักเตรี, เชื้อรา, ยีสต์, พยาธิ และแมลงไม่ให้สามารถแพร่พันธุ์ได้
ด้านความปลอดภัยของอาหารฉายรังสี องค์การอนามัยโลก, องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและทบวงการพลังงานปรณูระหว่างประเทศอนุญาตให้อาหารผ่านการฉายรังสีเฉลี่ยไม่เกิน 10 กิโลเกรย์ ใช้บริโภคได้โดยไม่ต้องทดสอบความปลอดภัยและอนุญาตให้ใช้รังสีปริมาณไม่เกิน 10 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในสมุนไพรได้
วิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในสมุนไพรด้วยความร้อนหรือฉายรังสีนั้นอาจมีผลต่อประสิทธิภาพของสมุนไพรลดลง ทั้งนี้ต้องศึกษาคุณสมบัติของสารที่อยู่ในสมุนไพรแต่ละชนิดก่อน เพื่อเลือกใช้วิธีการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม
ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาดและการปลอดเชื้อเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทร์ย์
สำหรับวิธีการฆ่าเชื้อในชาสมุนไพรนั้น “วิธีการต้ม” น่าจะเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเชื้อที่พบในชานั้นเป็นประเภทใด ซึ่งจะทนต่อความร้อนในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน
การใช้ความร้อนทำได้ 3 วิธี คือ
- 1.ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือด เรียกว่า “การพาสเจอร์ไรส์” ( pasteurization) ใช้ความร้อนอุณหภูมิระหว่าง 60-80 องศาเซลเซียส วิธีนี้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่ทำให้เกิดโรคในอาหาร แต่ฆ่าไม่ได้ทั้งหมด ดังนั้นอาหารที่ฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้จะเก็บไว้ได้ไม่นาน
- 1.1 วิธีใช้ความร้อนต่ำ-เวลานาน (LTLT : Low Temperature - Long Time) ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 62.8-65.6 องศาเซลซียส เป็นเวลา 30 นาที เมื่อผ่านความร้อนโดยใช้เวลาตามที่กำหนดแล้ว ต้องเก็บอาหารไว้ในที่เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 7.2 องศาเซลเซียส
- 1.2 วิธีใช้ความร้อนสูง-เวลาสั้น (HTST : Hight Temperature – Short Time) ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 71.1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที นำไปเก็บไว้ในที่เย็นที่อุณหภูมิ 7.2 องศาเซลเซียส
2.ใช้ความร้อนที่อุณหภูมิน้ำเดือด วิธีนี้คือ “การต้ม” นั่นเอง
3.ใช้ความร้อนที่สูงกว่าอุณหภูมิน้ำเดือด โดยใช้ไอน้ำเดือดภายใต้ความดันช่วย เรียกว่า “การสเตอริไลซ์” ( Sterilization ) วิธีการนี้สามารถฆ่าเชื้อจุสินทรีย์ที่ทนความร้อนได้ทุกชนิด เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ Autoclave,Pressure cooker และ Sterilizer สำหรับอุณหภูมิที่ใช้ 121 องศาเซลเวียส, ความด้น 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลา 15-20 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสิ่งที่จะนำมาฆ่าเชื้อ
นอกจากนี้ยังมีวิธีการฆ่าเชื้อโดยการฉายรังสีแกมมาจาก Cobalt-60 หรือ Cerium-137 ซึ่งเป็นวิธีการทำให้ปราศจากเชื้ออีกวิธีหนึ่ง รังสีมีอำนาจทะลุทะลวงสูงสามารถเข้าได้ถึงทุกซอกทุกมุม ทำให้หยุดการแบ่งเซลล์ของเชื้อบักเตรี, เชื้อรา, ยีสต์, พยาธิ และแมลงไม่ให้สามารถแพร่พันธุ์ได้
ด้านความปลอดภัยของอาหารฉายรังสี องค์การอนามัยโลก, องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและทบวงการพลังงานปรณูระหว่างประเทศอนุญาตให้อาหารผ่านการฉายรังสีเฉลี่ยไม่เกิน 10 กิโลเกรย์ ใช้บริโภคได้โดยไม่ต้องทดสอบความปลอดภัยและอนุญาตให้ใช้รังสีปริมาณไม่เกิน 10 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในสมุนไพรได้
วิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในสมุนไพรด้วยความร้อนหรือฉายรังสีนั้นอาจมีผลต่อประสิทธิภาพของสมุนไพรลดลง ทั้งนี้ต้องศึกษาคุณสมบัติของสารที่อยู่ในสมุนไพรแต่ละชนิดก่อน เพื่อเลือกใช้วิธีการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม